วงจรชีวิต ของ แมงดา

ในช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายนของทุกปี แมงดาจะขึ้นมาวางไข่บนบกตามแนวชายหาด ในวันที่มีน้ำทะเลขึ้นสูงสุด 2–3 วัน โดยตัวผู้จะเกาะบนหลังเพศเมียโดยการใช้ตะขอเกี่ยวตัวเมียเอาไว้ตลอดฤดูการผสมพันธุ์ แมงดาเพศเมียจะใช้ขาคู่ที่ 6 ในการขุดทรายเพื่อใช้ในการวางไข่ซึ่งมีจำนวนหลายร้อยฟอง แล้วตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ในหลุมทันที จากนั้นตัวเมียจึงทำการกลบไข่ด้วยทรายและโคลนตามเดิมเมื่อไข่แมงดาได้รับการปฏิสนธิเวลาผ่านไปประมาณ 14 วัน [6] เปลือกไข่ก็จะแตกออกด้วยแรงเสียดสีของเม็ดทราย ลูกแมงดาที่ฟักตัวออกมามีลักษณะเหมือนพ่อแม่ จากนั้นในช่วงการเจริญเติบโตตัวอ่อนแมงดาจะล่องลอยตามกระแสน้ำ และกว่าจะถึงระยะตัวเต็มวัย ตัวอ่อนแมงดาต้องมีการลอกคราบหลายครั้งด้วยกัน และอัตราการลอกคราบก็จะลดลงเมื่อโตเต็มวัย ซึ่งอาจเป็น 10–20 ครั้งต่อปี โดยในการลอกคราบแต่ละครั้งก็จะเพิ่มส่วนของดวงตาขึ้นมาอีกด้วย ซึ่งไม่มีในสัตว์น้ำชนิดไหนที่มีแบบนี้[5] แมงดาที่โตเต็มที่จะมีอายุประมาณ 9–12 ปี (โดยเฉลี่ย 11 ปี) จึงมีความพร้อมที่จะสามารถสืบพันธุ์และวางไข่ได้ โดยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ จากการศึกษาพบว่าแมงดามีอัตราการรอดชีวิตภายใน 1 ปีแรกเพียง 0.003 เท่านั้น (หรือราว 30 ตัว ในทุก ๆ 1,000,000 ตัว[5]) ทั้งนี้แมงดายังมีศัตรูตามธรรมชาติอีก คือ นกทะเล ในช่วงที่ยังเป็นไข่หรือตัวอ่อน ปลาทะเลขนาดใหญ่ และเต่าทะเล แมงดาเป็นสัตว์ที่มีอัตราการเติบโตช้า มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 40 ปี[5][7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แมงดา http://www.e-travelmart.com/club_07_03.html http://www.e-travelmart.com/club_07_04.html http://www.indepencil.com/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8... http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?se... http://www.europe.gbif.net/portal/ecat_browser.jsp... http://www.arkive.org/horseshoe-crab/limulus-polyp... http://www.horseshoecrab.org/nh/hist.html http://tolweb.org/treehouses/?treehouse_id=4861 http://www.bims.buu.ac.th/Oldweb/Th/department/aqu... http://www.ams.cmu.ac.th/journal/attachments/artic...