มุมมองของคริสตจักรอื่น ของ แม่พระปฏิสนธินิรมล

นิกายแองกลิคัน

แม้ว่าชาวแองโกล-คาทอลิกจะเชื่อเรื่องแม่พระปฏิสนธินิรมล แต่ความเชื่อนี้กลับไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายแองกลิคัน[6] ในหนังสือภาวนา "พิธีนมัสการทั่วไป" ของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ถือว่าวันที่ 8 ธันวาคมเป็นเทศกาลฉลอง "การปฏิสนธิของพระนางพรหมจารีมารี" (ไม่มีคำว่านิรมล)[7]

รายงานเรื่อง "พระแม่มารีย์ ศรัทธาและความหวังในพระคริสต์" ของคณะกรรมการสากลแองกลิคัน-โรมันคาทอลิก สรุปว่าคำสอนเกี่ยวกับพระแม่มารีย์เรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์และแม่พระปฏิสนธินิรมลนั้นนับว่าสอดคล้องกับคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลและธรรมประเพณีโบราณที่ถือสืบกันมา[8] แต่รายงานนนี้ก็แสดงความกังวลหากคริสตจักรโรมันคาทอลิกจะตีความคำสอนนี้ว่าเป็น "พระวิวรณ์จากพระเจ้า" จึงระบุว่า "อย่างไรก็ตามชาวแองกลิคันสงสัยว่าหลักความเชื่อนี้จะมาจากพระเจ้าจนเราต้องถือว่าเป็นความศรัทธาด้วยหรือไม่"[9]

นิกายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ผู้เริ่มต้นการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์กล่าวว่า "พระแม่มารีย์เปี่ยมด้วยพระคุณ เป็นผู้ปราศจากบาปโดยสิ้นเชิง พระคุณของพระเจ้าทำให้ท่านเปี่ยมด้วยสิ่งดีทุกอย่าง และปราศจากสิ่งชั่วร้ายทั้งมวล[10] แต่พอปี ค.ศ. 1532 เขากลับปฏิเสธเรื่องแม่พระปฏิสนธินิรมลโดยกล่าวว่า "มารีย์ก็ปฏิสนธิในบาปดังเช่นพวกเราทั้งหลาย" [11] แต่ชาวลูเทอแรนบางคน เช่น สมาชิกของคริสตจักรแองโกล-ลูเทอแรนคาทอลิก กลับยังยอมรับหลักความเชื่อนี้

ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนมากปฏิเสธหลักความเชื่อนี้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่มาจากพัฒนาการของเทววิทยาสิทธันต์ ซึ่งไม่น่าเชื่อถือเว้นแต่จะมีนัยวิเคราะห์ได้จากคัมภีร์ไบเบิล และหลักความเชื่อนี้ก็ไม่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลเลย[12] การที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกประกาศอย่างเป็นทางการรับรองการปฏิสนธินิรมลของพระแม่มารีย์ในปี ค.ศ. 1854 จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายโปรเตสแตนต์บางคริสตจักรขึ้น ส่วนหนึ่งก็เพราะความเชื่อนี้สื่อความได้ว่าไม่ใช่ทุกคนเป็นคนบาป[13]

ใกล้เคียง

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ แม่พระฉวีดำ แม่พระปฏิสนธินิรมล แม่พระพาย แม่พระประจักษ์ที่ฟาตีมา แม่พระและพระกุมาร แม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด แม่พระรับสาร แม่พระมหาการุณย์ แม่พระเหรียญอัศจรรย์