ประชากร ของ แอฟริกาใต้สะฮารา

ชาว Khoisan ที่มีอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา

ประชากรในภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา มีอาชีพหลักของกลุ่มชนในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นการทำป่าไม้ การเกษตรเพื่อยังชีพหรือเกษตรกรรมพอเพียง มีการล่าสัตว์และหาของป่า บางส่วนเลี้ยงสัตว์แบบอยู่กับที่และเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนตามทุ่งหญ้าสะวันนา มีเพียงส่วนน้อยที่ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าทรัพยากรธรรมชาติที่มีถูกตักตวงไปโดยประเทศล่าอาณานิคมในอดีตและการสู้รบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ จึงเป็นผลให้ประชากรส่วนใหญ่ยากจน ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของประเทศเหล่านี้รวมกันได้เพียงประมาณ 1 % ของโลก (ประชาชนมีรายได้ยังชีพน้อยกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน)[2][5]

ศาสนา

ประชากรได้นับศาสนาตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆโดยมีเชื่อเรื่องวิญญาณ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเมื่อครั้งยังมีการค้าขายและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป[2] โดยในปัจจุบันประเทศในภูมิภาคนี้มีประเทศที่มีศาสนาประจำชาติประเทศเดียว คือ ประเทศมอริเตเนีย โดยนับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ (ประชาชนนับถือศาสนานี้ 99.90 %) ส่วนที่เหลือไม่มีศาสนาประจำชาติ

สุขภาพ

การดูแลสุขภาพภายใต้พื้นที่ในชนบทกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่แอฟริกาใต้สะฮารา นั้นต้องแบกรับภาระของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ที่เป็นโรคเอดส์อย่างยากลำบาก โดยได้มีการวิจัยเรื่องของการดำเนินชีวิตและคุณภาพของการรองรับเครือข่ายการสนับสนุนสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ดูแลในพื้นที่ชนบทของแอฟริกาใต้ โดยการสัมภาษณ์ 45 ราย และเฝ้าติดตาม 13 กลุ่ม พบว่าพื้นฐานของเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์นั้นโยงใยกับบรรดานักแสดงและกลุ่มในหน่วยงานท้องถิ่นในภาคประชาสังคมประชาชนและภาคเอกชน โดยการสนับสนุนนี้ถูกมองข้าม จะมีแต่กลุ่มที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเพียงบางส่วน ซึ่งมากที่สุด คือ ครอบครัวและเพื่อนบ้าน กลุ่มของอาสาสมัครด้านสุขภาพ และนักเผยแผ่ศาสนา[6]

นอกจากโรคเอดส์แล้ว ยังมีโรคอื่นๆ หลายโรคมีมีการแพร่ระบาดเยอะ เช่น โรคไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งมีทั้งหมด 21 ประเทศที่มีการแพร่ระบาด เช่น ประเทศชาด ประเทศไนเจอร์ และประเทศไนจีเรีย เป็นต้น โดยรวมเรียกพื้นที่เหล่านี้ว่าเป็นเขต "African meningitis belt" ซึ่งเชื้อที่เป็นสาเหตุหลักคือ ชนิดย่อย A ส่วนการระบาดครั้งใหญ่สุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540 โดยพบผู้ป่วยมากถึง 300,000 กว่าราย และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30,000 ราย[7] ซึ่งในภาพรวมของสุขภาพประชากรแล้ว อยู่ในระดับต่ำ โดยวัดได้จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งที่แย่ไปกว่านั้นคือบางประเทศไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้ เช่น ประเทศโซมาเลีย ทำให้ประเทศเหล่านี้ไม่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์

ใกล้เคียง

แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 รอบแพ้คัดออก แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2017 แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 รอบคัดเลือก แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม เอ แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม เอฟ แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม ดี แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม บี แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 กลุ่ม อี