การใช้งานทางอุตสาหกรรม ของ แอมฟลอรา

สตาร์ซมันฝรั่งปกติประกอบด้วยโมเลกุล 2 ชนิด คือ อะไมโลเพกทิน (ร้อยละ 80) ซึ่งมีประโยชน์มากในฐานะโพลีเมอร์สำหรับอุตสาหกรรม และแอมิโลส (ร้อยละ 20) ซึ่งมักสร้างปัญหาการคืนตัว (retrogradation) ของสตาร์ซ ซึ่งต้องทำการดัดแปรโดยใช้ปฏิกิริยาเคมีที่อาจมีต้นทุนสูง

หลังจากความพยายามในการวิจัยนานสองทศวรรษ[7] นักเทคโนโลยีชีวภาพของบริษีทบีเอเอสเอฟ ประสบความสำเร็จโดยการใช้พันธุวิศวกรรมในการสร้างมันฝรั่งพันธุ์ปลูก "แอมฟลอรา" ซึ่งยีนที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แอมิโลสถูกปิดลง ดังนั้นมันฝรั่งจึงไม่สามารถสังเคราะห์แอมิโลสที่เป็นที่ต้องการของตลาดน้อยกว่า

มันฝรั่งแอมฟลอราจะถูกแปรรูปและขายเป็นสตาร์ซให้กับอุตสาหกรรมที่ต้องการแป้งมันฝรั่งเหนียวที่มีเพียงอะไมโลเพกตินเท่านั้น แอมฟลอรามีเป้าหมายสำหรับการใช้งานทางอุตสาหกรรมเท่านั้น เช่นการผลิตกระดาษ และการใช้งานด้านเทคนิคอื่น ๆ[8] ยุโรปผลิตแป้งมันฝรั่งธรรมชาติมากกว่าสองล้านเมตริกตันต่อปี และบริษัทบีเอเอสเอฟ หวังว่าจะเข้าสู่ตลาดขนาดใหญ่นี้ด้วยผลิตภัณฑ์มันฝรั่งแอมฟลอรา

การใช้งานอื่น ๆ ที่เป็นไปได้

ตามรายงานของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ บริษัทบีเอเอสเอฟมีคำขอสองครั้งเพื่อใช้เยื่อมันฝรั่งแอมฟลอราเป็นอาหารสัตว์[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แอมฟลอรา https://web.archive.org/web/20111004232207/http://... http://www.saveourseeds.org/downloads/Amylogene_st... https://archive.today/20121206040337/http://www.ba... http://www.basf.com/group/pressrelease/P-10-179 https://web.archive.org/web/20100531073525/http://... http://www.gmo-compass.org/eng/news/492.docu.html https://web.archive.org/web/20141009210148/http://... http://www.gmo-compass.org/eng/gmo/popups/55.potat... https://web.archive.org/web/20110721082732/http://... http://www.paseges.gr/portal/cl/co/0aebc27c-3994-4...