ปรัชญาทฤษฎี ของ แอริสตอเติล

ตรรกศาสตร์พจน์

แอริสตอเติลเป็นผู้เขียน Prior Analytics ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นงานศึกษาตรรกศาสตร์รูปนัยที่มีอายุมากที่สุด[1] และมโนทัศน์ตรรกศาสตร์ของเขาเป็นตรรกศาสตร์ตะวันตกรูปที่ครอบงำจนมีความก้าวหน้าในคณิตตรรกศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19[2]

ออร์กานอน

ตรรกบทแบบหนึ่งของแอริสตอเติล[upper-alpha 1]
คำพจน์[upper-alpha 2]สมการ[upper-alpha 3]
    บุรุษทุกคนต้องตาย

    กรีกทุกคนเป็นบุรุษ

กรีกทุกคนต้องตาย
M a P

S a M

S a P

สิ่งที่ปัจจุบันเรียก ตรรกศาสตร์แบบแอริสตอเติลและตรรกบทประเภทต่าง ๆ (วิธีการให้เหตุผลเชิงตรรกะ)[3] แอริสตอเติลเองเรียกว่า ศาสตร์การวิเคราะห์ (analytics) คำว่า "logic" นั้นเขาสงวนไว้หมายถึงวิภาษวิธี งานส่วนใหญ่ของแอริสตอเติลอาจไม่อยู่ในรูปดั้งเดิม เพราะน่าจะมีการแก้ไขโดยนักเรียนและผู้สอนในภายหลัง งานเชิงตรรกะของแอริสตอเติลมีการรวบรวมเป็นหนังสือหกเล่มชื่อ ออร์กานอน เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน ค.ศ.[5]

การวิเคราะห์งานเขียนของแอริสตอเติลเริ่มจากพื้นฐาน คือ การวิเคราะห์พจน์อย่างง่าย, การวิเคราะห์ประพจน์และความสัมพันธ์มูลฐาน, การศึกษาตรรกบทและวิภาษวิธี

อภิปรัชญา

สาระ

แอริสตอเติลพิจารณามโนทัศน์ของสาระ (ousia) และสารัตถะ (to ti ên einai) ในหนังสือ Metaphysics (Book VII) เขาสรุปว่าสสารหนึ่งเป็นสสาร (matter) และรูป (form) ประกอบกัน เป็นทฤษฎีปรัชญาชื่อ สสารรูปนิยม (hylomorphism) ใน Book VIII เขาแยกแยะสสารของสาระเป็น substratum หรือสิ่งที่ประกอบเป็นสสาร ตัวอย่างเช่น สสารของบ้านคือ อิฐ หิน ไม้ ฯลฯ หรือสิ่งอื่นที่ประกอบเป็นบ้าน ส่วนรูปของสสารคือบ้านที่แท้จริง กล่าวคือ "สิ่งที่คุ้มร่างกายและทรัพย์" หรือ differentia อื่นที่ทำให้นิยามสิ่งหนึ่งว่าบ้าน สูตรซึ่งให้ส่วนประกอบเป็น account ของสสาร และสูตรที่ให้ differentia เป็น account ของรูป[6][7]

สัจนิยมภายใน

ทฤษฎีของเพลโตว่า รูปมีอยู่เป็นสากล เช่น รูปในอุดมคติของแอปเปิ้ล แต่แอริสตอเติลเห็นว่าทั้งสสารและรูปเป็นของปัจเจก (สสารรูปนิยม)

ปรัชญาของแอริสตอเติลมุ่งที่ระดับสากล (universal) เช่นเดียวกับครูเพลโตของเขา ภววิทยาของแอริสตอเติลวางระดับสากล (katholou) ในรายละเอียด (kath' hekaston) สิ่งที่อยู่ในโลก ในขณะที่สำหรับเพลโตแล้ว ภาวะสากลเป็นรูปที่มีอยู่แยกกันซึ่งสิ่งที่แท้จริงเลียนแบบ แต่สำหรับแอริสตอเติล "รูป" เป็นภาพนิ่งซึ่งเป็นพื้นฐานของปรากฏการณ์ แต่เป็น "ตัวอย่างประกอบ" (instantiated) ในสสารหนึ่ง ๆ[7]

เพลโตให้เหตุผลว่าทุกสิ่งมีรูปสากล ซึ่งอาจเป็นคุณสมบัติหรือความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ตัวอย่างเช่น เมื่อเราดูลูกแอปเปิ้ล เราเห็นแอปเปิ้ล และเราสามารถวิเคราะห์รูปของแอปเปิ้ลได้ด้วย ในลักษณะนี้ มีแอปเปิ้ลเฉพาะรายและรูปสากลของแอปเปิ้ล ยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถวางแอปเปิ้ลไว้ข้างหนังสือ เพื่อที่เราสามารถพูดถึงทั้งหนังสือและแอปเปิ้ลว่าอยู่ข้างกัน เพลโตให้เหตุผลว่ามีรูปสากลบางอย่างซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสิ่งเฉพาะ ตัวอย่างเช่น มีความเป็นไปได้ว่าไม่มีความดีเฉพาะส่วนอยู่ แต่ "ความดี" ยังเป็นรูปสากลแท้ แอริสตอเติลไม่เห็นด้วยกับเพลโตในข้อนี้ โดยให้เหตุผลว่าระดับสากลทั้งหมดเป็นตัวอย่างที่อยู่ในบางช่วงเวลา และไม่มีระดับสากลใดที่ไม่ยึดโยงกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ แอริสตอเติลยังไม่เห็นด้วยกับเพลโตเกี่ยวกับตำแหน่งของระดับสากล เมื่อเพลโตพูดถึงโลกของรูป ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีรูปสากลทั้งหมดอยู่ แอริสตอเติลยืนยนัว่าระดับสากลนั้นมีอยู่ในทุกสิ่งซึ่งระดับสากลเป็นภาคแสดง (predicated) ฉะนั้น แอริสตอเติลจึงว่า รูปของแอปเปิ้ลมีอยู่ในทุกลูก มากกว่าในโลกของรูป[7][8]

ศักยภาพและภาวะจริง

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ญาณวิทยา

สัจนิยมภายในของแอริสตอเติลหมายความว่าญาณวิทยาของเขาอาศัยการศึกษาสิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นในโลก แล้วยกไปสู่ความรู้สากล ส่วนญาณวิทยาของเพลโตเริ่มต้นจากความรู้รูปสากล (หรือความคิด) แล้วลดระดับลงเมาเป็นความรู้การเลียนแบบเฉพาะรายของรูปสากลนั้น[9] แอริสตอเติลใช้การอุปนัยจากตัวอย่างควบคู่กับนิรนัย ส่วนเพลโตอาศัยนิรนัยจากหลักการ a priori[9]

ใกล้เคียง

แอริสตอเติล แอริน ยุกตะทัต แอร์สเทอ เอ็ฟเอ็สเฟา ไมนทซ์ 05 แอร์สเทอ เอ็ฟเซ ไคเซิร์สเลาเทิร์น แอรีส แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เคิลน์ แอร์สเทอ เอ็ฟเซ อูนีโอนแบร์ลีน แอร์สเทอ เอ็ฟเซ เนือร์นแบร์ค แอริกา ลัสต์ แอร์สยาม