ชีวิตสมัยหลัง ของ โกลด_มอแน

หลังจากมอแนโศกเศร้ากับการตายของกามีย์อยู่หลายเดือนมอแนก็สัญญากับตนเองว่าจะไม่ยอมเป็นทาสความยากไร้อีก โดยเริ่มเขียนภาพจริง ๆ จัง ๆ และสร้างงานที่ดึที่สุดของตนเองของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อต้นคริสต์ทศศตวรรษ 1880 มอแนก็วาดภาพภูมิทัศน์ของชนบทฝรั่งเศสด้วยความตั้งใจที่จะทำเป็นหลักฐานของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เกิดการวาดภาพเป็นชุดหลายชุดที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์ของชนบทฝรั่งเศส

ภาพชุดพอพพลา

  • ลมแรง
  • ฤดูใบไม้ร่วง
  • ฤดูใบไม้ร่วง
  • แดดออก

เมื่อปีค.ศ. 1878 มอแนและกามีย์ย้ายไปอยู่ที่บ้านของเอิร์นเนส โอเชด (Ernest Hoschedé) เป็นการชั่วคราว โอเชดเป็นเจ้าของร้านสรรพสินค้าผู้มีฐานะและเป็นผู้อุปถัมป์ศิลปิน สองครอบครัวนี้ก็อยู่ด้วยกันที่เวทุย (Vétheuil) ระหว่างหน้าร้อน หลังจากที่เอิร์นเนสล้มละลายและย้ายไปประเทศเบลเยียมเมื่อปีค.ศ. 1878 และหลังจากที่กามีย์เสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 มอแนก็ยังคงอาศัยอยู่ที่เวทุย โดยมีอลิซ ภรรยาของเอิร์นเนส โอเชดก็ช่วยมอแนดูแลบุตรชายสองคน อลิซนำลูกของมอแนไปเลี้ยงร่วมกับลูกของอลิซเองอีก 6 คนที่ปารีสอยู่ระยะหนึ่ง[12] ก่อนที่จะย้ายกลับมาเวทุยพร้อมกับลูก ๆ อีกครั้งเมื่อปีค.ศ. 1880[13] ในปีค.ศ. 1881 ทั้งสองครอบครัวก็ย้ายไปปอยซี (Poissy) ซึ่งเป็นที่ที่มอแนไม่ชอบ จากหน้าต่างรถไฟระหว่างแวร์นองและกาสนีมอแนก็พบจิแวร์นีย์ (Giverny) ในนอร์ม็องดี ในเดือนเมษายนปีค.ศ. 1883 มอแนก็ย้ายไปแวร์นองและต่อมาจิแวร์นีย์ ซึ่งเป็นที่ที่มอแนทำสวนขนาดใหญ่และเป็นที่ที่มอแนเขียนภาพตลอดในบั้นปลายของชีวิต หลังจากเอิร์นเนสเสียชีวิต อลิซก็แต่งงานกับมอแนเมื่อปีค.ศ. 1892[4]

จิแวร์นีย์

บ้านและสวนที่จิแวร์นีย์

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1883 มอแนก็เช่าที่ดินสองเอเคอร์ที่จิแวร์นีย์จากเจ้าของที่ดินบริเวณนั้น ตัวบ้านตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลักระหว่างแวร์นองกับกาสนี ตัวบ้านมีโรงนาที่มอแนใช้เป็นห้องสำหรับเขียนภาพ ภูมิทัศน์บริเวณนั้นก็เหมาะกับการเขียนภาพของมอแน นอกจากนั้นครอบครัวก็ยังช่วยกันทำสวนดอกไม้ใหญ่ ฐานะของมอแนก็เริ่มดีขึ้นเมื่อมีพอล ดูรานด์ รูลเป็นนายหน้าขายภาพเขียนให้ ในปี ค.ศ. 1890 มอแนก็มีฐานะดีพอที่จะซื้อบ้าน สิ่งก่อสร้างในบริเวณนั้น และที่ดินเป็นของตนเอง ต่อมามอแนก็สร้างห้องเขียนภาพอีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นห้องที่ใหญ่กว่าเดิมและเป็นเพดานที่มีแสงส่องเข้ามาได้ ตั้งแต่คริสต์ทศศตวรรษ 1880 จนกระทั่งมอแนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1926 มอแนเขียนภาพหลายชุดสำหรับการแสดงภาพเขียน ซึ่งแต่ละชุดมอแนก็จะวาดตัวแบบเดียวกันแต่จากมุมต่าง ๆ กันและต่างเวลากันตามแต่แสงและภาวะอากาศจะเปลี่ยนแสงสีของสิ่งที่วาด เช่นภาพชุดกองฟางที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1890-1891 ซึ่งเขียนจากหลายมุมและต่างฤดูและต่างเวลากันในแต่ละวัน ภาพเขียนชุดอื่น ๆ ที่มอแนก็ได้แก่ ชุดมหาวิหารรูอ็อง, ชุดต้นพอพพลา, ชุดตึกรัฐสภาอังกฤษ, ชุดยามเช้าบนฝั่งแม่น้ำเซน, และชุดดอกบัวซึ่งมอแนเขียนที่จิแวร์นีย์

บางครั้งมอแนยังชอบเขียนภาพธรรมชาติที่ตกแต่งแล้วเช่นภายในสวนที่มอแนจัดตกแต่งเองที่บ้านจิแวร์นีย์ ซึ่งเป็นสวนที่มีสระน้ำ, สะพานเล็ก ๆ ข้ามสระ, ต้นวิลโลร้องไห้, และดอกบัว ซึ่งสวนจริงยังมีให้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ นอกจากนั้นก็ยังเดินขึ้นล่องริมฝั่งแม่น้ำเซนเพื่อเขียนรูป ระหว่างปี ค.ศ. 1883 ถึงปี ค.ศ. 1908 มอแนเดินทางไปเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมอแนเขียนภาพสิ่งที่น่าสนใจ, ภูมิทัศน์ และ ทะเลทัศน์ เมื่อไปเวนิสมอแนก็เขียนภาพชุดเวนิส และลอนดอนเป็นชุดตึกรัฐสภาอังกฤษ และสะพานชาริงครอส

อลิซและลูกชายคนโตของมอแนผู้แต่งงานกับแบลนช์ ลูกสาวคนโตของอลิซเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1911[4] หลังจากนั้นแบลนช์ก็ดูแลมอแน ระหว่างนี้มอแนก็เริ่มเป็นต้อ[14]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งลูกชายคนที่สองเป็นทหารและจอร์จ เคลมองโซ (Georges Clemenceau) ผู้เป็นเพื่อนและผู้นำฝรั่งเศส มอแนเขียนภาพชุด “วิลโลร้องไห้” (Weeping Willow) เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวฝรั่งเศสผู้เสียชีวิตในสงคราม มอแนได้รับการผ่าตัดต้อสองครั้งในปี ค.ศ. 1923 ต้อของมอแนมีผลต่อสีของภาพเขียนๆ ระหว่างที่เป็นต้อจะออกโทนแดงซึ่งเป็นลักษณะของผู้เป็นต้อ นอกจากนั้นมอแนยังสามารถมองเห็นคลื่นแสงอัลตราไวโอเล็ทที่ตาปกติจะมองไม่เห็นซึ่งอาจจะทำให้มีผลต่อการเห็นสีของมอแน หลังจากผ่าตัดแล้วมอแนก็พยายามทาสีบางภาพใหม่ เช่นภาพชุดดอกบัวที่เป็นสีน้ำเงินกว่าเมื่อก่อนได้รับการผ่าตัด[15]

ภาพเขียนสมัยหลัง

  • “หน้าผาที่เอทเทรทาท์” (The Cliffs at Etretat) – ค.ศ. 1885, สถาบันศิลปะคลาร์ก, วิลเลียมสทาวน์, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐอเมริกา
  • “ภาพนิ่งกับดอกแอนนิโมนี” (Still-Life with Anemones) – ค.ศ. 1885, ภาพสะสมส่วนบุคคล, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
  • “กองฟาง (พระอาทิตย์ตก)” (The Cliffs at Etretat) – ค.ศ. 1890-1891, พิพิธภัณฑ์ศิลปะบอสตัน, สหรัฐอเมริกา
  • มหาวิหารรูอ็อง (พระอาทิตย์ตก)” – ค.ศ. 1892-1894, พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-มอแน, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
  • “สะพานข้ามสระบัว” (Bridge over a Pool of Water Lilies) – ค.ศ. 1899, พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
  • “พอพพลาบนฝั่งน้ำเอพ” (Pappeln on the Epte) – ค.ศ. 1900, พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์
  • “ตึกรัฐสภาอังกฤษ ลอนดอน” (Houses of Parliament, London) – ค.ศ. 1904, พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-มอแน, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
  • “วังที่เวนิส” (Palace From Mula, Venice) – ค.ศ. 1908, พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา
  • “Nympheas” – ราว ค.ศ. 1916, พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-มอแน, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
  • “บัวน้ำ” (Water Lilies) – ค.ศ. 1916, พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: โกลด_มอแน http://www.artelino.com/articles/la_japonaise.asp http://www.artinthepicture.com/styles/Impressionis... http://www.fondation-monet.com/uk/propriete/index.... http://www.intermonet.com/biograph/autobigb.htm http://www.jimloy.com/arts/monet00.htm http://www.monetalia.com/biography.aspx http://simile.mit.edu/timeline/examples/monet/mone... http://monet.uffs.net http://web.archive.org/20021017204543/members.aol.... http://giverny.org/giverny/