ประเภท ของ โกศ

พระโกศเป็นภาชนะเครื่องสูงมีรูปทรงเป็นกรวยมียอดแหลม อาจแยกตามวัตถุประสงค์การใช้งานเป็น 2 ประเภทคือ พระโกศสำหรับทรงพระบรมศพหรือพระศพ และ พระโกศพระบรมอัฐิหรือพระอัฐิ ซึ่งพระโกศพระบรมศพมี 2 ชั้น คือชั้นนอกเรียกว่า "ลอง" ทำด้วยโครงไม้หุ้มทองปิดทอง ประดับกระจกอัญมณี และ ชั้นใน เรียก "โกศ" ทำด้วยเหล็ก ทองแดงหรือเงิน ปิดทอง ลองชั้นนอกใช้ประกอบปิดโครงชั้นในสำหรับลอง หรือ พระลอง ที่ประดับอยู่ภายนอกของโกศ ต่อมานิยมเรียกพระลอง เป็นพระโกศแทน จนเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน เช่น เรียกพระลองทองใหญ่ ว่าพระโกศทองใหญ่ เป็นต้น[3]

พระโกศและโกศแบ่งตามลำดับยศมีอยู่ 14 อย่าง ดังนี้[1]

ลำดับชื่อเรียกใช้กับผู้โปรดให้สร้าง ครั้งแรกลักษณะ
ลำดับที่ 1พระโกศทองใหญ่- พระมหากษัตริย์
- พระอัครมเหสี
- พระยุพราช / สยามมกุฎราชกุมาร / สยามบรมราชกุมารี

- พระบรมราชชนนี / พระบรมราชชนก

- ผู้ทรงโปรดเกล้าพระราชทานเป็นพิเศษ

รัชกาลที่ 1ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ทรง 8 เหลี่ยม หุ้มด้วยทองคำตลอดองค์ ประดับดอกไม้เอว ฝายอดมงกุฎ มีดอกไม้เพชรพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับยอด มีดอกไม้ไหวประดับชั้นฝาพระโกศ และฝาพระโกศประดับเฟื่องและพู่เงิน
ลำดับที่ 2พระโกศทองรองทรง
(นับเสมอพระโกศทองใหญ่)
- พระมหากษัตริย์
- พระอัครมเหสี
- พระยุพราช/ สยามมกุฎราชกุมาร / สยามมกุฎราชกุมารี - พระบรมราชชนนี / พระบรมราชชนก
- ผู้ทรงโปรดเกล้าพระราชทานเป็นพิเศษ
รัชกาลที่ 5ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ทรง 8 เหลี่ยม หุ้มด้วยทองคำตลอดองค์ ฝายอดมงกุฎ
ลำดับที่ 3พระโกศทองเล็ก- สมเด็จเจ้าฟ้า
(ชั้นเอก)
รัชกาลที่ 5ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายทรง 8 เหลี่ยม หุ้มด้วย ทองคำทั้งองค์
ลำดับที่ 4พระโกศทองน้อย- สมเด็จเจ้าฟ้า (ชั้น โท - ตรี)

- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้า (กรมพระยา)

- สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

รัชกาลที่ 4ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ทรง 8 เหลี่ยม ยอดมงกุฎปิดทองทองประดับกระจก มีดอกไม้เพชรพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับยอดพระโกศ และฝาพระโกศประดับเฟื่องและพู่เงิน
ลำดับที่ 5พระโกศกุดั่นใหญ่- สมเด็จพระสังฆราชรัชกาลที่ 1ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ทรง 8 เหลี่ยม ฝายอดทรงมณฑปปิดทองล่อง ชาดประดับ
ลำดับที่ 6พระโกศกุดั่นน้อย- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า

- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง

- ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

- ขุนนางชั้น สมเด็จเจ้าพระยา หรือ เทียบเท่า

รัชกาลที่ 1ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ทรง 8 เหลี่ยม ฝายอดทรงมณฑปปิดทองประดับกระจกสี
ลำดับที่ 7พระโกศมณฑปใหญ่- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป หรือ ทรงกรมรัชกาลที่ 4ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายทรง 4 เหลี่ยม ฝายอดทรงมณฑปปิดทองประดับกระจกสี ลองในเป็นสี่เหลี่ยม
ลำดับที่ 8พระโกศมณฑปน้อย- พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้า

- ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้า

- ประธานองคมนตรี / องคมนตรี ที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง

- ขุนนางชั้น เจ้าพระยา (ชั้น สุพรรณบัฎ) หรือ เทียบเท่า

รัชกาลที่ 4ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายทรง 4 เหลี่ยม ฝายอดทรงมณฑปปิดทองประดับกระจกสี
ลำดับที่ 9พระโกศไม้สิบสอง- พระองค์เจ้าฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคล / สถานภิมุข

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง
- สมเด็จพระราชาคณะ - ขุนนางชั้นเจ้าพระยา (ชั้นสัญญาบัฎ / หิรัญบัฎ) หรือ เทียบเท่า
รัชกาลที่ 1ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายย่อมุม ทรงพระศพหักเหลี่ยมทรงไม้สิบสอง ฝายอดทรงมงกุฎปิดทอง ประดับกระจกสี
ลำดับที่ 10พระโกศราชวงศ์
(มีอีกชื่อว่าพระโกศพระองค์เจ้า

เดิมเรียกว่า

โกศลังกา)

- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
- หม่อมเจ้า ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ขึ้นไป / เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า
รัชกาลที่ 4ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายทรง 4 เหลี่ยม ฝายอดทรงชฎาพอกปิดทองล่องชาดประดับ ลองในเป็น 4 เหลี่ยมสีขาวคล้ายหีบศพตั้งขึ้น มีฝาเป็นยอด
ลำดับที่ 11โกศราชนิกุล- ราชสกุล / ราชินิกุล ที่ได้รับพระราชทาน โกศโถ ให้เปลี่ยนมารับพระราชทาน โกศราชนิกุล แทนรัชกาลที่ 4ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายทรง 4 เหลี่ยม ตัดมุมผ่าทรงชฎาปิดทองประดับกระจกสี
ลำดับที่ 12โกศเกราะ- ผู้ที่ได้รับพระราชทานโกศโถ / โกศแปดเหลี่ยม แต่ มีรูปร่างใหญ่

มิสามารถลงลองสามัญได้ ก็ให้ใช้ โกศเกราะ แทน

รัชกาลที่ 4มีขนาดใหญ่ มีลวดลายเกราะรัด
ลำดับที่ 13โกศแปดเหลี่ยม- พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง

- คุณท้าวนางสนองพระโอษฐ์

- เจ้าจอมมารดา

- หม่อมเจ้าที่ไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ถ้าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานโกศจะได้รับพระราชทาน โกศแปดเหลี่ยม

- ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก ขึ้นไป / ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

- ขุนนางชั้น พระยาพานทอง หรือ เทียบเท่า

รัชกาลที่ 1ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายทรง 8 เหลี่ยม ฝายอดทรงมณฑป ปิดทองล่องชาด ประดับกระจกสี
ลำดับที่ 14โกศโถ- พระราชาคณะชั้นธรรม

- ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย / ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ / ทุติยจุลจอมเกล้า

- ขุนนางชั้น พระยา หรือ เทียบเท่า

รัชกาลที่ 1ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายรูปกลม ฝายอดปริก ปิดทองประดับกระจก

* แต่เดิม ขุนนางชั้น เจ้าพระยา จะได้รับพระราชทาน โกศแปดเหลี่ยม แต่เปลี่ยนมาพระราชทานโกศไม้สิบสอง กับ โกศมณฑป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

แม้พระโกศ/โกศ มีการแบ่งลำดับตามฐานันดรศักดิ์อย่างชัดเจน แต่บางครั้งอาจมีการเลื่อนลำดับชั้นให้สูงขึ้นได้ ตามแต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อาทิเช่น

สำหรับพระโกศทองใหญ่ ซึ่งถือเป็นพระโกศที่ประกอบ พระอิสริยยศ ตามธรรมเนียมการประดับตกแต่งพระโกศ มีความลดหลั่นกันเป็นหลายชั้นตามพระเกียรติยศ พระบรมศพ หรือพระศพ[8]