การทดลองระเบิดปรมาณูครั้งแรก ของ โครงการแมนฮัตตัน

การทดลองระเบิดปรมาณูที่ทะเลทรายในรัฐนิวเม็กซิโก วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1945

ในที่สุด เมื่อถึงวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 เวลา 05.30 น. ระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกก็ระเบิดที่กลางทะเลทรายในรัฐนิวเม็กซิโกห่างจากลอสอาลาโมสไปทางใต้เกือบ 200 ไมล์ เพื่อทดสอบว่าระเบิดปรมาณูจะระเบิดจริงตามทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์หรือไม่ และทันทีที่เห็นควันรูปดอกเห็ดขนาดใหญ่ปรากฏขึ้น พบว่าระเบิดมีพลังมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์หวังไว้มาก นอกจากนั้นมีแสงสว่างจ้าเกิดขึ้นด้วย สว่างจนเด็กหญิงตาบอดที่อยู่ห่างหลายไมล์เห็นแสงระเบิดได้ในลอสอาลาโมส ผู้ที่ยังไม่หลับรู้ว่ามีแสงสว่างอันแปลกประหลาดนี้เกิดขึ้น

หลังการทดลองนายทหารชั้นนายพลผู้หนึ่งได้เขียนรายงานถึงกระทรวงกลาโหม (War Department) อธิบายถึงการระเบิดโดยเริ่มว่า "เริ่มแรกของการระเบิดเมืองทั้งหมดสว่างจ้าด้วยแสงสว่างกว่าดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงหลายเท่า แสงนี้มีสีทอง ม่วง และน้ำเงิน สอดส่องและแทรกไปทั่วทุกหุบเขาและซอกเขาต่างๆ จนดูสว่างไสวงดงามอย่างที่บรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ ต่อจากนั้นประมาณ 30 วินาทีแรงอัดอากาศก็เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและทันทีทันใด ติดตามด้วยเสียงหนักแน่นติดต่อกัน ขณะเดียวกันนั้นกลุ่มเมฆใหญ่มหึมาก็ลอยขึ้นสู่เบื้องบน การระเบิดทำให้เกิดหลุมขนาดใหญ่ตรงจุดระเบิด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งไมล์ ทรายตามผิวหลุมหลอมละลาย และเมื่อทรายแข็งตัวอีกหลุมนั้นก็ถูกฉาบด้วยแผ่นแก้ว"[3]

ออพเพนไฮเมอร์ผู้ชอบอ่านกวีนิพนธ์ภาษาสันสกฤตก็ได้เอ่ยคำอุทานจากวรรณคดีภควัทคีตาว่า “ I have become Death the shatterer off worlds.” จากนั้นไม่นาน James Frank (รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. 1925) และ Leo Szilard (ผู้ให้กำนิดความคิดเรื่อง fission) ได้เสนอให้เขาจัดงานแสดงการระเบิดของระเบิดปรมาณูให้โลกดูเพื่อขู่ให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม แต่เขาตัดสินใจให้ทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่เมืองในญี่ปุ่นแทน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เขายังทำงานกับสำนักงานพลังงานปรมาณูแห่งชาติ (Atomic Energy Commission : AEC) ในฐานะที่ปรึกษา และในปี ค.ศ. 1948 เขาได้รับการยกย่องขึ้นหน้าปกนิตยสาร Time อีกด้วย[2]

ใกล้เคียง

โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท โครงการอวกาศโซเวียต โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย โครงการชุมชนพอเพียง โครงการโฮปเวลล์ โครงการแมนแฮตตัน โครงกระดูกมนุษย์ โครงการอะพอลโล โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า