โครงสร้าง ของ โครงสร้างแบบเคกกิน

โครงสร้างแบบเคกกินประกอบด้วยไอออนลบรูปทรงสี่หน้าของเฮเทอโรอะตอมที่ล้อมรอบด้วยออกซิเจน 4 อะตอม โดยที่อะตอมนี้เป็นแม่แบบของโครงสร้างด้วยการเป็นแกนกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยอะตอมโลหะที่ล้อมรอบด้วยออกซิเจนเป็นรูปทรงแปดหน้า (MO6) จำนวน 12 อะตอมโดยจัดเรียงตัวกันเป็นรูปกรง (cage-like structure)[3] ดังรูป 1 ซึ่ง MO6 ที่จัดเรียงตัวกัน 3 อะตอมที่เป็นแต่ละด้านของพอลิออกโซเมทัลเลตสามารถเรียงตัวในลักษณะกันได้มากถึง 5 แบบ หรือ 5ไอโซเมอร์ ได้แก่ α-, β-,γ-, δ- และ ε-เคกกิน

ตัวอย่างโครงสร้างไอออนบวกพอลิออกโซและพอลิออกโซเมทัลเลตแบบเคกกิน

ไอออนบวกพอลิออกโซของโลหะหมู่ 13

ไอออนบวกพอลิออกโซ [Al13O4(OH)24(H2O)12)]7+ (Al13) มีโครงสร้างแบบเคกกินที่มีไอออนลบรูปทรงสี่หน้าเป็น {AlO4} และยังพบว่ามีโครงสร้างที่เป็นรูปแบบเดียวกันของแกลเลียม หรือ Ga13 เช่นเดียวกับ GaAl12 และ GeAl12[4]

พอลิออกโซเมทัลเลตของเหล็ก

เนื่องจากเหล็กและอะลูมิเนียมมีสมบัติทางเคมีที่คล้ายกัน จึงมีการเสนอว่าอาจจะมีโครงสร้างเคกกินของเหล็กที่เสถียรอยู่จริง ในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการค้นพบและศึกษาโครงสร้างของ Fe13 โดยเป็นสารประกอบที่เรียกว่า เฟร์ริไฮไดรด์ (ferrihydrite) [5] และในปี ค.ศ. 2015 ก็มีการสังเคราะห์ Fe13 ที่มีประจุ -17 รายงานในวารสาร Science[6]

ใกล้เคียง

โครงสร้างของโลก โครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างเปลือกหอย โครงสร้างผลึก โครงสร้างข้อมูล โครงสร้างข้อมูลเซตไม่มีส่วนร่วม โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับอัณฑะ โครงสร้างนิยม โครงสร้างทรงโค้ง โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก