ลักษณะบังคับ ของ โคลงสี่สุภาพ

๐ ๐ ๐ เอก โท๐ x (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ xเอก โท
๐ ๐ เอก ๐ x๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โทเอก โท ๐ ๐

หนึ่งบทมี 4 บาท , 3 บาทแรกบาทละ 7 คำ บาทที่สี่ 9 คำ ดังนี้

บาท ที่ 1 มี 7 คำ

บาท ที่ 2 มี 7 คำ

บาท ที่ 3 มี 7 คำ

บาท ที่ 4 มี 9 คำ

1 บาท แบ่งเป็น 2 วรรค

วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ

ยกเว้นบาทที่ 4 จะมีวรรคหลัง 4 คำ

สรุปรวม 1 บทประกอบด้วย 30 คำ

มีคำสร้อยได้ในบาทที่ 1 บาทที่ 3 (คำสร้อย คือ คำที่แต่งเติมต่อท้ายบาท เพื่อทำให้ได้ใจความครบถ้วน ถ้าโคลงบาทใดได้ความครบถ้วนแล้วก็ไม่จำเป็ยต้องเติมคำสร้อย)

กฎการสัมผัสคำสุดท้ายของบาทที่ 1 ต้องสัมผัสกับ คำที่ 5 ของบาทที่ 2 และบาทที่ 3 คำสุดท้ายของบาทที่ 2 ต้องสัมผัสกับ คำที่ 5 ของบาทที่ 4

บังคับตำแหน่งวรรณยุกต์ เอก 7 แห่ง โท 4 แห่ง

  วรรค1   วรรค2  (คำสร้อย)   ○○○○่●้    ○●   (○○)--> บาทที่ 1 มี 7 คำ         ┌───┘   ○○่○○●─┤  ○่●้       --> บาทที่ 2 มี 7 คำ         │┌──┘   ○○○่○●─┘│ ○○่   (○○)--> บาทที่ 3 มี 7 คำ          │   ○○่○○●้──┘ ○่○้○○ (○○)--> บาทที่ 4 มี 9 คำ

ดังคำโคลงอธิบายต่อไปนี้

๏ ให้ปลายบาทเอกนั้นมาฟัด
ห้าที่บทสองวัจน์ชอบพร้อง
บาทสามดุจเดียวทัดในที่ เบญจนา
ปลายแห่งบทสองต้องที่หน้าบทหลัง ๚ะ
๏ ที่พินทุ์โทนั้นอย่าพึงพินทุ์ เอกนา
บชอบอย่างควรถวิลใส่ไว้
ที่พินทุ์เอกอย่าจินดาใส่ โทนา
แม้วบมีไม้เอกไม้โทควร ๚ะ
๏ บทเอกใส่สร้อยได้โดยมี
แม้วจะใส่บทตรีย่อมได้
จัตวานพวาทีในที่ นั้นนา
โทที่ถัดมาใช้เจ็ดถ้วนคำคง ๚ะ
๏ บทต้นทั้งสี่ใช้โดยใจ
แม้วจะพินทุ์ใดใดย่อมได้
สี่ห้าที่ภายในบทแรก
แม้นมาทจักมีไม้เอกไม้โทควร ๚ะ
จินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี

คำเอก โท ในบาทแรกของโคลงอาจสลับที่กันได้ และอนุโลมให้ใช้คำตายแทนคำเอกในที่ที่หาคำเอกไม่ได้ แต่ไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ ดังกล่าวไว้ในจินดามณี ฉบับหลวงวงศาธิราชสนิท ดังต่อไปนี้

๏ เอกโทเปลี่ยนผลัดได้โดยประสงค์
แห่งที่ห้าควรคงบทต้น
บทอื่นอาจบ่ปลงแปลงแบบ นาพ่อ
เฉภาะแต่บทหนึ่งพ้นกว่านั้นฤๅมี ๚ะ
๏ เอกเจ็ดหายากแท้สุดแสน เข็ญเอย
เอาอักษรตายแทนเทียบได้
โทสี่ประหยัดหนหวงเปลี่ยน
ห่อนจักหาอื่นใช้ต่างนั้นไป่มี ๚ะ
๏ เอกโทผิดที่อ้างออกนาม โทษนา
จงอย่ายลอย่างตามแต่กี้
ผจงจิตรคิดพยายามถูกถ่อง แท้แฮ
ยลเยี่ยงปราชญ์สับปลี้เปล่าสิ้นสรรเสริญ ๚ะ
๏ ใช้ได้แต่ปราชญ์คร้านการเพียร
ปราชญ์ประเสริฐดำเนียรหมิ่นช้า
ถือเท็จท่านติเตียนคำตู่ คำนา
มักง่ายอายอับหน้าอาจถ้อเถียงไฉน ๚ะ

โคลงสี่สุภาพมี 30 คำ เมื่อหัก เอก 7 โท 4 แล้ว ส่วนที่เหลือ 19 คำแม้ไม่กำหนดรูปวรรณยุกต์ ในท้ายวรรคทุกวรรคต้องไม่มีรูปวรรณยุกต์ เพราะจะทำให้น้ำหนักของโคลงเสียไป ได้แก่คำที่กากบาทในแผนผังข้างล่าง

๐ ๐ ๐ เอก โท๐ X (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ Xเอก โท
๐ ๐ เอก ๐ X๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โทเอก โท ๐ X )

คำสุดท้ายของโคลงนอกจากจะห้ามมีรูปวรรณยุกต์แล้ว กวียังนิยมใช้เพียงเสียงสามัญ หรือ จัตวา เท่านั้น

อนึ่ง เคยมีความเข้าใจกันว่า บาทที่สี่มีสร้อยไม่ได้ แต่หากพิจารณาคำอธิบายการแต่งโคลงในจินดามณีแล้วน่าจะตีความได้ว่าโคลงสี่สุภาพมีสร้อยได้ทุกบาทยกเว้นบาทที่สอง

๏ บทเอกใส่สร้อยได้โดยมี
แม้วจะใส่บทตรีย่อมได้
จัตวานพวาทีในที่ นั้นนา
โทที่ถัดมาใช้เจ็ดถ้วนคำคง ๚ะ
(ถอดความ)วรรคแรก ในบาทแรกนั้น มีคำสร้อยได้วรรคที่สอง และอาจใส่ในบาทที่สามได้อีกวรรคที่สาม และรวมทั้งท้ายคำที่เก้าของบาทที่สี่ด้วยวรรคที่สี่ ในบาทสองที่เหลืออยู่ ให้คงมีเพียงเจ็ดคำ (=ไม่มีสร้อย)

ทั้งนี้มีตัวอย่างโคลงในวรรณกรรมยืนยันได้แก่

๏ ตีอกโอ้ลูกแก้วกลอยใจ แม่เฮย
เจ้าแม่มาเป็นใดดั่งนี้
สมบัติแต่มีในภาพแผ่น เรานา
อเนกบรู้กี้โกฏิไว้จักยา พ่อนา ๚ะ
ลิลิตพระลอ


๏ จรุงพจน์จรดถ้อยห่างทางกวี
ยังทิวาราตรีไม่น้อย
เทพใดหฤทัยมีมาโนชญ์
เชิญช่วยอวยให้ข้อยคล่องถ้อยคำแถลง เถิดรา ๚ะ
สามกรุง