รูปแบบของหนังสือประชุมโคลงโลกนิติ ของ โคลงโลกนิติ

ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับกรมวิชาการ

หนังสือประชุมโคลงโลกนิติ[2] ขึ้นต้นด้วยโคลงนำ 2 บท คือ

 
อัญขยมบรมนเรศเรื้องรามวงศ์
พระผ่านแผ่นไผททรงสืบไท้
แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์โอวาท
หวังประชาชนให้อ่านแจ้งคำโคลง
 
ครรโลงโลกนิตินี้นมนาน
มีแต่โบราณกาลเก่าพร้อง
เป็นสุภสิตสารสอนจิต
กลดั่งสร้อยสอดคล้องเวี่ยไว้ในกรรณ
 

จากนั้น จะแยกโคลงออกเป็นชุดๆ แต่ละชุดมีส่วนประกอบดังนี้

  • ตัวเลขลำดับกำกับชุด
  • คาถา โดยชุดที่มีคาถา จะเขียนคาถาไว้ที่ต้นบท พร้อมชื่อคัมภีร์อันเป็นที่มาของคาถานั้น
    • ถ้าโคลงชุดนี้ไม่มีคาถา จะเขียนว่า ไม่พบคาถา
  • อ้างอิงท้ายคาถา (ถ้ามีคาถา)
    • แหล่งที่มา เช่น คัมภีร์โลกนิติ, คัมภีร์ธรรมนีติ, คัมภีร์ราชนีติ, หิโตปเทศ, ธรรมบท, พระไตรปิฎก
    • ถ้าไม่พบที่มาของคัมภีร์ จะเขียนว่า ไม่ปรากฏที่มา
  • ตัวโคลง
  • อ้างอิงท้ายโคลง
    • โคลงสำนวนเก่า จะเขียนว่า สำนวนเก่า
    • โคลงพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (จารึกวัดพระเชตุพนฯ) จะเขียนว่า สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร
ตัวอย่าง

โคลงชุดที่ 170 เป็นดังนี้

 
170.
ปฐพฺยา มธุรา ติณีอุจฺฉุ นารี สุภาสิตํ
อุจฺฉุนารีสุ ตปฺปนฺติน ตปปติ สุภาสิตํ
ไม่ปรากฏที่มา
 
รสหวานในโลกนี้มีสาม
หญิงรูปบริสุทธิ์งามอีกอ้อย
สมเสพรสกลกามเยาวโยค
หวานไป่ปานรสถ้อยกล่าวเกลี้ยงไมตรี
สำนวนเก่า
 
หวานใดในโลกนี้มีสาม สิ่งนา
หวานหนึ่งคือรสกามอีกอ้อย
หวานอื่นหมื่นแสนทรามสารพัด หวานเอย
หวานไป่ปานรสถ้อยกล่าวเกลี้ยงคำหวาน
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร