โคเคน
โคเคน

โคเคน

โคเคน (อังกฤษ: cocaine) เป็นสารกระตุ้นอย่างเข้มที่มักใช้เป็นยาเพื่อนันทนาการ[13] ทั่วไปเสพโดยการสูด สูบควัน หรือละลายแล้วฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น การเสียการรับรู้ความเป็นจริง รู้สึกสุขยิ่งยิ่ง หรือกระสับกระส่าย อาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อตก และรูม่านตาขยาย[12] ขนาดสูงอาจทำให้ความดันโลหิตหรืออุณหภูมิกายสูงมากได้[14] เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่วินาทีหรือนาทีหลังใช้ และอยู่ได้ระหว่าง 5 ถึง 90 นาที[12] มีการยอมรับให้ใช้โคเคนทางการแพทย์ในวงจำกัดให้เป็นยาชาและลดการตกเลือดระหว่างการผ่าตัดจมูก[15] และการผ่าตัดท่อน้ำตา[16]โคเคนเป็นสารเสพติดเนื่องจากมีฤทธิ์ต่อระบบรางวัลในสมอง มีความเสี่ยงสู่ภาวะการเสพติดสูงหลังใช้ระยะสั้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โรคปอดในผู้สูบโคเคน การติดเชื้อในกระแสเลือด และหัวใจวายเฉียบพลัน[13][17] โคเคนที่ลักลอบขายอย่างผิดกฎหมายมักผสมกับยาชาเฉพาะที่ แป้งข้าวโพด ควินิน หรือน้ำตาล ซึ่งอาจทำให้มีพิษข้างเคียงนอกเหนือไปจากความเสี่ยงข้างต้น[18] หลังการใช้ซ้ำ ๆ ผู้ใช้ได้รับผลของความยินดีจากการเสพลดลงเรื่อย ๆ เกิดภาวะสิ้นยินดีซึ่งเป็นความผิดปกติทางอารมณ์และอาจทำให้รู้สึกเหนื่อยอย่างมากโคเคนออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของเซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดปามีน ทำให้มีสารสื่อประสาทสามชนิดดังกล่าวสะสมเพิ่มขึ้นในสมอง[13] ความเข้มข้นของการสะสมสารสื่อประสาทดังกล่าวทำให้สามารถทะลุผ่านตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง และอาจทำให้ตัวกั้นดังกล่าวเสียหายได้[19][20]ในปี 2556 มีการผลิตโคเคนทั่วโลกที่ถูกกฎหมาย 419 กิโลกรัม[21] ซึ่งหากประมาณราคาในตลาดค้าโคเคนผิดกฎหมายจะมีมูลค่า 100,000–500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี[13] โคเคนเป็นสารเสพติดที่ใช้ผิดกฎหมายทั่วโลกมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากกัญชา[22] มีผู้ใช้โคเคนระหว่าง 14 ถึง 21 ล้านคนต่อปี พบใช้มากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ตามด้วยทวีปยุโรปและอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าประชากรในประเทศพัฒนาแล้วประมาณร้อยละ 1-3 เคยใช้โคเคนทางใดทางหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต[13] ปริมาณการใช้ในประเทศไทยอยู่ที่เฉลี่ย 0.8–1.2 กิโลกรัมต่อปี[23] ในปี 2556 การใช้โคเคนเป็นสาเหตุโดยตรงทำให้มีผู้เสียชีวิต 4,300 คน เพิ่มขึ้นจาก 2,400 คนในปี 2533[24] ตั้งชื่อตามต้นโคคาที่แยกสารดังกล่าวได้[12] ใบของต้นโคคานั้นชาวเปรูได้ใช้มาแต่โบราณ มีการแยกโคเคนได้จากใบครั้งแรกในปี 2403[13] นับแต่ปี 2504 อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดระหว่างประเทศบังคับให้ประเทศต่าง ๆ กำหนดให้การใช้โคเคนเพื่อนันทนาการเป็นอาชญากรรม[25]

โคเคน

ระยะเวลาออกฤทธิ์ 5 ถึง 90 นาที[12]
การเปลี่ยนแปลงยา ตับ CYP3A4
IUPHAR/BPS
ChEBI
Boiling point 187 °C (369 °F)
เลขทะเบียน CAS
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ หลักวินาทีถึงนาที[12]
PubChem CID
AHFS/Drugs.com Micromedex Detailed Consumer Information
ChemSpider
รหัส ATC
DrugBank
ชื่ออื่น Benzoylmethylecgonine, coke, blow, crack (in freebase form)
ChEMBL
KEGG
สูตร C17H21NO4
ข้อมูลทะเบียนยา
Solubility in water ≈1.8
UNII
Drug class
Dependenceliability สูง[5]
ช่องทางการรับยา เฉพาะที่, ทางปาก, พ่นยา, ทางหลอดเลือดดำ
ECHA InfoCard 100.000.030
PDB ligand
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด) [4]
    มวลต่อโมล 303.353
    สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยา Norcocaine, benzoylecgonine, cocaethylene
    สถานะตามกฏหมาย
    ชีวประสิทธิผล
    การขับออก ไต
    Addictionliability สูง[6]
    Melting point 98 °C (208 °F)
    แบบจำลอง 3D (JSmol)
    ชื่อทางการค้า Neurocaine,[1] Goprelto,[2] Numbrino,[3] others