โดยไม่สูญเสียนัยทั่วไป

โดยไม่เสียนัยทั่วไป (อังกฤษ: Without loss of generality, WOLOG, WLOG, w.l.o.g) คือวลีที่พบเห็นได้ทั่วไปในสาขาคณิตศาสตร์ กล่าววลีนี้ก่อนข้อสมมติฐานในการพิสูจน์ เพื่อลดขอบเขตที่ต้องแสดงให้เห็นจริง หรือหมายความว่าการแสดงให้เห็นจริงในกรณีอื่น ๆ สามารถทำได้โดยง่ายจากการแสดงในกรณีนี้ หรือมีลักษณะเดียวกับการแสดงในกรณีนี้ จึงขอละการแสดงกรณีอื่น ๆ ไป แต่จะแสดงเฉพาะบางกรณีเท่านั้นหลายครั้งสามารถใช้วลีนี้กับการพิสูจน์ปัญหาที่มีความสมมาตรได้ ตัวอย่างเช่น ในการพิสูจน์ P ( x , y ) {\displaystyle P(x,y)} (โดย P {\displaystyle P} เกี่ยวข้องกับจำนวนจริง x {\displaystyle x} และ y {\displaystyle y} ) ถ้าหากต้องการใช้วลี "โดยไม่สูญเสียคุณลักษณะทั่วไป" โดยสมมติให้ x ≤ y {\displaystyle x\leq y} จะมีความจำเป็นที่ P {\displaystyle P} ต้องมีความสมมาตรของ x {\displaystyle x} และ y {\displaystyle y} กล่าวคือ P ( x , y ) {\displaystyle P(x,y)} มีความหมายเดียวกับ P ( y , x ) {\displaystyle P(y,x)} จึงจะทำให้ไม่สูญเสียคุณลักษณะทั่วไป ในการสมมติว่า x ≤ y {\displaystyle x\leq y} เพราะการพิสูจน์ภายใต้การสมมตินี้เพียงพอที่จะสรุปในการณีอื่น ( y ≤ x ) {\displaystyle (y\leq x)} ได้โดยการเปลี่ยน x {\displaystyle x} กับ y {\displaystyle y} (นั่นคือ P ( y , x ) {\displaystyle P(y,x)} แต่เนื่องจากมีความสมมูลกับ P ( x , y ) {\displaystyle P(x,y)} จึงไม่ต้องพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้ง)