การก่อตั้งนิคมสิงคโปร์ ของ โทมัส_สแตมฟอร์ด_แรฟเฟิลส์

แต่เดิมเกาะสิงคโปร์เคยเป็นที่ตั้งหน่วยทหารของอาณาจักรศรีวิชัยในย่านสุมาตรา มีชื่อเป็นภาษาชวาว่า "เทมาเสก" (แปลว่าเมืองทะเล) ซึ่งต่อมาได้กลายเมืองค้าขายที่เพิ่มความสำคัญมากขึ้น แต่หลังจากประมาณ พ.ศ. 1850 เป็นต้นมา ความเจริญทางการค้าเสื่อมถอยลงจนเกือบหาร่องรอยของเมืองเทมาเสกไม่พบ ระหว่าง ประมาณ พ.ศ. 2050 - พ.ศ. 2350 เกาะสิงคโปร์ได้กลายเป็นส่วนของอาณาเขตของสุลต่านยะโฮร์ โดยในช่วงนี้ก็ได้เกิดสงครามระหว่างชาวมลายูกับชาวโปรตุเกส อาคารบ้านเรือนถูกเผาจนราบเรียบและตกอยู่ในการครอบครองของโปรตุเกสอยู่ประมาณ 100 ปี และเปลี่ยนมือมาเป็นของฮอลันดาอีกประมาณ 100 ปี พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นป่าดงกลายเป็นที่อยู่ของชาวประมงและโจรสลัด

ใน ปี พ.ศ. 2362 แรฟเฟิลส์ได้แล่นเรือมาขึ้นเกาะ และได้มองเห็นศักยภาพและโอกาสเป็นอย่างมากที่จะใช้เป็นฐานที่ตั้งทางการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ แรฟเฟิลส์ได้ทำความตกลงและเซ็นสัญญากับสุลต่านฮุสเซน ชาร์ ในนามของบริษัทอีสต์อินเดียเพื่อสร้างเป็นฐานที่ทำการค้าและการตั้งถิ่นฐาน แรฟเฟิลส์ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2366 เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างศีลธรรม ห้ามการพนัน และการค้าทาส ซึ่งต่อมามีผู้คนหลายเชื้อชาติค่อย ๆ อพยพเข้ามาทำงานในสิงคโปร์และเริ่มทะลักมากขึ้น สิงคโปร์กลายเป็นส่วนในอาณัติของอาณานิคมอังกฤษโดยการบริหารจัดการโดยบริษัทอีสต์อินเดียเมื่อ พ.ศ. 2401 และกลายเป็นอาณานิคมของจักวรรดิอังกฤษอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2410 เมื่อถึง พ.ศ. 2412 ปรากฏว่าสิงคโปร์มีประชากรมากถึง 100,000 คน

ใกล้เคียง

โทมัส มึลเลอร์ โทมัส ทุคเคิล โทมัส แซงสเตอร์ โทมัส ฮิทเซิลส์แพร์เกอร์ โทมัส ฮอบส์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ โทมัส เรตต์ โทมัส เนเวอร์กรีน โทมัส เฮเดน เชิร์ช โทมัส ยอร์ช น็อกซ์