การประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ของ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย

ภายหลังที่ กสทช. ได้มีการกำหนดนโยบาย แนวทาง และแผนแม่บทการดำเนินการด้านกิจการโทรทัศน์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ก็ได้มีการประชุมภายในหลายครั้งจนได้หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการจัดการบริหารช่องและคลื่นความถี่อย่างชัดเจน โดยมติที่ประชุมของ กสท. ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2555 มีรายละเอียดและข้อกำหนดดังนี้

  • อนุมัติช่องรายการดิจิทัลทีวีทั้งหมด 60 ช่อง แบ่งเป็น
    • บริการสาธารณะ 20% หรือ 12 ช่อง
    • บริการชุมชน 20% หรือ 12 ช่อง
    • บริการธุรกิจ 60% หรือ 36 ช่อง แบ่งเป็น
      • รายการเด็กและเยาวชน (ความละเอียดปกติ) 5 ช่อง
      • รายการข่าวสารและสารประโยชน์ (ความละเอียดปกติ) 5 ช่อง
      • รายการทั่วไป ความละเอียดปกติ 10 ช่อง
      • รายการทั่วไป ความคมชัดสูง 4 ช่อง

แต่ภายหลังได้มีการปรับลดจำนวนช่องลงเพื่อความเหมาะสม และมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขอยู่ตลอด จนในที่สุดข้อกำหนดทั้งหมดได้ถูกบันทึกเอาไว้ใน ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยมีรายละเอียดโดยย่อดังนี้

  • อนุมัติช่องรายการดิจิทัลทีวีทั้งหมด 48 ช่อง แบ่งเป็น
    • บริการสาธารณะ 25% หรือ 12 ช่อง โดยที่ กองทัพบก กรมประชาสัมพันธ์ และ Thai PBS ได้รับช่องในการออกอากาศไปแล้ว 4 ช่อง
    • บริการชุมชน 25% หรือ 12 ช่อง จะเริ่มจัดสรรใบอนุญาตในการดำเนินการในปี 2558
    • บริการธุรกิจ 50% หรือ 24 ช่อง แบ่งเป็น
      • รายการเด็กและเยาวชน (ความละเอียดปกติ) 3 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 140 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท
      • รายการข่าวสารและสารประโยชน์ (ความละเอียดปกติ) 7 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 220 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท
      • รายการทั่วไป ความละเอียดปกติ 7 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 380 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 5 ล้านบาท
      • รายการทั่วไป ความคมชัดสูง 7 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 1,510 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท

โดยที่ กสทช. ได้เริ่มจำหน่ายซองเอกสารเงื่อนไขการประมูลช่องในวันที่ 10 - 12 กันยายน 2556 เพื่อเตรียมความพร้อมในการประมูลที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม 2556 โดย ณ เวลา 16.00 น. ของวันที่ 12 กันยายน กล่าวโดยสรุปคือ กสทช. ได้ขายซองประมูลให้กับภาคเอกชนไป 49 ซอง 49 ช่อง 33 บริษัท และนัดส่งเอกสารเพื่อเตรียมความพร้อมในการประมูลในเดือนตุลาคม จนกระทั่งในที่สุด กสทช. ก็ได้กำหนดวันประมูลดิจิทัลทีวีอย่างเป็นทางการ คือวันที่ 26 ธันวาคม 2556 จะเปิดประมูล 2 ประเภท คือช่องรายการทั่วไป ความคมชัดสูง และช่องรายการทั่วไป ความคมชัดปกติ และในวันที่ 27 ธันวาคม 2556 จะเปิดประมูลอีกสองประเภท คือช่องข่าวสารและสารประโยชน์ และช่องเด็กและเยาวชน

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

ซึ่งกระประมูลในวันนั้น ทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศกว่า 50,862 ล้านบาท โดยแต่เดิมเงินก้อนนี้จะถูกส่งเข้า กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยเทคโนโลยีด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แต่ในเดือนพฤษภาคม 2557 กลับเกิดเหตุความไม่โปร่งใสในการนำเงินไปใช้งาน หลังมีปัญหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดออกอากาศการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เป็นคณะรัฐประหารในช่วงนั้น จึงมีประกาศฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยกำหนดให้ กสทช. ทำการหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากเงินที่ได้จากการประมูลดิจิทัลทีวีจำนวน 50,862 ล้านบาทออก แล้วส่งเงินที่เหลือเข้ากระทรวงการคลังเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป

ช่องประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูลทั้งสิ้น 9 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 23,700 ล้านบาท

อันดับรหัสประมูลชื่อผู้ประมูลมูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1H04(ช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด3,530
2H06(น.พ. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ) บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด3,460
3H05(ช่อง 7) บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด3,370
4H08(ไทยรัฐทีวี) บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด3,360
5H03(ช่อง 9) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)3,340
6 (ร่วม)H01(อมรินทร์ พรินติง) บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด3,320
6 (ร่วม)H07(GMM Grammy) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด3,320
8ไม่ผ่านการประมูลบริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด3,310
9ไม่ผ่านการประมูลบริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด3,000

ช่องประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 16 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 15,950 ล้านบาท

อันดับรหัสประมูลชื่อผู้ประมูลมูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1S15(Workpoint) บริษัท ไทย บรอดคาสติง จำกัด2,355
2S03(กลุ่มทรู) บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด2,315
3S10(GMM Grammy) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด2,290
4S02(ช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด2,275
5S09(ช่อง 8) บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชัน จำกัด2,265
6S13(www.mthai.com) บริษัท โมโน บรอดคาสต์ จำกัด2,250
7S12(เครือเนชั่น) บริษัท สปริง 26 จำกัด (เดิมคือ บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติง จำกัด)2,200
8ไม่ผ่านการประมูลบริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชัน จำกัด
9ไม่ผ่านการประมูลบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
10ไม่ผ่านการประมูลบริษัท อมรินทร์ เทเลวิชัน จำกัด
11ไม่ผ่านการประมูลบริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
12ไม่ผ่านการประมูลบริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติง จำกัด
13ไม่ผ่านการประมูลบริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสต์ จำกัด
14ไม่ผ่านการประมูลบริษัท ไทยทีวี จำกัด
15ไม่ผ่านการประมูลบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด
16ไม่ผ่านการประมูลบริษัท ทัช ทีวี จำกัด

ช่องประเภทรายการข่าวสาร และสาระ

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการข่าวสารและสาระ (ภาพคมชัดปกติ) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 10 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 9,238 ล้านบาท

อันดับรหัสประมูลชื่อผู้ประมูลมูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1N09(เครือเนชั่น) บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชัน จำกัด1,338
2N06บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด1,330
3N08(TV Pool) บริษัท ไทยทีวี จำกัด1,328
4N01บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชัน จำกัด1,318
5N05(เครือทรู, TNN24) บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ก จำกัด1,316
6N10(Daily News) บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด1,310
7N04บริษัท ไบรต์ทีวี จำกัด (เดิมคือ บริษัท 3 เอ. มาร์เก็ตติง จำกัด)1,298
8ไม่ผ่านการประมูลบริษัท โมโน เจเนอเรชัน จำกัด
9ไม่ผ่านการประมูลบริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด
10ไม่ผ่านการประมูลบริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด

ช่องประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว

กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว (ภาพคมชัดปกติ) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 6 ราย ประมูลได้ 3 ราย มีรายได้รวม 1,974 ล้านบาท

อันดับรหัสประมูลชื่อผู้ประมูลมูลค่าประมูล
(ล้านบาท)
1K01(ช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด666
2K03(MCOT Family) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)660
3K06(TV Pool) บริษัท ไทยทีวี จำกัด648
4ไม่ผ่านการประมูลบริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
5ไม่ผ่านการประมูล บริษัท เนชัน คิดส์ จำกัด
6ไม่ผ่านการประมูลบริษัท ทรู ดีทีที จำกัด

ใกล้เคียง

โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย โทรทัศน์ โทรทัศน์ในประเทศไทย โทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่น โทรทัศน์ภาคพื้นดิน โทรทัศน์ความละเอียดสูง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/760295 http://www.brandage.com/article/328/TV-Digital- http://www.catdatacom.com/th/site/news/news_detail... http://www.facebook.com/YarmFaoJor/photos/a.187777... http://pantip.com/topic/37966636 http://www.posttoday.com/digital/462374 http://www.prachatai.com/journal/2014/06/53876 http://www.tnamcot.com/view/5aa7b166e3f8e420a34393...