การกำหนดรหัสเรียกเข้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ของ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

  • ในปี พ.ศ. 2529 ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้เริ่มให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ NMT470 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยนั้น ได้กำหนดรหัสสำหรับการเรียกเข้าสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการเฉพาะขึ้น นอกเหนือจากรหัสทางไกลสำหรับโทรไปยังภูมิภาคต่าง ๆ รหัสที่กำหนดคือ 01 ซึ่งผู้ที่ต้องการติดต่อหรือโทรเข้ายังระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องใส่รหัส 01 หน้าเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 7 หลัก ซึ่งใช้สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขององค์การโทรศัพท์และบริษัทผู้รับสัมปทานของทศท. แต่ผู้ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยและบริษัทที่รับสัมปทานของกสท.จะต้องเรียกเลขหมายซึ่งขึ้นต้นด้วย 02 เหมือนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน ต่อมาจึงได้ปรับให้มีการใช้เลขหมาย 01 เช่นกัน
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2544มีการขยายตัวของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นจำนวนมาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้มีการปรับระบบเลขหมายโทรศัพท์ (Numbering Plan) ใหม่ทั้งระบบทั่วประเทศ จากการเรียกเลขหมายในกลุ่มเดียวกันที่ไม่ต้องใช้เลขหมายทางไกล (กลุ่ม) มาเป็นกลุ่มเดียวกันทั้งประเทศ โดยใส่เลขหมายทางไกลยกเว้นเลขศูนย์นำหน้าโทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น เขตนครหลวง รหัสทางไกล 02 และเลขหมาย 7 หลักจาก (02) xxx-xxxx เป็น 2XXX-XXXX กลุ่มภาคกลางเขต 1 รหัสทางไกล 032 และเลขหมาย 6 หลักจาก (032) XXX-XXX เป็น 32XX-XXXX เป็นต้น และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ 01 มาเป็นการเรียก 01 นำหน้าเลขหมาย 7 หลัก มาเป็น 1XXX-XXXX โดยการโทรออกหมายเลขปกติ 8 หลักนี้ให้กด 0 นำหน้า ดังนั้นหมายเลขที่ผู้ใช้ทั่วไปใช้เรียกเพื่อง่ายต่อการเข้าใจคือ 0-1XXX-XXXX

พร้อมกันนี้ก็ได้เพิ่มกลุ่มเลขหมายเคลื่อนที่อีกหนึ่งกลุ่มคือ 09 ซึ่งเลขหมายเป็น 0-9XXX-XXXX แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการเปิดใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงได้มีการเพิ่มกลุ่มเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่ม 06 ซึ่งมีเลขหมายเป็น 0-6XXX-XXXX

  • หลังจากมีการตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ การกำหนดเลขหมายจึงอยู่ในอำนาจของกทช. กทช.จึงได้นำเลขหมายที่ยังไม่เปิดใช้บริการในกลุ่มโทรศัพท์พื้นฐานจากองค์การโทรศัพท์มาจัดสรรให้กับผู้ให้บริการเพื่อออกเลขหมายแก่ผู้ใช้บริการในหลักที่ 3 ของเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานในส่วนภูมิภาค เป็น 0, 1, 3 เช่น 0-30XX-XXXX, 0-33XX-XXXX, 0-40XX-XXXX, 0-41XX-XXXX, 0-46XX-XXXX, 0-47XX-XXXX, 0-48XX-XXXX, 0-49XX-XXXX, 0-50XX-XXXX, 0-51XX-XXXX, 0-70XX-XXXX, 0-71XX-XXXX, 0-72XX-XXXX, 0-78XX-XXXX, 0-79XX-XXXX ซึ่งเป็นเลขหมายที่ยังไม่ได้เปิดใช้ในขณะนั้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้เลขหมายในกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่
  • พ.ศ. 2547 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงได้มีการจัดทำแผนการปรับระบบเลขหมายโทรศัพท์ (Numbering Plan) โดยมีนโยบายเพิ่มหลักในเลขหมาย 1 หลักในเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์ประจำที่ (พื้นฐาน) โดยเพิ่มหลักหลังเลข 0 ด้วย เลข 8 ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งจะได้เป็น 08-XXXX-XXXX และเพิ่มเลข 8 ก่อนเลข 0 ของเลขหมายประจำที่ ซึ่งจะได้เป็น 80-XXXX-XXXX ซึ่งหลักที่ 2-10 ก็จะเป็นเลขหมายเดิมของโทรศัพท์พื้นฐาน ในขณะเดียวกันองค์การโทรศัพท์ (บริษัททีโอที จำกัด มหาชน) จึงได้นำเลขหมายในกลุ่มพื้นฐานที่ยังไม่เปิดใช้ให้แก่ สกทช.ไปจัดสรรเพิ่มเติม ได้แก่ 0-20XX-XXXX, 0-320X-XXXX, 0-328X-XXXX, 0-329X-XXXX, 0-340X-XXXX เป็นต้น ซึ่งก็เป็นการบรรเทาการขาดแคลนเลขหมายโทรคมนาคมเป็นการชั่วคราว
  • พ.ศ. 2549 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจึงได้มีการประกาศขยายเลขหมาย โดยเพิ่มหลักจำนวน 1 หลัก ด้วยเลข 8 หลังเลข 0 จาก 0-XXXX-XXXX เป็น 08-XXXX-XXXX แต่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติก็ไม่ได้เพิ่มหลักในเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ ที่ใช้ระบบชุมสาย (โทรศัพท์พื้นฐาน) ซึ่งไม่มีการเพิ่มหลักในหลักแรกด้วยเลข 8 (80-XXXX-XXXX) แต่อย่างใดตามที่เคยมีประกาศแผนในปี พ.ศ. 2547 จึงมีเลขหมายแหมือนเดิมป็น 0-XXXX-XXXX โดย 0-2XXX-XXXX เป็นเลขหมายในเขตนครหลวง (กรุงเทพมหานคร, จังหวัดสมุทรปราการ, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดปทุมธานี) 0-32XX-XXXX ภาคกลางเขต 1 (จังหวัดราชบุรี, จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น [2]

ใกล้เคียง

โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย โทรศัพท์ฉุกเฉิน โทรศัพท์ โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์อัจฉริยะ การโทรศัพท์ภาพ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย โทรทัศน์