การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ของ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

ยุคแรก 1G

  • ปี พ.ศ. 2529 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้เริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยนำระบบ NMT (Nordic Mobile Telephone System) ซึ่งมีให้บริการในประเทศแถบสแกนดิเนเวียน แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องความถี่ในการนำมาให้บริการจาก ความถี่ 450MHz เป็น 470MHz จึงเป็นที่มาของชื่อระบบ NMT470 ซึ่งนับเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแรกของประเทศไทย ระยะแรกให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมลฑลและจังหวัดชายฝั่งด้านตะวันออก ก่อนขยายบริการไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ลักษณะของเครื่องลูกข่ายของระบบ NMT470 จะมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 1-5 กิโลกรัม ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบมือถือเช่นปัจจุบัน บางครั้งผู้ใช้จึงเรียกว่าโทรศัพท์กระเป๋าหิ้ว
  • ปี พ.ศ. 2530 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้นำระบบ AMPS (Advance Mobile Phone System) ความถี่ 800MHz มาให้บริการ โดยคุณลักษณะเด่นของระบบ AMPS800 คือเครื่องลูกข่ายที่มีขนาดเล็ก สามารถถือไปมาได้โดยสะดวก จึงได้รับความนิยมมากและเป็นที่มาของโทรศัพท์มือถือ ระบบ AMPS800 เริ่มให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ก่อนขยายไปตามหัวเมืองใหญ่ แต่การให้บริการระยะแรกไม่ได้เรียกผ่านรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ (รหัส 01) แต่ต้องทำการเรียกผ่านหมวดเลขหมายของพื้นที่กรุงเทพฯ จึงทำให้ผู้ใช้บริการต้องเสียค่าโทรทั้งการโทรออกและรับสาย [1]

ใกล้เคียง

โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย โทรศัพท์ฉุกเฉิน โทรศัพท์ โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์อัจฉริยะ การโทรศัพท์ภาพ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย โทรทัศน์