การตรวจพบตัวกระตุ้นอันตราย ของ โนซิเซ็ปชัน

โนซิเซ็ปเตอร์ซึ่งเป็นปลายประสาทที่ผิวหนังและภายในร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่นที่เยื่อหุ้มกระดูกหรือข้อต่อ สามารถตรวจจับตัวกระตุ้นเชิงกล เชิงอุณหภูมิ และ/หรือเชิงเคมีได้ความหนาแน่นของโนซิเซ็ปเตอร์จะต่างกันไปทั่วร่างกาย แต่จะมีที่ผิวหนังมากกว่าในที่ลึก ๆ โนซิเซ็ปเตอร์ทั้งหมดเป็นปลายของใยประสาทนำเข้า ซึ่งมีตัวเซลล์อยู่ที่ปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglia) หรือที่ปมประสาทไทรเจมินัล (trigeminal ganglia)

โนซิเซ็ปเตอร์จะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อตัวกระตุ้นถึงระดับขีดเริ่มเปลี่ยนของโนซิเซ็ปเตอร์ แล้วสร้างศักยะงานโดยส่งไปตามแอกซอนของเซลล์ไปยังไขสันหลังหรือก้านสมอง

ในบางเหตุการณ์ โนซิเซ็ปเตอร์จะตอบสนองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ตัวกระตุ้นอันตรายยังคงเป็นไปอยู่ แล้วนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่าภาวะรู้สึกเจ็บมากกว่าปรกติ (hyperalgesia)

แหล่งที่มา

WikiPedia: โนซิเซ็ปชัน http://books.google.ca/books?id=1RGIDl4OP0IC&pg=RA... http://www.abolitionist.com/darwinian-life/inverte... http://findarticles.com/p/articles/mi_qa3987/is_20... http://fermat.nap.edu/books/0309072913/html/23.htm... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12705873 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/13211692 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18583048 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8793740 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8987770 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19350231