ตัวโน้ตที่ใช้เขียน ของ โน้ตดนตรี

ตัวโน้ตหนึ่งตัวที่ใช้สำหรับบันทึกบทเพลงจะมีค่าของโน้ตหนึ่งค่า นั่นคือระยะเวลาในการออกเสียงของตัวโน้ต เช่น ตัวดำ ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น เป็นต้น เมื่อตัวโน้ตต่างๆ ถูกเขียนลงบนบรรทัดห้าเส้น ตัวโน้ตแต่ละตัวจะถูกวางไว้บนตำแหน่งที่แน่นอนตามแนวตั้ง (คาบเส้นบรรทัดหรือระหว่างช่องบรรทัด) และกำหนดระดับเสียงที่แน่นอนด้วยกุญแจประจำหลัก เส้นแต่ละเส้นและช่องว่างแต่ละช่องถูกตั้งชื่อตามเสียงของโน้ต ซึ่งชื่อเหล่านี้เป็นที่จดจำโดยนักดนตรี ทำให้นักดนตรีทราบได้ว่าจุดใดควรจะเล่นเครื่องดนตรีด้วยระดับเสียงใด ตามตำแหน่งหัวของโน้ตบนบรรทัด ตัวอย่างเช่น

บันไดเสียง C major

บรรทัดห้าเส้นด้านบนแสดงให้เห็นถึงเสียงโน้ต C4, D4, E4, F4, G4, A4, B4, C5 ตามตัวโน้ตที่วางอยู่บนตำแหน่งต่างๆ แล้วจากนั้นไล่ระดับเสียงลง โดยไม่มีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงหรือเครื่องหมายแปลงเสียง

ภาพชื่อตัวโน้ตจังหวะ
(ในอัตราจังหวะ 4/4)
โน้ตตัวกลม4 จังหวะ
โน้ตตัวขาว2 จังหวะ
โน้ตตัวดำ1 จังหวะ
โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้นครึ่งจังหวะ

โน้ตตัวกลม ( Whole Note ) 1 ตัว = ตัวขาว 2 ตัว หรือตัวดำ 4 ตัว

โน้ตตัวขาว ( Half Note ) 1 ตัว = ตัวดำ 2 ตัว

โน้ตตัวดำ ( Quarter Note ) 1 ตัว = ตัวเขบ็ต 1 ชั้น 2 ตัว

โน้ตตัวเขบ็ต ( Eight Note ) 1 ตัว = ตัวเขบ็ต 2 ชั้น 2 ตัว