โพลาไรเซชันแบบวงกลม
โพลาไรเซชันแบบวงกลม

โพลาไรเซชันแบบวงกลม

ในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า โพลาไรเซชันแบบวงกลม (polarización circular) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นโพลาไรเซชันที่สนามไฟฟ้าของคลื่นที่แผ่ไปไม่เปลี่ยนความเข้ม แต่จะเปลี่ยนแปลงทิศทางไปในลักษณะการหมุนเท่านั้นในวิชาพลศาสตร์ไฟฟ้า ความแรงและทิศทางของสนามไฟฟ้าจะถูกกำหนดโดยสิ่งที่เรียกว่าเวกเตอร์สนามไฟฟ้า ดังที่เห็นในภาพเคลื่อนไหวประกอบ ในกรณีของคลื่นที่โพลาไรซ์แบบวงกลมนั้น ส่วนปลายของเวกเตอร์สนามไฟฟ้า ณ จุดหนึ่ง ๆ ในปริภูมินั้นบรรยายได้ในลักษณะเป็นวงกลมที่เคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป สนามเวกเตอร์ไฟฟ้าของคลื่นที่เวลาหนึ่ง ๆ จะบรรยายได้เป็นในลักษณะเป็นเกลียวตามทิศทางของการแผ่โพลาไรเซชันแบบวงกลมเป็นกรณีเฉพาะของโพลาไรเซชันแบบวงรีซึ่งเป็นรูปทั่วไปกว่า ส่วนอีกรูปแบบกรณีเฉพาะที่เข้าใจง่ายที่สุดคือโพลาไรเซชันแบบเส้นตรงปรากฏการณ์โพลาไรเซชันเกิดขึ้นจากความจริงที่ว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้ามีพฤติกรรมในแบบคลื่นตามขวางในสองมิติการหมุนของโพลาไรเซชันมีไครัลลิตี อาจหมุนแบบตามเท็มนาฬิกา คือตามกฎมือขวา หรือทวนเข็มนาฬิกา คือตามกฎมือซ้ายชื่อเรียกโพลาไรเซชันในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเส้นตรง วงกลม และวงรี นั้นถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยออกุสแต็ง-ฌ็อง แฟรแนลในปี 1822[1][2]

ใกล้เคียง

โพลาไรเซชัน โพลาไรเซอร์ โพลาไรเซชันแบบเส้นตรง โพลาไรเซชันแบบวงกลม โพลาไรเซชันแบบวงรี โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน โพลีไซทีเมีย เวอรา โพลีไรโบโซม โพลาริส ฮิลด้า โพลาแคนทัส