การรับประทานโพแทสเซียม ของ โพแทสเซียม

  • โพแทสเซียมในรูปแบบอาหารเสริม มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
  • เกลือโพแทสเซียมอินทรีย์ประกอบไปด้วย กลูโคเนต ซิเทรต ฟูเมเรต และเกลือโพแทสเซียมอนินทรีย์ จะประกอบไปด้วย ซัลเฟต คลอไรด์ ออกไซด์ คาร์บอเนต
  • คุณสามารถหาซื้อแบบแยกเป็นโพแทสเซียม ซิเทรต กลูโคเนต คลอไรด์ ได้ในขนาดประมาณ 600 mg. ซึ่งจะมีโพแทสเซียมผสมอยู่ประมาณ 100 mg. โดยรูปแบบที่แนะนำคือ ไกลซิเนตโพแทสเซียมซิเทรต
  • ยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน แต่โดยทั่วไปแล้วขนาดตั้งแต่ 1,600 – 2,000 mg. ต่อวันถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับผู้ใหญ่ผู้ที่สุขภาพแข็งแรง
  • สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
  • สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
  • สำหรับผู้ที่กำลังลดความอ้วนด้วยการรับประทานประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อย จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนล้าหรือตอบสนองช้า
  • หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป

คุณสมบัติทางร่างกายของโพแทสเซียม

โพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด

  • ระดับโพแทสเซียมปกติในเลือด 3.5 – 5.0 mEq/L
  • ระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือดน้อยกว่า 3.5 mEq/L จะทำให้ ซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
  • ระดับโพแทสเซียมสูงในเลือดมากกว่า 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

ระดับโพแทสเซียมในอาหารชนิดต่าง

  • อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง (กลุ่มผักสีเข้ม) ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่าง ๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
  • อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน
  • อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด) ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา

การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ควรปรับการประทานอาหารผัก-ผลไม้

โพแทสเซียมและโซเดียม

  • ในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป
  • ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง

ใกล้เคียง

โพแทสเซียม โพแทสเซียมคลอไรด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ โพแทสเซียมคาร์บอเนต โพแทสเซียมไบทาร์เทรต โพแทสเซียมฟลูออไรด์ โพแทสเซียมเตตระไอโอโดเมอคูเรต(II) โพแทสเซียมไอโอไดด์ โพแทสเซียม โคบอลติไนไตรต์