โฟราลูแมบ

โฟราลูแมบ (อังกฤษ: Foralumab) เป็นสารภูมิต้านทานโมโนโคลนของมนุษย์ทั้งหมดที่จับกับพอลิเพปไทด์ ซีดี3 เอปซิลอน[1] เดิมมีชื่อว่า TZLS-401 ปัจจุบันอยู่ในการพัฒนาทางคลินิกโดยบริษัททิเซียนาไลฟ์ไซเอินซ์ (Tiziana Life Sciences) สำหรับการรักษาโรคโครห์น (Crohn's disease) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) แบบทุติยภูมิ[2][3] และโรคแพ้ภูมิตัวเองอื่น ๆ[4] อย่างไรก็ตาม โฟราลูแมบไม่ได้แสดงประสิทธิภาพในการรักษาโรคโครห์น[5]7 มีนาคม พ.ศ. 2566 มีการเผยแพร่รายงานในวารสารพีเอ็นเอเอส (Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America) ระบุว่าโฟราลูแมบ มีแนวโน้มสามารถรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ได้ โดยคณะนักวิจัยทำการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมด้วยการพ่นยาโฟราลูแมบ ปริมาณ 100 มิลลิกรัม แก่ผู้ป่วยจำนวน 12 รายที่มีอาการของโรคโควิด-19 ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง เป็นเวลา 10 วัน ผลการทดลองผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบลดลงเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการพ่นยา และพบว่าโฟราลูแมบปรับเปลี่ยนยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการตอบสนองของทีเซลล์ รวมทั้งพบการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรมที่คล้ายกับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ที่ได้รับการพ่นยาโฟราลูแมบ[6]

โฟราลูแมบ

ประเภท Whole antibody
ChemSpider
  • none
รหัส ATC
  • none
แหล่งที่มา Human
เลขทะเบียน CAS
เป้าหมาย CD3 epsilon
UNII

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โฟราลูแมบ http://www.tizianalifesciences.com/drug-pipeline/f... http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32585338 http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx... http://doi.org/10.1016%2Fj.phrs.2020.105040 https://multiplesclerosisnewstoday.com/news-posts/... https://practicalneurology.com/news/intranasal-for... https://www.xinhuathai.com/high/343798_20230309 https://fdasis.nlm.nih.gov/srs/srsdirect.jsp?regno... https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32585338 https://www.who.int/medicines/publications/druginf...