โมเลคิวลาร์แกสโตรโนมี
โมเลคิวลาร์แกสโตรโนมี

โมเลคิวลาร์แกสโตรโนมี

ศาสตร์แห่งอาหารการกินเชิงโมเลกุล หรือบางครั้งนิยมเรียกทับศัพท์ โมเลคิวลาร์แกสโตรโนมี[4] หรือ โมเลกูลาร์ แกสทรอโนมี[5] (อังกฤษ: molecular gastronomy) เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การอาหารที่มุ่งค้นคว้าวิจัยการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์และทางเคมีของส่วนผสมที่เกิดขึ้นระหว่างการทำอาหาร แผนงานของศาสตร์นี้ประกอบไปด้วยสามด้านเนื่องจากการทำอาหารได้รับการยอมรับว่ามีองค์ประกอบสามส่วน ได้แก่ สังคม ศิลปะ และเทคนิค[6] อาหารเชิงโมเลกุลเป็นรูปแบบการทำอาหารสมัยใหม่อย่างหนึ่ง และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางเทคนิคมากมายจากวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆศัพท์ Molecular and Physical Gastronomy ("ศาสตร์แห่งอาหารการกินเชิงโมเลกุลและเชิงฟิสิกส์") ได้รับการบัญญัติขึ้นใน พ.ศ. 2531 โดยนิโคลัส เคอร์ตี นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และแอร์เว ติส นักเคมีจากสถาบันวิจัยการเกษตรแห่งชาติฝรั่งเศส[7] ศัพท์นี้แต่เดิมบัญญัติขึ้นเพื่อใช้หมายถึงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของการทำอาหารเท่านั้น[8] แต่ต่อมาหลายคนได้นำไปใช้เรียกวิธีการปรุงอาหารหรืออธิบายรูปแบบของอาหารโดยตรง อย่างไรก็ตาม หัวหน้าคนครัวบางคนที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์นี้ก็ปฏิเสธการใช้ศัพท์ดังกล่าว[9] เช่น ฟาร์รัน อาดริอา หัวหน้าคนครัวชาวกาตาลา ไม่ชอบศัพท์ molecular gastronomy[10] และพอใจที่จะใช้ศัพท์ deconstructivist ("แยกส่วนแล้วประกอบขึ้นใหม่") เพื่ออธิบายรูปแบบการทำอาหารของเขามากกว่า[10]

ใกล้เคียง

โมเลคิวลาร์แกสโตรโนมี โมเลกุลชีวภาพ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง โมเลกุล โอเลครานอน โพรเซส โมเลกุลไฮเพอร์เวเลนต์ โมเลกุลเล็ก โอเลคซันดร์ ซินเชนโค (นักฟุตบอล) โมเลกุลส่งสัญญาณ โมเลกุลขนาดใหญ่

แหล่งที่มา

WikiPedia: โมเลคิวลาร์แกสโตรโนมี http://curiouscook.com/cook/erice.php http://discovermagazine.com/2006/feb/cooking-for-e... http://www.gourmet.com/magazine/2000s/2005/01/herv... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1679779 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17077859 //doi.org/10.1038%2Fsj.embor.7400850 http://members.ift.org/NR/rdonlyres/68CE5983-B1D1-... http://www.khymos.org/eggs.php http://observer.guardian.co.uk/foodmonthly/story/0... http://www.timesonline.co.uk/tol/life_and_style/fo...