ข้อสังเกตย้อนหลัง ของ โยชิโตชิ

"Priest Raigo of Mii Temple" (ค.ศ. 1891) หนึ่งในภาพชุด "ปีศาจ 36 ตน" ที่ออกแบบโดยโยะชิโทะชิ

ในช่วงชีวิตการเขียนโยะชิโทะชิเขียนภาพหลายชุด และบานพับภาพอีกหลายชิ้น ภาพสองชุดในสามชุดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือชุด "ทัศนียภาพ 100 มุมของพระจันทร์" และ ชุด "ปีศาจ 36 ตน" (Shinkei Sanjurokuten) ซึ่งเป็นชุดที่มีงานชิ้นเอกหลายชิ้นรวมอยู่ด้วย ชุดที่สาม "ประเพณีและพฤติกรรม 32 ทัศนะ" ถือกันว่าเป็นงานที่มีฝีมือดีอยู่เป็นเวลานานแต่ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับสองชุดแรก ภาพชุดอื่นๆ ที่มีงานฝีมือดีอยู่บ้างก็ได้แก่ "นายพลคนสำคัญของญี่ปุ่น" และ "ชีวิตของคนสมัยใหม่"

ขณะที่ความต้องการงานพิมพ์ของโยะชิโทะชิยังคงมีอยู่เป็นเวลาหลายปีต่อมา แต่ในที่สุดก็มายุติลงทั้งในญี่ปุ่นและในต่างประเทศทั่วโลก ทัศนคติทั่วไปเกี่ยวกับงานพิมพ์ที่เป็นที่ยึดมั่นกันในยุคนั้นคืองานพิมพ์ของช่างพิมพ์รุ่นเดียวกับฮิโระชิเงะเป็นงานภาพพิมพ์ที่เยี่ยมที่สุดรุ่นสุดท้าย และนักสะสมงานประเภทนี้บางคนถึงกับยุติการสะสมงานตั้งแต่ที่ทำกันก่อนหน้าฮิโระชิเงะ ตั้งแต่สมัยศิลปินอุตะมะโระ และ โทะโยะคุนิ

แต่เมื่อมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก็เริ่มมีการฟื้นฟูความสนใจในงานภาพพิมพ์ของโยะชิโทะชิกันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และมองเห็นกันว่าเป็นงานที่มีคุณภาพ ความเป็นต้นฉบับ และ ความเป็นอัจฉริยะอย่างเด่นที่สุด และคุณค่าของการที่โยะชิโทะชิพยายามรักษาศิลปะการทำภาพพิมพ์แกะไม้ดั้งเดิมของญี่ปุ่นเอาไว้ ขณะที่ผสานความคิดใหม่ๆ จากโลกตะวันตก และ ความคิดสร้างสรรของตนเองเข้ามาในงานเขียน

ใกล้เคียง