ชีวประวัติ ของ โยฮัน_ยาค็อพ_บัลเมอร์

บัลเมอร์เกิดที่เมืองเลาเซิน เป็นลูกชายคนโตของประธานผู้พิพากษา เขาเก่งคณิตศาสตร์ตอนเป็นนักเรียน และในมหาวิทยาลัยก็เรียนเอกคณิตศาสตร์

เขาเข้าศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีคาลส์รูเออ และ มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ในประเทศเยอรมนี และได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยบาเซิล ในปี 1849 จากผลงานเกี่ยวกับไซคลอยด์ เขาน์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในฐานะครูที่โรงเรียนหญิงล้วนในบาเซิล เขายังสอนที่มหาวิทยาลัยบาเซิล ในปี 1868 ขณะอายุได้ 43 ปี เขาแต่งงานกับคริสทีเนอ เพาลีเนอ ริงค์ (Christine Pauline Rinck) ทั้งคู่อยู่กินกันอย่างมีความสุขกับลูก 6 คน

งานวิจัย

แม้ว่าความสำเร็จของบัลเมอร์ในฐานะนักคณิตศาสตร์จะไม่โดดเด่นนัก แต่เขากลายเป็นที่รู้จักในปี 1885 จากสูตรเชิงประจักษ์ที่อธิบายสเปกตรัมของ อะตอมไฮโดรเจน หลังจากวิเคราะห์สเปกตรัมเส้นของอะตอมไฮโดรเจนด้วยวิธีการวัดของอันแดร์ส ยูนัส อ็องสเตริม เขาพบว่าความยาวคลื่นของเส้นเป็นไปตามสูตรดังนี

λ = h m 2 m 2 − n 2 {\displaystyle \lambda ={\frac {hm^{2}}{m^{2}-n^{2}}}}

โดยที่ h = 3.6456×10-7 เมตร, n = 2, m = 3, 4, 5, 6, ... เมื่อตีพิมพ์ในปี 1885 เขาเรียก h ว่า "เลขไฮโดรเจนหลักมูล" จากนั้นบัลเมอร์ก็ใช้สูตรนี้ในการทำนายกรณีที่ m = 7 โดยชี้ให้เห็นว่าอ็องสเตริมได้สังเกตเห็นเส้นความยาวคลื่น 397 นาโนเมตรแล้ว ภายหลังการมีอยู่ของเส้นสเปกตรัมอื่น ๆ ถัดมาในอนุกรมบัลเมอร์ยังได้รับการยืนยันจากเพื่อนร่วมงานของบัลเมอร์สองคนคือ ฮา. เว. โฟเกิล (H. W. Vogel) และ ฮูกกินส์ (Huggins)

สูตรของบัลเมอร์ได้ถูกค้นพบในภายหลังโดยโยฮานเนส รืดแบร์ย ในปี 1890 โดยเห็นได้ชัดว่าเป็นกรณีพิเศษของสูตรของรืดแบร์

1 λ = R H ( 1 n 1 2 − 1 n 2 2 ) {\displaystyle {\frac {1}{\lambda }}=R_{H}\left({\frac {1}{n_{1}^{2}}}-{\frac {1}{n_{2}^{2}}}\right)}

โดยที่ RH คือค่าคงตัวรืดแบร์ย และค่าของ n จะต้องเป็น n 2 > n 1 {\displaystyle n_{2}>n_{1}} โดยเมื่อ n 1 = 2 {\displaystyle n_{1}=2} จะเป็นอนุกรมบัลเมอร์

อย่างไรก็ตาม ในตอนนั้นยังไม่มีใครเข้าใจว่าทำไมสมการถึงออกมาเป็นแบบนี้ จนกระทั่งนิลส์ โปร์ได้คิดค้นแบบจำลองของโปร์ขึ้นมาในปี 1913

บัลเมอร์เสียชีวิตในบาเซิลในปี 1898 ก่อนที่จะได้เห็นความสำเร็จนั้น

ใกล้เคียง

โยฮัน เซบัสทีอัน บัค โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ โยฮัน ไกรฟฟ์ โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ โยฮันเนิส บรามส์ โยฮัน ชเตราส์ (ผู้บุตร) โยฮันเนส เฮเวลิอุส โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ โยฮันเนิส กูเทินแบร์ค โยฮัน ไกรฟฟ์อาเรนา