โยเกิร์ตกรอง
โยเกิร์ตกรอง

โยเกิร์ตกรอง

โยเกิร์ตกรอง (อังกฤษ: strained yogurt), โยเกิร์ตกรีก (Greek yogurt)[2] หรือ ลับนะฮ์ (อาหรับ: لبنة‎) คือนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตที่ถูกกรองเพื่อแยกเอาหางนมออกไป เหลือแต่เนื้อโยเกิร์ตที่เป็นครีมข้นเสมอกัน โดยมีความข้นอยู่ระหว่างโยเกิร์ตทั่วไปกับเนยแข็ง และยังคงลักษณะเด่นคือรสเปรี้ยวไว้ โยเกิร์ตกรองมักทำจากนมที่ได้รับการเสริมคุณค่าด้วยการต้มจนน้ำบางส่วนระเหยไป และ/หรือด้วยการเติมไขมันเนยและนมผงเพิ่มเข้าไป (เช่นเดียวกับนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตอีกหลายชนิด) โปรตีนในโยเกิร์ตกรองโดยหลัก ๆ จะเป็นโปรตีนประเภทเคซีน 100% เนื่องจากโปรตีนหางนมถูกกำจัดออกไปกับหางนมแล้ว[3][4][5][6] และเนื่องจากแล็กโทสบางส่วนจะถูกดึงออกไประหว่างกระบวนการกรองด้วย โยเกิร์ตชนิดนี้จึงมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่านมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตทั่วไป[7]ในยุโรปและอเมริกาเหนือ โยเกิร์ตกรองมักทำจากโยเกิร์ตพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย โดยบ่อยครั้งได้รับการทำตลาดในอเมริกาเหนือในชื่อ "โยเกิร์ตกรีก" แต่ที่จริงแล้ว โยเกิร์ตที่ผลิตในกรีซไม่ใช่โยเกิร์ตกรองเสียทั้งหมด และโยเกิร์ตกรองทั้งหมดก็ไม่ได้ผลิตขึ้นในกรีซเพียงประเทศเดียว ยังมีการผลิตและรับประทานโยเกิร์ตในลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคลิแวนต์, เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง และเอเชียใต้ซึ่งมักจะนำโยเกิร์ตกรองมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร (เนื่องจากโยเกิร์ตชนิดนี้มีปริมาณไขมันมากพอที่จะกันไม่ให้โปรตีนในโยเกิร์ตจับตัวเป็นลิ่มที่อุณหภูมิสูง ๆ) อาหารที่ผสมโยเกิร์ตกรองเหล่านั้นอาจปรุงสุกหรือดิบ และอาจมีรสกลมกล่อมหรือรสหวานก็ได้ในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา โยเกิร์ตกรองเป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อเทียบกับโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวทั่วไป มีรายงานในปี พ.ศ. 2555 ว่า มูลค่าการเติบโตของอุตสาหกรรมนมเปรี้ยวในสหรัฐที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น โดยมากมาจากส่วนตลาดย่อยของโยเกิร์ตชนิดนี้[8][9] ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกายังไม่มีบทนิยามตามกฎหมายสำหรับโยเกิร์ตกรีก และนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตที่ถูกทำให้ข้นด้วยการเติมสารเพิ่มความข้นหนืดก็อาจวางจำหน่ายโดยเรียกว่า "โยเกิร์ตกรีก" ได้เช่นกัน[10] ส่วนในสหราชอาณาจักรนั้น บริษัทนมเปรี้ยวจะจำหน่ายโยเกิร์ตกรองในชื่อ "โยเกิร์ตกรีก" ได้ก็ต่อเมื่อโยเกิร์ตนั้นผลิตในกรีซเท่านั้น ดังนั้น โยเกิร์ตกรองที่ไม่ได้ผลิตในกรีซโดยทั่วไปจึงถูกเรียกว่า "โยเกิร์ตแบบอย่างกรีก" (Greek-style yoghurt)[11] หรือ "สูตรกรีก" (Greek recipe) ด้วยเหตุผลทางการตลาด โดยมีราคาถูกกว่าโยเกิร์ตที่ผลิตในกรีซ และในบรรดา "โยเกิร์ตแบบอย่างกรีก" นั้น ก็ไม่มีการจำแนกความต่างระหว่างโยเกิร์ตที่ข้นเพราะการกรองกับโยเกิร์ตที่ข้นเพราะการเติมสารแต่อย่างใด[12]

โยเกิร์ตกรอง

ภูมิภาค เอเชียตะวันตก, เอเชียกลาง, เอเชียใต้, ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
ประเภท นมเปรี้ยว
ส่วนผสมหลัก นมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต
พลังงาน(ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค) 457 กิโลจูล (109 กิโลแคลอรี) ต่อ 100 กรัม[1] กิโลแคลอรี
ชื่ออื่น ชักกา (เอเชียกลาง), ซุซมา (เอเชียกลาง), ซึซเม (ตุรกี), ลับนะฮ์ (ตะวันออกกลาง), โยเกิร์ตกรีก, โยเกิร์ตแบบอย่างกรีก
แหล่งกำเนิด ตะวันออกกลางหรือเอเชียกลาง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โยเกิร์ตกรอง http://motherjones.com/blue-marble/2010/06/greek-y... http://www.nutritionexpress.com/showarticle.aspx?a... http://www.nytimes.com/2012/01/13/business/demand-... http://www.thekitchn.com/greek-yogurt-wars-high-te... http://online.wsj.com/article/AP7fc6a591c589484595... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC203973... http://www.bailii.org/ew/cases/EWHC/Ch/2013/630.ht... http://ajcn.nutrition.org/content/93/5/997.short http://jap.physiology.org/content/107/3/987 http://www.sutas.com.tr/tr/Sayfa/sutlu-besinler-ka...