ประวัติศาสตร์ ของ โรคคูรู

ในตอนแรกคนฟอร์เชื่อว่าโรคคูรูเกิดจากเวทมนต์อาคมที่สามารถติดต่อได้ คนฟอร์เชื่อว่าโรคนี้เกิดจากภูติผีเพราะอาการสั่นและพฤติกรรมที่แปลกประหลาดที่มากับโรคคูรู ในขณะที่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเชื่อว่าโรคคูรูอาจเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยทางจิต[26][27] อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือโรคคูรูมาจากนกแคสโซแวรี คนฟอร์ใช้วิธีการรักษาโรคนี้โดยให้ผู้ป่วยรับประทานเนื้อหมูและเปลือกไม้ของต้นสน สาเหตุที่แท้จริงของโรคคูรูยังไม่ถูกค้นพบจนกระทั่งแพทย์ชาวอเมริกัน Daniel Carleton Gajdusek ได้ตรวจสอบพฤติกรรมการบริโภคเนื้อมนุษย์และแสดงข้อมูลว่าเป็นสาเหตุของโรคคูรู อย่างไรก็ตามประเพณีการบริโภคเนื้อมนุษย์ไม่ได้ถูกละทิ้งเนื่องจากหลักฐานการเชื่อมโยงของโรคกับประเพณี ถึงแม้ว่าหลักฐานของการเชื่อมโยงนั้นจะยังไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะรัฐบาลออสเตรเลียนั้นเห็นว่าประเพณีกินเนื้อมนุษย์เป็นการกระทำอย่างไร้มนุษยธรรม คนฟอร์จึงได้ละทิ้งประเพณีนี้เมื่อ พ.ศ.2503 เพราะกฎหมายบังคับใช้โดยรัฐบาลออสเตรเลีย ถึงแม้ว่าคนที่ได้รับโรคติดต่อลดลง ผู้ที่อยู่ในการวิจัยทางการแพทย์ยังสามารถที่จะตรวจสอบและค้นคว้าเกี่ยวกับโรคคูรูได้จนนำไปสู่การค้นพบสาเหตุของโรคซึ่งก็คือโปรตีนพรีออน[28]

โรคคูรูได้กล่าวถึงครั้งแรกอย่างเป็นทางการโดยเจ้าหน้าชาวออสเตรเลียที่ลาดตระเวนอยู่เขตภูเขาทางทิศตะวันตกของประเทศปาปัวนิวกินีในช่วงต้นของปี พ.ศ.2493 [29] นอกจากนี้แล้วยังมีการกล่าวถึงโรคนี้แบบไม่เป็นทางการอยู่ในปี พ.ศ. 2453 [6] ในปี พ.ศ. 2494 Arthur Carey เป็นคนแรกที่ใช้ "คูรู" ในการเรียกชื่อโรคนี้ในรายงาน ต่อจากนี้แล้ว Carey ยังได้ระบุลงไปในรายงานว่าประชากรของคนฟอร์ส่วนมากที่ได้รับโรคคูรูเป็นผู้หญิง ต่อมาในปีต่อมาโรคคูรูได้ถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน John McArthur และบันทึกลงเป็นรายงานอยางเป็นทางการ McArthur เชื่อว่าโรคคูรูเป็นโรคปัจจัยทางจิตซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ไสยศาสตร์ของคนในภูมิภาคนั้น[29]

โรคฟอร์ได้ถูกกล่าวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495-96 ว่าเกิดขึ้นในกลุ่มคนฟอร์ คน Yate และ คน Usurufa โดยนักมานุษยวิทยา Ronald Berndt และ Catherine Berndt แต่ทว่าโรคฟอร์ยังไม่ระบาดร้ายแรงเท่าใน พ.ศ. 2500 ซึ่งในขณะเดียวกันที่นักไวรัสวิทยา Daniel Carleton Gajdusek และแพทย์ Vincent Zigas ได้เริ่มทำงานวิจัยเกี่ยวกับโรคคูรู โรคคูรูได้ระบาดร้ายแรงมากในภูมิภาคนั้นจนกระทั้งคนฟอร์ได้ไปขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรีย[6]

แพทย์ชาวอเมริกัน Daniel Carleton Gajdusek ได้ทำงานวิจัยทดลองโรคคูรูกับลิงชิมแปนซีที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) โดยมีเป้าหมายในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของโรคมากขึ้น การทดลองเริ่มจากการนำวัตถุที่ได้รับจากสมองของผู้ป่วยไปยังลิงชิมแปนซี และจึงได้บันทึกพฤติกรรมของสัตว์จนกระทั้งสัตว์นั้นได้เสียชีวิตลงหรือแสดงอาการของโรค[6] ภายในระยะเวลาสองปีลิงชิมแปนซีซึ่งมีชื่อว่าเดซี่ได้เกิดอาการของโรคคูรูขึ้น บ่งบอกว่าโรคคูรูสามารถส่งต่อไปยังบุคคลอื่นด้วยชิ้นส่วนของผู้ติดเชื้อและยังสามารถแพร่กระจายไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยเฉพาะลิง หลังจากที่ Elisabeth Beck ได้ยืนยันว่าการทดลองนี้ได้อธิบายการแพร่กระจายของโรคคูรูเป็นครั้งแรก Gajdusek จึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์[30][6]

ในช่วงช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นปี 1970 E. J. Field ได้สำรวจโรคคูรู[31]และเชื่อมโยงโรคนี้กับโรคสเครปีและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง[32] นอกจากนี้แล้ว Field ยังได้กล่าวถึงถึงความคล้ายคลึงกันของการตบสนองของเซลล์เกลียต่อโรค เช่น การแพร่กระจายของโรคในผู้ติดเชื้ออาจจะขึ้นอยู่กับการจัดการโครงสร้างของโมเลกุลของผู้ติดเชื้อ[33] นี้เป็นข้อสังเกตแรกๆ ที่นำไปสู่สมมุติฐานเกี่ยวกับโปรตีนพรีออน[34]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคคูรู http://www.med.monash.edu.au/news/2009/michael-alp... http://www.health.gov.au/internet/main/publishing.... http://www.emedicine.com/med/topic1248.htm http://www.esquire.com/lifestyle/health/news/a4839... http://emedicine.medscape.com/article/220043-overv... http://www.merriam-webster.com/dictionary/psychoso... http://www.pharmaresearchlibrary.com/wp-content/up... http://raypeat.com/articles/aging/madcow.shtml http://thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0... http://www.tv.com/shows/horizon/kuru-to-tremble-wi...