ประเด็นการแพทย์ ของ โรคถ้ำมอง

นิยาม

โรคถ้ำมอง
Voyeurism
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F65.3
ICD-9302.82

สมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association) ได้จัดหมวดหมู่รูปแบบจินตนาการ ความอยาก และพฤติกรรมแบบถ้ำมองว่าเป็นโรคกามวิปริตในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-IV) ถ้าบุคคลนั้นประพฤติตามความอยาก หรือว่าความอยากและจินตนาการทางเพศเช่นนั้น ทำให้เกิดความทุกข์และความขัดข้องในความสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างสำคัญ[7]ในคู่มือสากลคือ ICD-10 นี้จัดเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับความชอบใจทางเพศ (disorder of sexual preference)[8]DSM-IV นิยาม voyeurism ว่าเป็นการดู "คนที่ไม่สงสัย ปกติเป็นคนแปลกหน้า ที่เปลือย หรือกำลังถอดเสื้อผ้า หรือกำลังมีกิจกรรมทางเพศ"[9]แต่ว่าการวินิจฉัยเช่นนี้ จะไม่ให้ต่อบุคคลที่เกิดอารมณ์ทางเพศปกติ โดยเพียงแต่เห็นความเปลือยหรือกิจกรรมทางเพศเท่านั้นคือ จะได้วินิจฉัยเช่นนี้ อาการดังกล่าวต้องเกิดเป็นเวลากว่า 6 เดือน และบุคคลนั้นต้องมีอายุเกินกว่า 18 ปี[10]

มุมมองประวัติศาสตร์

มีงานวิจัยน้อยมากเกี่ยวกับความชอบแอบดู งานปริทัศน์ทบทวนวรรณกรรมในปี 1976 พบสิ่งที่ตีพิมพ์เพียงแค่ 15 งาน[11]แม้ว่าจะมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นหลังจากนั้น แต่ว่าก็ยังมีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับประเด็นนี้ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกใจ ถ้าพิจารณาถึงการเพิ่มการใช้คำภาษาอังกฤษว่า voyeur (คนแอบดู) และพิจารณาขนาดกลุ่มคนที่อาจจะทำอะไรเช่นนี้ตามประวัติแล้ว คำนี้ ใช้โดยเฉพาะต่อคนที่เข้ากับคำพรรณนาของ DSMแต่ว่าภายหลัง สังคมก็ได้ยอมรับการใช้คำนี้โดยหมายถึงใครก็ได้ที่ดูชีวิตส่วนตัวของคนอื่น แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเพศ[12]เช่น คำนี้ได้ใช้โดยเฉพาะกับรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีโชว์และสื่ออื่น ๆ ที่ให้โอกาสดูชีวิตของคนอื่นได้นี่เป็นการเปลี่ยนการใช้คำที่หมายถึงกลุ่มประชากรที่จำเพาะโดยมีรายละเอียดที่จำเพาะ ไปหมายถึงประชากรทั่วไปโดยมีความหมายคลุมเครือ

ทฤษฎีที่มีน้อยนิดเกี่ยวกับเหตุของความชอบแบบนี้มาจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ซึ่งเสนอว่า ความชอบแอบดูมีเหตุจากความล้มเหลวในช่วงวัยเด็กที่จะยอมรับความวิตกกังวลในการสูญเสียความเป็นชาย (castration anxiety) และดังนั้นโดยผลที่สืบเนื่องกัน จึงมีเหตุจากความล้มเหลวที่จะพยายามเป็นเหมือนกับพ่อ[9] (คือถ้าเด็ก "ยอมรับความวิตกกังวล" ก็จะพยายามเลิกความรู้สึกทางเพศที่มีต่อแม่ แล้วใช้พ่อเป็นตัวอย่างทำตามให้เป็นเหมือนพ่อ)

ความชุก

การแอบดูมีความชุกสูงในกลุ่มประชากรที่ศึกษาโดยมากแม้ว่าตอนแรกจะเชื่อว่า มีจำกัดเพียงแค่ชนกลุ่มน้อยในประชากรทั้งหมดแต่ความคิดนี้เปลี่ยนไปหลังจากนักเพศวิทยาคนดัง ศ.ดร.แอลเฟร็ด คินซีย์ ค้นพบว่า 30% ของชายชอบใจการร่วมเพศโดยเปิดไฟ[9]แม้ว่าพฤติกรรมนี้จะไม่ได้พิจารณาว่าเป็นการแอบดูโดยมาตรฐานการวินิจฉัยปัจจุบัน แต่ในสมัยนั้น ความประพฤติที่ปกติและที่ผิดปกติยังไม่ได้จำแนก

งานวิจัยต่อ ๆ มาแสดงว่า ชาย 65% เคยแอบดู ซึ่งแสดงนัยว่า พฤติกรรมนี้แพร่กระจายไปทั่วในกลุ่มประชากรทั่วไป[9]และโดยเข้ากับผลที่พบนี้ มีงานวิจัยที่พบว่า การแอบดูเป็นพฤติกรรมทางเพศผิดกฎหมายที่สามัญที่สุดทั้งในกลุ่มคนไข้และกลุ่มประชากรทั่วไป[13]และพบด้วยว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยชาย 42% ที่ไม่เคยถูกตัดสินว่าผิดในอาชญากรรมเคยแอบดูคนอื่นในสถานการณ์ที่เกี่ยวกับเพศส่วนงานวิจัยก่อนหน้านั้นแสดงว่า ชาย 54% มีจินตนาการเกี่ยวกับการแอบดู และ 42% ได้เคยแอบดูแล้วจริง ๆ[14]

งานวิจัยระดับชาติปี 2006 ของประเทศสวีเดนพบว่า กลุ่มประชากรทั้งชายหญิงในอัตรา 7.7% เคยแอบดู[15]นอกจากนั้นแล้ว ยังเชื่อกันว่า การแอบดูเกิดขึ้นประมาณ 150 เท่าของที่มีรายงานทางตำรวจ[15]งานวิจัยปี 2006 นี้ แสดงด้วยว่าการแอบดูเกิดร่วมกับการแสดงอนาจาร (exhibitionism) ในระดับสูงคือพบว่า คนที่แอบดู 63% รายงานว่าได้แสดงอนาจารด้วย[15]

ลักษณะของคนแอบดู

เนื่องจากความชุกสูงของการแอบดูในสังคม คนที่แอบดูจึงมีความต่าง ๆ กันมากแต่ว่า ก็ยังมีแนวโน้มว่าใครมีโอกาสที่จะแอบดูสูงกว่าแต่ว่า สถิติเหล่านี้ใช้กับคนที่ผ่านเกณฑ์ของ DSM ไม่ใช่กับคนในแนวคิดปัจจุบันที่กล่าวไว้ก่อนแล้ว

งานวิจัยเบื้องต้นแสดงว่า คนแอบดูมีสุขภาพจิตดีกว่าคนโรคกามวิปริตอื่น ๆ[11]คือเทียบกับกลุ่มอื่นที่ศึกษาแล้ว คนแอบดูมีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นคนติดเหล้าหรือยาเสพติดงานวิจัยต่อจากนั้นแสดงว่า เทียบกับคนประชากรทั่วไป (ไม่ใช่คนมีโรคกามวิปริต) คนแอบดูมีโอกาสที่จะมีปัญหาทางจิต ดื่มเหล้าและใช้ยาเสพติด และมีความต้องการทางเพศสูงกว่าโดยทั่วไป[15]งานวิจัยนี้ยังแสดงด้วยว่า คนแอบดูมีคู่นอนมากกว่าเทียบต่อปี และมีโอกาสที่จะมีคู่เพศเดียวกันสูงกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป[15]

ทั้งงานวิจัยก่อน ๆ และต่อ ๆ มาพบว่า คนแอบดูมักจะร่วมเพศเป็นครั้งแรกโดยมีอายุมากกว่า[11][15]แต่งานวิจัยอื่น ๆ กลับพบว่า คนแอบดูไม่มีประวัติทางเพศที่แตกต่างจากคนอื่น ๆ[14]คนแอบดูที่ไม่ได้เป็นผู้แสดงอนาจารด้วย มักจะมีฐานะทางสังคมเศรษฐกิจที่สูงกว่าคนที่แสดงอนาจาร[15]

งานวิจัยแสดงว่า โดยเหมือนกับโรคกามวิปริตอื่น ๆ การแอบดูสามัญในชายมากกว่าในหญิง[15]แต่ก็มีงานวิจัยที่พบว่า ทั้งชายและหญิงรายงานว่าตนมีโอกาสที่จะแอบดูพอ ๆ กัน[16]แต่ความแตกต่างระหว่างเพศจะสูงกว่าถ้าให้โอกาสการแอบดูจริง ๆถึงกระนั้น โดยเปรียบเทียบแล้ว มีงานวิจัยน้อยมากในเรื่องการแอบดูในผู้หญิง จึงมีข้อมูลน้อยมากและกรณีศึกษาหนึ่งจากบรรดางานศึกษาที่น้อยนิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับหญิงที่เป็นโรคจิตเภทด้วยซึ่งจำกัดการแสดงนัยทั่วไปในกลุ่มประชากรทั่วไป[17]

มุมมองปัจจุบัน

ทฤษฎี Lovemap เสนอว่า การแอบดูมีอยู่ เพราะการดูคนอื่นเปลือยกายได้เปลี่ยนจากพฤติกรรมทางเพศขั้นทุติยภูมิ มาเป็นพฤติกรรมทางเพศแบบปฐมภูมิ[16]ซึ่งเป็นการแทนที่ความต้องการทางเพศ ทำให้การแอบดูคนอื่นกลายเป็นวิธีหลักในการได้ความพอใจทางเพศ

นอกจากนั้นแล้ว การแอบดูยังสัมพันธ์กับความผิดปกติแบบย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder ตัวย่อ OCD) และเมื่อใช้วิธีการรักษาเดียวกับ OCD พฤติกรรมแอบดูจะลดลงได้อย่างสำคัญ[18]

การบำบัดรักษา

โดยประวัติแล้ว มีการบำบัดการแอบดูหลายวิธีรวมทั้ง จิตวิเคราะห์ จิตบำบัดกลุ่ม (group psychotherapy) และ aversion therapy ซึ่งล้วนแต่มีผลสำเร็จที่จำกัด[11]มีหลักฐานด้วยว่า สื่อลามกอนาจารสามารถใช้ช่วยบำบัดการแอบดูโดยเป็นหลักฐานสำหรับไอเดียว่า ประเทศที่มีการตรวจพิจารณาสื่อลามกอนาจารมีระดับการแอบดูสูง[19]นอกจากนั้นแล้ว การเปลี่ยนการแอบดู ไปเป็นการดูสื่อลามกอนาจารที่โจ่งแจ้ง คือดูรูปเปลือยในนิตยสารเพลย์บอย ได้ใช้เป็นการบำบัดอย่างสำเร็จผลมาแล้ว[20]งานวิจัยเหล่านี้แสดงว่า สื่อลามกอนาจารสามารถใช้เป็นตัวสนองความต้องการจะแอบดูโดยไม่ต้องทำผิดกฎหมาย

การแอบดูยังบำบัดได้ด้วยยาระงับอาการทางจิตและยาแก้ซึมเศร้าแบบต่าง ๆแต่ว่า กรณีศึกษาที่แสดงผลเช่นนี้ มีตัวอย่างเป็นคนไข้ที่มีปัญหาทางจิตอย่างอื่นหลายอย่างและดังนั้น การรักษาด้วยการใช้ยาอย่างเข้มอาจจะไม่จำเป็นสำหรับคนแอบดูโดยมาก[21]

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีผลสำเร็จในการรักษาการชอบแอบดูโดยใช้วิธีบำบัดความผิดปกติแบบย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder)และมีตัวอย่างการให้ยาฟลูอ็อกเซทีน แก่คนไข้แล้วบำบัดพฤติกรรมการแอบดูเหมือนกับพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ[12][18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคถ้ำมอง http://laws-lois.justice.gc.ca/eng/acts/C-46/page-... http://www.behavenet.com/capsules/disorders/voyeur... http://www.cnn.com/2008/WORLD/europe/04/16/camera.... http://www.i4u.com/article15314.html http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=302.... http://psychcentral.com/disorders/voyeurism-sympto... http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply... http://www.straitstimes.com/singapore/courts-crime... http://definitions.uslegal.com/i/invasion-of-priva... http://www.washtimes.com/news/2009/aug/18/the-rise...