การป้องกันและการรักษา ของ โรคพยาธิกีเนีย

การป้องกันคือการวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่นๆ และจากนั้นจึงป้องกันโดยอย่าให้ผู้ติดเชื้อแช่แผลในน้ำที่ใช้ดื่ม[1] การป้องกันวิธีอื่นๆ ได้แก่: การจัดหาแหล่งน้ำสะอาดหรือการกรองน้ำถ้าน้ำนั้นไม่สะอาด[1] การกรองน้ำด้วยผ้าก็มักเพียงพอแล้ว[3] การแก้ไขน้ำดื่มที่ปนเปื้อนก็อาจจะทำได้โดยใส่สารเคมีที่ชื่อว่า เทเมฟอส เพื่อฆ่าตัวอ่อน[1] โรคนี้ไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน [1] พยาธิอาจจะถูกกำจัดออกจากร่ายกายได้อย่างช้าๆ โดยการใช้ก้านไม้ม้วนตัวพยาธิแล้วค่อยๆ ดึงออกมา ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์[2] แผลจะเกิดจากการที่พยาธิโผล่ตัวออกมาซึ่งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย[2] ความเจ็บปวดอาจจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากที่พยาธิถูกกำจัดแล้ว[2]

ใกล้เคียง

โรคพยาธิแส้ม้า โรคพยาธิไส้เดือน โรคพยาธิกีเนีย โรคพยาธิใบไม้ในเลือด โรคพยาธิตาบอด โรคพยาธิหอยโข่ง โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศิริราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคพยาธิกีเนีย http://books.google.ca/books?id=CF2INI0O6l0C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=GTjRAQAAQBAJ&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=GTjRAQAAQBAJ&pg=RA... http://www.diseasesdatabase.com/ddb3945.htm http://www.emedicine.com/ped/topic616.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=125.... http://www.cdc.gov/globalhealth/ntd/diseases/index... http://www.cdc.gov/parasites/guineaworm/gwep.html //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC332717 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14970098