ข้อมูลทางระบาดวิทยาและประวัติ ของ โรคพยาธิกีเนีย

ในปี 2556 มีการรายงานเกี่ยวกับโรคนี้จำนวน 148 ราย[1] ซึ่งลดลงจากจำนวน 3.5 ล้านรายในปี 2529[2] โรคนี้ยังคงมีอยู่เฉพาะใน 4 ประเทศของแอฟริกาจากจำนวน 20 ประเทศในระหว่างปี 2523-2533[1] ประเทศที่มีจำนวนการติดเชื้อสูงสุดคือ ซูดานใต้[1] มีแนวโน้มว่าพยาธิชนิดนี้อาจจะเป็น พยาธิก่อโรค ชนิดแรกที่จะถูกกำจัดให้หมดสิ้น[7] พยาธิกีเนียเป็นพยาธิที่รู้จักกันมาตั้งแต่ยุคโบราณ[2] มันถูกกล่าวถึงในประวัติทางการแพทย์ของอียิปต์ ปาปิรุสเอแบส เมื่อประมาณ 1550 ปี ก่อนคริสต์ศักราช[8] ชื่อ dracunculiasis นี้ผันมาจาก ละติน ที่แปลว่า "ความเจ็บปวดจากมังกรตัวน้อย"[9] ในขณะที่ชื่อ "พยาธิกีเนีย" เกิดขึ้นหลังจากที่ชาวยุโรปพบเห็นโรคที่ชายฝั่งของประเทศ กินี ของ แอฟริกาตะวันตก ในศตวรรษที่ 17[8] พยาธิที่เป็นสาเหตุของโรคในสัตว์อื่นๆ มีสายพันธ์ที่คล้ายคลึงกับพยาธิกีเนีย[10] ซึ่งพยาธิเหล่านี้ไม่พบว่ามีการติดเชื้อในมนุษย์[10] โรคนี้ถูกจัดว่าเป็น โรคเขตร้อนที่ถูกละเลย[11]

ใกล้เคียง

โรคพยาธิแส้ม้า โรคพยาธิไส้เดือน โรคพยาธิกีเนีย โรคพยาธิใบไม้ในเลือด โรคพยาธิตาบอด โรคพยาธิหอยโข่ง โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศิริราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคพยาธิกีเนีย http://books.google.ca/books?id=CF2INI0O6l0C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=GTjRAQAAQBAJ&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=GTjRAQAAQBAJ&pg=RA... http://www.diseasesdatabase.com/ddb3945.htm http://www.emedicine.com/ped/topic616.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=125.... http://www.cdc.gov/globalhealth/ntd/diseases/index... http://www.cdc.gov/parasites/guineaworm/gwep.html //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC332717 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14970098