โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง
โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง

โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง

โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง เป็นโรคระบบประสาทเสื่อมชนิดหนึ่ง สัมพันธ์กับการได้รับการกระทบกระแทกที่ศีรษะซ้ำๆ อาการของโรคสมองที่พบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ ได้แก่ ปัญหาด้านพฤติกรรม ปัญหาด้านอารมณ์ และปัญหาด้านสติปัญญา เป็นต้น[1][2] อาการเหล่านี้อาจเป็นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นภาวะสมองเสื่อม[2] ยังไม่มีข้อสรุปว่าภาวะนี้สัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายหรือไม่[1]ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาที่เล่นกีฬาที่เป็นการต่อสู้ที่มีการกระทบกระแทกรุนแรง เช่น มวยสากล, มวยเตะ (คิกบ็อกซิ่ง), ศิลปะการต่อสู้แบบผสม, มวยไทย เป็นต้น จึงมีชื่อเดิมว่าโรคสมองเสื่อมในนักมวย (dementia pugillistica) นอกจากนี้ยังพบได้ในกีฬาที่มีการปะทะ เช่น อเมริกันฟุตบอล, ออสเตรเลี่ยน รูลส์ ฟุตบอล, มวยปล้ำ, ฮอกกี้น้ำแข็ง, รักบี้, ฟุตบอลสมาคม[1][4] และกีฬากึ่งปะทะ เช่น เบสบอล อีกด้วย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ เป็นทหาร, มีประวัติความรุนแรงในครอบครัว, และการกระแทกซ้ำๆ ที่ศีรษะ[1] จำนวนครั้งของการกระทบกระแทกที่จะทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด การวินิจฉัยยืนยันยังคงอาศัยการชันสูตรศพ[1] โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคความผิดปกติของโปรตีนเทา[1]ยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคนี้[3] ในกลุ่มผู้ที่มีประวัติบาดเจ็บที่ศีรษะบ่อยครั้งจะพบเป็นโรคนี้ประมาณ 30%[1] ส่วนความชุกในประชากรทั่วไปยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เริ่มมีการศึกษาถึงการบาดเจ็บต่อสมองในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะบ่อยครั้งตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษ 1920 ซึ่งโรคนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ dementia pugillistica หรือ กลุ่มอาการเมาหมัด[1][3] มีการเสนอให้กีฬาบางชนิดปรับปรุงกติกาการแข่งขันเพื่อป้องกันภาวะนี้[1]

โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง

อาการ Behavioral problems, mood problems, problems with thinking[1]
สาขาวิชา ประสาทวิทยา, จิตเวชศาสตร์, เวชศาสตร์การกีฬา
ความชุก Uncertain[2]
สาเหตุ Repeated head injuries[1]
วิธีวินิจฉัย Autopsy[1]
ปัจจัยเสี่ยง Contact sports, military, domestic abuse, repeated banging of the head[1]
ภาวะแทรกซ้อน Brain damage, dementia,[2] aggression, depression, suicide[3]
การรักษา Supportive care[3]
ชื่ออื่น Traumatic encephalopathy syndrome, dementia pugilistica,[1] punch drunk syndrome
การตั้งต้น Years after initial injuries[2]
โรคอื่นที่คล้ายกัน Alzheimer's disease, Parkinson's disease[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคสมองจากการบาดเจ็บเรื้อรัง //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24423082 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25671598 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28975240 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3979082 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4324991 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.alz.org/dementia/chronic-traumatic-ence... //doi.org/10.1001%2Fjamaneurol.2017.2396 //doi.org/10.1186%2Falzrt234 //doi.org/10.1371%2Fjournal.pone.0117338