โรคลมชัก
โรคลมชัก

โรคลมชัก

โรคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู (อังกฤษ: epilepsy มีรากศัพท์จากกรีกโบราณ: ἐπιλαμβάνειν หมายถึง ยึด ครอบครอง หรือ ทำให้เจ็บป่วย[1]) เป็นกลุ่มโรคทางประสาทวิทยาซึ่งถูกจำกัดความโดยอาการชักอันมีต้นเหตุจากการทำงานอย่างสอดคล้องกันมากเกินไปของเซลล์ประสาท[2][3] ระยะเวลาและความรุนแรงของโรคลมชักสามารถมีได้ตั้งแต่แบบสั้นๆและแทบไม่มีอาการ ไปจนถึงอาการสั่นอย่างรุนแรงเป็นเวลานานๆ[4] อาการชักดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายเช่น กระดูกหัก[4] ลักษณะสำคัญของโรคลมชักคืออาการชักจะเกิดขึ้นซ้ำๆโดยไม่มีสิ่งเร้าหรือกระตุ้น[2] อาการชักซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าอย่างใดหนึ่งอย่างชัดเจน (เช่น ภาวะขาดเหล้า) จะไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก[5] ผู้ป่วยโรคลมชักในบางประเทศมักถูกตีตราจากสังคมเนื่องจากอาการที่แสดงออกมา[4]โรคลมชักในผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด[4] อย่างไรก็ดีโรคลมชักสามารถเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บทางสมอง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีเนื้องอกในสมอง หรือ ได้รับการติดเชื้อทางสมอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า อิพิเลปโตเจเนซิส[4][6][7] ความผิดปกติของพันธุกรรมมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคลมชักในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย[8][9] การชักจากโรคลมชักเป็นผลจากการทำงานที่ผิดปกติหรือมากเกินไปของเซลล์เปลือกสมอง[5] การวินิจฉัยมักจะทำโดยการตัดภาวะอื่นๆซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันออกไปก่อน เช่น เป็นลม นอกจากนี้การวินิจฉัยยังรวมไปถึงการพิจารณาว่ามีสาเหตุอื่นๆของการชักหรือไม่ เช่น การขาดแอลกอฮอล์ หรือ ความผิดปกติของปริมาณอิเล็กโตรไลต์ในเลือด ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสมองผ่านการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และ การตรวจเลือด บ่อยครั้งโรคลมชักสามารถได้รับการยืนยันด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง แต่ผลการตรวจที่ปกติก็ไม่ได้ทำให้แพทย์สามารถตัดโรคดังกล่าวออกไปได้[8]ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยยา[10] ซึ่งบ่อยครั้งตัวเลือกที่ให้ผลการควบคุมอาการดีมีราคาถูก[4] ในกรณีที่อาการชักของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาการผ่าตัด การกระตุ้นระบบประสาท และ การเปลี่ยนอาหารได้เป็นกรณีไป[11][12] โรคลมชักมิได้คงอยู่ตลอดไปในผู้ป่วยทุกราย มีผุ้ป่วยหลายรายที่อาการดีขึ้นจนถึงขั้นไม่ต้องใช้ยา[4]ข้อมูลในปี ค.ศ. 2015 ชี้ให้เห็นว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 39 ล้านคน[13] และเกือบ 80% ของผู้ป่วยอาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา[4] ในปี ค.ศ. 2015 โรคลมชักส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 125,000 คนโดยเพิ่มขึ้นจาก 112,000 คนในปี ค.ศ. 1990[14][15] โรคลมชักพบบ่อยขึ้นตามอายุ[16][17] ในประเทศที่พัฒนาแล้วผู้ป่วยรายใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กทารกและผู้สูงอายุ[18] ขณะที่ผู้ป่วยรายใหม่ส่วนใหญ่ของประเทศที่กำลังพัฒนามักจะเป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ตอนต้น ต้นเหตุของความแตกต่างนี้มาจากปริมาณความชุกของสาเหตุของโรคที่แตกต่างกัน[19] ประมาณ 5–10% ของประชากรทั้งหมดจะมีการชักที่เกิดจากการทำงานของร่างกายหรือภาวะโดยกำเนิด (unprovoked seizure) ก่อนอายุ 80 ปี[20] และโอกาสเกิดการชักครั้งที่สองอยู่ระหว่าง 40 ถึง 50%[21] ในหลายพื้นที่ของโลกผู้ที่เป็นโรคลมชักมักจะได้รับการจำกัดความสามารถในการขับขี่หรือไม่ได้รับอนุญาตให้ขับยานพาหนะ แต่ส่วนใหญ่จะสามารถกลับไปขับขี่ได้หากผ่านช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่มีอาการชักเลย[22]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคลมชัก http://www.tc.gc.ca/eng/civilaviation/publications... http://books.google.ca/books?id=4W7UI-FPZmoC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=6Kq4Zt2KOpcC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=BUs-AYMBbC0C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=BbeWA-gbiiwC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=K-1UqhH2BtoC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=a6Ygv5_RKKsC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=gLOv8XZ5u48C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=mY-6eweiQm8C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=yJQQzPTcbYIC&pg=PA...