การวิจัย ของ โรคหวัด

มีการทดสอบประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสกับโรคหวัด อย่างไรก็ดี จนถึงปี 2552 ไม่มียาตัวใดที่ทั้งพบว่ามีประสิทธิภาพและได้รับอนุญาตให้ใช้[63] ปัจจุบันกำลังมีการทดสอบยาต้านไวรัสพลีโคนาริล ซึ่งค่อนข้างประสบความสำเร็จต่อพิคอร์นาไวรัส เช่นเดียวกับการทดสอบ BTA-798[84] พลีโคนาริลแบบรับประทานมีปัญหาด้านความปลอดภัย และแบบละอองลอยกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา[84]

ดราโค (DRACO) ยาต้านรีโทรไวรัสที่มีขอบเขตในการออกฤทธิ์กว้าง ที่กำลังพัฒนาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ แสดงประสิทธิภาพเบื้องต้นในการรักษาไรโนไวรัส เช่นเดียวกับไวรัสติดต่ออื่นอีกจำนวนหนึ่ง[85][86]

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ได้ทำแผนที่จีโนมไวรัสทุกสายพันธุ์เท่าที่ทราบว่าก่อโรคหวัด[87]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคหวัด http://www.cfp.ca/content/55/11/1081.full.pdf http://books.google.ca/books?id=AltZnmbIhbwC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=OgbcUWpUCXsC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=aVmRWrknaWgC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=rRIdiGE42IEC&pg=PA... http://www.cnn.com/2009/HEALTH/02/12/cold.genome/ http://www.diseasesdatabase.com/ddb31088.htm http://www.etymonline.com/index.php?term=cold http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=460 http://www.mayoclinic.com/health/common-cold/DS000...