พยาธิสรีรวิทยา ของ โรคหวัด

โรคหวัดเป็นโรคของทางเดินหายใจส่วนบน

อาการของโรคหวัดเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันสนองต่อไวรัสเป็นหลัก[36] กลไกการตอบสนองของภูมิคุ้มกันนี้จำเพาะต่อไวรัส ตัวอย่างเช่น ไรโนไวรัสติดต่อผ่านการสัมผัส ตัวเชื้อจะจับกับ ICAM-1 รีเซพเตอร์ของผู้ป่วย (ผ่านกลไกที่ยังไม่ทราบแน่ชัด) แล้วกระตุ้นการปลดปล่อยสารตัวกลางการอักเสบ (inflammatory mediators)[36] จากนั้น สารตัวกลางการอักเสบเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการ[36] โดยตัวไวรัสมิได้ก่อความเสียหายแก่เยื่อบุจมูกแต่อย่างใด[3] ตรงข้ามกับไวรัสเรสไพราทอรีซินไซเตียล (RSV) ซึ่งติดต่อทั้งผ่านการสัมผัสโดยตรงและละอองจากอากาศ ไวรัสจะแบ่งตัวในจมูกและลำคอก่อนจะแพร่กระจายลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง[37] และทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อเซลล์เยื่อบุ[37] ไวรัสพาราอินฟลูเอนซาส่งผลให้เกิดการอักเสบในจมูก ลำคอและหลอดลม[38] หากเด็กเล็กติดเชื้อเกิดท่อลม (trachea) อักเสบอาจทำให้เกิดอาการของโรคกล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (croup) ได้ เพราะทางเดินหายใจมีขนาดเล็ก[38]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคหวัด http://www.cfp.ca/content/55/11/1081.full.pdf http://books.google.ca/books?id=AltZnmbIhbwC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=OgbcUWpUCXsC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=aVmRWrknaWgC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=rRIdiGE42IEC&pg=PA... http://www.cnn.com/2009/HEALTH/02/12/cold.genome/ http://www.diseasesdatabase.com/ddb31088.htm http://www.etymonline.com/index.php?term=cold http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=460 http://www.mayoclinic.com/health/common-cold/DS000...