โรคออทิซึมในประเทศไทย ของ โรคออทิซึม

ในประเทศไทย โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ได้ร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการศึกษาแบบเรียนร่วมกับคนพิการหูหนวกในชั้นอนุบาลทีโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ต่อมา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้จัดการศึกษาแบบเรียนร่วมกับบุคคลที่ไม่ได้เป็นโรค ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ 2533 โดยรับนักเรียนที่จบชั้นอนุบาลมาจากโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ภายหลังที่มีบุคคลที่เป็นโรคออทิซึมเรียนจบ ได้เข้าศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางส่วน เรียน หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อเรียนจบ ปรากฏว่าบุคคลที่เป็นโรคออทิซึมนั้น ตกงาน ส่งผลให้ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ และ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ต้องจ้างเข้าทำงาน

โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ยังจัดให้มีโครงการฝึกอาชีพเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้บุคคลออทิสติกได้มีโอากาสในการทำงานกับบริษัทต่าง ๆ[13] แต่อัตราจ้างงานต่ำทั้งนี้ยังไม่มีผลสำรวจถึงการไล่ออกจากงานในกลุ่มคนที่เป็นออทิสติก หรือนายจ้างไม่พอใจผลการทำงานในคนกลุ่มนี้

ด้านชีวิตครอบครัวบุคคลที่เป็นโรคออทิซึมที่จบการศึกษาจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา นั้น ไม่มีใครแต่งงานหรือสมรสแม้แต่รายเดียว บุคคลจากโครงการดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับจากเพศตรงข้าม และ ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการหาคู่สมรสแม้ตนเองมาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย

นอกจากนั้นบุคคลจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ที่เป็นโรคเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงทางทรัพย์สินจากคนรักของตนเอง รวมทั้งเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงทางทรัพย์สินจากเพื่อนที่คนที่ตนเองไว้ใจ เพื่อเป็นการป้องกันการหลอกลวงดังกล่าวผู้ปกครองบางราย อาทิ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงเลือกวิธีทางกฎหมายโดยฟ้องร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้บุตรเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้บุตรจ่ายเงินให้กับคนรัก เพื่อนหรือแม้แต่คนที่ตนเองไว้ใจ ในจำนวนที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากกฎหมายได้ห้ามการให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ตามฐานานุรูปบุคคลที่ใช้วิธีนี้ นอกจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอีกหลายราย อาทิ ร้อยตำรวจโท สมพงษ์ กัณหารี[14]

ด้านการหางานทำนั้นพบว่าส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลวจนต้องให้สถานที่ที่บุคคลเหล่านั้นเคยได้รับการศึกษา หรือ ได้รับการรักษาพยาบาลเป็นคนจ้างเข้าทำงาน

ในประเทศไทยยังพบกรณีของการฆ่าลูกตัวเองที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม[15] พบกรณีพี่สาวพาแฟนพี่สาวมาข่มขืน[16]รวมทั้งกรณีพ่อเลี้ยง น้าชายและเพื่อนบ้าน ข่มขืน[17][18] การกลั่นแกล้งด้วยข่าวลืออันเป็นเท็จเพื่อจงใจใส่ร้ายป้ายสีบุคคลที่เป็นโรคออทิซึม แม้แต่การทำร้ายร่างกายอย่างเปิดเผยภายในโรงเรียน[19]

พ่อแม่ที่มีลูกเป็นโรคออทิซึม มักถูกหลอกเพื่อให้เสียทรัพย์โดยการอ้างว่าสามารถรักษาหรือช่วยเหลือลูกตัวเองได้ การรักษาบางอย่าง เช่นการรักษาด้วย ไฮเปอร์แบริค (HBO) รักษาด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% การฝังเข็ม ไม่เป็นที่พิสูจน์ ในขณะที่บุคคลที่เป็นโรคออทิซึม นั้นได้รับการกล่าวหาว่าเป็นอภิสิทธิ์ชนที่คนอื่นไม่สามารถว่าอะไรได้มากนักในกรณีทำผิดร้ายแรงเช่นขับรถชนคนเสียชีวิต[20] เป็นบุคคลที่ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคมหรือเป็นภาระต่อสังคม บุคคลที่เป็นโรคดังกล่าวมักได้รับคำพูดที่รุนแรง อาทิ เด็กปัญญาอ่อน เด็กออ คนโรคจิต หรือ บุคคลที่ไม่สามารถมีเรื่องมีราวกับเขาได้ เพราะเขาเป็นโรคออทิซึม การไม่ไว้ใจให้ทำงานร่วมกัน แม้แต่การเหยียดหยามถึงบุพการีว่าไม่ควรเลี้ยงให้บุคคลกลุ่มนี้โตขึ้นมาเป็นภาระสังคม

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคออทิซึม http://www.diseasesdatabase.com/ddb1142.htm http://www.emedicine.com/med/topic3202.htm http://www.emedicine.com/ped/topic180.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=299.... http://cdc.gov/ncbddd/autism/overview_diagnostic_c... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1442/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5055577 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14982237 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15749245 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15858952