โรคออทิซึม
โรคออทิซึม

โรคออทิซึม

โรคออทิซึม (อังกฤษ: Autism) เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร และมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำ ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี[6] นอกจากนี้ยังมีความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสารที่จัดในกลุ่มใกล้เคียงโรคออทิซึม เรียกว่า Autism spectrum disorder (ASD) อาทิกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger syndrome) ที่มีอาการและอาการแสดงน้อยกว่า[4]โรคออทิซึมมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอย่างมาก แม้ว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะมีความซับซ้อนและยังไม่สามารถอธิบายกลุ่มอาการ ASD ได้จากปฏิสัมพันธ์หลายยีนหรือการกลายพันธุ์[7] ผู้ป่วยจำนวนน้อยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสารก่อวิรูป (สารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด) [8] บางแหล่งข้อมูลเสนอสาเหตุของโรคออทิซึมไว้หลากหลาย เช่น การให้วัคซีนในวัยเด็ก ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน และสมมติฐานดังกล่าวยังขาดหลักฐานที่เชื่อถือได้ทางวิทยาศาสตร์[9] ความชุกของกลุ่มอาการ ASD เกิดราว 6 ใน 1,000 คน และเป็นในเด็กชายเป็น 4 เท่าของเด็กหญิง จำนวนผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคออทิซึมพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ทั้งนี้บางส่วนเนื่องจากการเปลี่ยนวิธีการวินิจฉัย แต่ความชุกแท้จริงเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่ทราบ[10]ผู้ป่วยโรคออทิซึมมีความผิดปกติที่หลายส่วนของสมองซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปกครองมักสังเกตอาการผู้ป่วยได้ในช่วงอายุ 2 ขวบปีแรก แม้ว่าการบำบัดด้วยพฤติกรรมและการรับรู้โดยนักกายภาพบำบัดและนักจิตวิทยาคลินิกตั้งแต่เยาว์วัยจะช่วยพัฒนาให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง มีทักษะด้านสังคมและการสื่อสารได้ แต่การรักษาที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบ[4] เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้น้อยรายที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระหลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนที่ประสบความสำเร็จ[11]อย่างไรก็ตามพบว่าคนที่เป็นโรคออทิซึมได้รับการปฏิเสธจากสังคมอย่างมากจนเป็นสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการใช้อาวุธปืนฆ่าคนอื่น[12]

โรคออทิซึม

อาการ ความบกพร่องในการสื่อสารกับบุคคล ความสามารถทางการพูด อวัจนภาษา มีพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำ
สาขาวิชา จิตเวช (จิตเวชเด็ก)
ระยะดำเนินโรค ระยะยาว
ความชุก 24.8 ล้าน (2015)[5]
สาเหตุ พันธุกรรม และ สังคม[2]
วิธีวินิจฉัย Based on behavior and developmental history[1]
การรักษา Early speech and behavioral interventions[4]
การตั้งต้น 2 ขวบ[1]
โรคอื่นที่คล้ายกัน Reactive attachment disorder, intellectual disability, schizophrenia[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคออทิซึม http://www.diseasesdatabase.com/ddb1142.htm http://www.emedicine.com/med/topic3202.htm http://www.emedicine.com/ped/topic180.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=299.... http://cdc.gov/ncbddd/autism/overview_diagnostic_c... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1442/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5055577 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14982237 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15749245 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15858952