ศัพทมูล ของ โรคใหลตาย

ใน ปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นปีที่โรคใหลตายปรากฏ มีปัญหาว่า "ใหลตาย" หรือ "ไหลตาย" สะกดอย่างไรจึงจะถูกต้อง ราชบัณฑิตยสถานจึงประชุม และมีความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นควรสะกดว่า "หล" (สระ ไ ไม้มลาย) เพราะ "ไหล" เป็นภาษาถิ่นอีสาน ปรากฏในพจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน-ภาคกลาง ฉบับปณิธาน ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสฺมหาเถระ) มีความหมายว่า "นอนหลับไม่ได้สติ" ประกอบกับเป็นชื่อโรคซึ่งเป็นวิสามานยนาม และมิใช่หนึ่งในคำยี่สิบคำที่ต้องเขียนด้วยไม้ม้วน ขณะที่อีกฝ่ายเห็นควรสะกด "หล" (สระ ใ ไม้ม้วน) โดยพิเคราะห์ว่า "ใหล" มาจาก "หลับใหล" ซึ่งมีความหมายว่า "นอนหลับไม่ได้สติ" เหมือนกัน ในการประชุมครั้งนั้น ราชบัณฑิตยสถานมิได้ลงมติข้างไหน[1]

ปีเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นพิจารณาอีกครั้ง โดยตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น พจนานุกรมอีสาน-กลาง ฉบับมหาวิทยาลัยขอนแก่น-สหวิทยาลัยอีสาน, สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ของ ปรีชา พิณทอง ฯลฯ ปรากฏว่า ไม่มีที่ใดในภาษาอีสานสะกด "หลับใหล" ว่า "หลับไหล" มีแต่พจนานุกรมของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสฺมหาเถระ) ข้างต้นฉบับเดียวเท่านั้นที่อ้างว่าเทียบมาจากพจนานุกรมภาษาลาว ราชบัณฑิตยสถานจึงได้สืบค้นพจนานุกรมภาษาลาว พบว่า ในภาษาลาวก็สะกด "หลับใหล" ด้วยสระ ใ ไม้ม้วน เหมือนในภาษาไทย โดยให้ความหมายว่า "ละเมอ" หรือ "เอิ้นหรือฮ้องในเวลานอนหลับหรือในเวลาตื่นตกใจจนหลงสติ" มิได้สะกดอย่างสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสฺมหาเถระ) แต่ประการใด[1] ที่สุด ราชบัณฑิตยสถานจึงมีมติว่า ชื่อโรคนี้ให้เขียน "ใหลตาย" โดยวินิจฉัยว่า "ใหล" มาจาก "หลับใหล"[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคใหลตาย http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S08954... http://pinoykasi.homestead.com/files/2000articles/... http://pinoykasi.homestead.com/files/2002articles/... http://pinoykasi.homestead.com/files/2002articles/... http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/00001278.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1971883 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3110586 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/6796814 http://netinc.net.my/health/s/005.htm //doi.org/10.1016%2F0140-6736+(90)+91153-2