โรงพยาบาลศรีสะเกษ
โรงพยาบาลศรีสะเกษ

โรงพยาบาลศรีสะเกษ

โรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็น โรงพยาบาลศูนย์ ระดับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการริเริ่มของ ขุนเวชการบริรักษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์ ตั้งแต่เมื่อครั้งจังหวัดศรีสะเกษ ยังใช้ชื่อเดิมว่า "จังหวัดขุขันธ์" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น "จังหวัดศรีสะเกษ" ใน พ.ศ. 2481 หลังจากนั้นโรงพยาบาลประจำจังหวัดศรีสะเกษจึงใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลศรีสะเกษ" ตามชื่อจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ [2] [3]ปัจจุบัน โรงพยาบาลตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ท้องที่ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ บนเนื้อที่ 41 ไร่ บริเวณริมฝั่งลำน้ำห้วยสำราญ อันเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านสุขภาพของประชาชน เพื่อให้บริการในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ฟื้นฟู และรักษาโรค แก่ชาวจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงในภูมิภาคอีสานใต้ ตลอดจนผุ้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้าน [3] นอกจากนั้น ยังเป็นสถาบันการผลิตแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในฐานะศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

โรงพยาบาลศรีสะเกษ

เว็บไซต์ เว็บไซต์โรงพยาบาลศรีสะเกษ
ประเภท รัฐ (โรงพยาบาลศูนย์)
จำนวนเตียง 974 เตียง[1]
สังกัด กระทรวงสาธารณสุข
ที่ตั้ง เลขที่ 0859 ถนนกสิกรรม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
แพทย์ 153 คน
ก่อตั้ง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491
บุคลากร 1,300 คน
ผู้อำ-นวยการ นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช