อาคารโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ของ โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

อาคารโรงพิมพ์ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2438 ตั้งอยู่บนถนนบำรุงเมือง และเป็นโบราณสถานขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรในชื่อ "อาคารบำรุงนุกูลกิจ" นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542[8] ปัจจุบันอาคารอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทรัจนากรพร็อบเพอร์ตี้ และใช้งานเป็นโกดังของร้านสังฆภัณฑ์และพระพุทธรูปในพื้นที่[1] และด้านหน้าของอาคารเป็นที่จอดรถ กระทั่งในปี พ.ศ. 2565 ได้เปลี่ยนมาเป็นร้านกาแฟชั่วคราวของ Craftsman Roastery ซึ่งอดีตเคยทำการอยู่ที่บ้านอาจารย์ฝรั่ง อดีตบ้านพักของศิลป์ พีระศรี และจะเปิดให้บริการเป็นเวลา 8 เดือนนับตั้งแต่ 5 กุมภาพันธ์[2]

อาคารโรงพิมพ์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีความสูงสองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมเป็นแบบผสมผสานสถาปัตยกรรมคลาสสิกและสถาปัตยกรรมวิกตอเรีย[1] ตกแต่งด้วยไม้และปูนเป็นลวดลายเหนือหน้าต่างและประตู ปัจจุบันอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ปิดที่ล้อมรอบด้วยอาคารพาณิชย์อื่นและมีพื้นที่ทางเข้าที่คับแคบ[3]

ใกล้เคียง

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ โรงพิมพ์วัดเกาะ โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศิริราช โรคพิษสุนัขบ้า โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ http://knowledge-center.museumsiam.org/uploads/sia... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/E/... https://readthecloud.co/craftsman-at-bamrungmueng-... https://www.matichonacademy.com/content/culture/ar... https://www.sarakadee.com/feature/2002/09/thaifont... https://www.timeout.com/bangkok/th/news/bangkok-de... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Bamrun... https://virtualexpo.asa.or.th/content/page7_allwor... https://pridi.or.th/th/content/2020/06/311