โรงละครเทศกาลไบรอยท์
โรงละครเทศกาลไบรอยท์

โรงละครเทศกาลไบรอยท์

โรงละครเทศกาลไบรอยท์ (เยอรมัน: Bayreuth Festspielhaus; อังกฤษ: Bayreuth Festival Theatre) เป็นโรงละครที่ส่วนใหญ่ใช้สำหรับแสดงอุปรากรที่ตั้งอยู่ที่ทางเหนือของเมืองไบรอยท์ ในแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนี สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1872 และเปิดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1876โรงละครเทศกาลไบรอยท์เป็นโรงละครที่ส่วนใหญ่ใช้สำหรับแสดงอุปรากรโดยริชาร์ด วากเนอร์ โดยเฉพาะระหว่างเทศกาลไบรอยท์ซึ่งเป็นเทศกาลประจำปีที่มีแต่การแสดงอุปรากรโดยริชาร์ด วากเนอร์เท่านั้น โรงละครเป็นความคิดของวากเนอร์หลังจากที่ถูกขับจากราชสำนักที่มิวนิกของพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย วากเนอร์ต้องการจะมีสถานที่สำหรับแสดงอุปรากรที่ตนเองเขียนที่ห่างไกลจากวัฒนธรรมคู่แข่งอื่นๆ และนอกจากจะเป็นที่แสดงตามปกติแล้วก็ยังเป็นที่จัดเทศกาลอุปรากรประจำปีซึ่งเป็นงานที่เชิดหน้าชูตาของไบรอยท์วากเนอร์เลือกไบรอยท์ด้วยเหตุผลหลายประการ: โรงละครเทศกาลสร้างสำหรับมากราฟเฟรดริคแห่งไบรอยท์และภรรยาฟรีเดอริเค โซฟี วิลเฮลมีนแห่งไบรอยท์ พระขนิษฐาของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1747 ซึ่งมีระบบเสียงดีและเหมาะกับความคิดของวากเนอร์ ประการที่สองเมืองไบรอยท์อยู่นอกบริเวณที่วากเนอร์ไม่สามารถแสดงอุปรากรของตนเองเพราะได้ขายลิขสิทธิ์ไปหมดเมื่อปี ค.ศ. 1864 เพราะปัญหาทางการเงิน ประการสุดท้ายไบรอยท์ขณะนั้นไม่มีวัฒนธรรมที่เด่นที่จะเป็นคู่แข่งได้ทำให้วากเนอร์เป็นที่เด่นโดยไม่มีใครลบได้ เมื่อเทศกาลอุปรากรเริ่มขึ้นก็จะกลายเป็นจุดสนใจทางวัฒนธรรมของไบรอยท์ วากเนอร์นำการออกแบบมาจากสถาปนิกกอดฟรีด เซมเพอร์ซึ่งวากเนอร์มิได้รับการอนุญาต แบบของเซมเพอร์เดิมออกสำหรับโรงละครเทศกาลที่มิวนิก ที่สร้างภายใต้การควบคุมของวากเนอร์ ทุนการก่อสร้างส่วนใหญ่มาจากพระเจ้าลุดวิกที่ 2 วากเนอร์วางศิลาฤกษ์ในวันเกิดของตนเองเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1872 สิ่งก่อสร้างเปิดเป็นครั้งแรกด้วยการแสดงอุปรากร “แหวนแห่งนิเบลลุงเก็น” หรือเรืยกสั้นๆ ว่า “แหวน” (Der Ring des Nibelungen) ทั้งสี่องค์อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก (ความยาวทั้งหมดประมาณ 15 ชั่วโมง) ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1876 ถึงวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1876 อุปรากรเรื่องนี้มักจะแสดงทั้งชุดในงานเทศกาลอุปรากรที่ไบรอยท์ด้านหน้าของโรงละครเท่านั้นที่มีลักษณะการตกแต่งที่พบกันในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนั้นภายนอกก็มีลักษณะเรียบง่ายไม่มีการตกแต่งเท่าใดนักนอกไปจากอิฐที่ก็มิได้มีการตกแต่งลักษณะที่เด่นของโรงละครแห่งนี้คือที่นั่งของหลุมวงออร์เคสตรา (orchestra pit) ซึ่งตั้งลึกเข้าไปภายใต้เวทีและคลุมด้วยเพดานบางๆ เพื่อที่จะซ่อนวงดนตรีจากผู้ชม ซึ่งเป็นสิ่งที่วากเนอร์เน้นเพื่อที่จะให้ผู้ชมสนใจแต่เฉพาะอุปรากรบนเวทีแทนที่จะมีผู้กำกับดนตรื (Conductor) ที่โบกบาทองทำให้เสียสมาธิ นอกจากนั้นการออกแบบก็ยังพยายามแก้ความสมดุลระหว่างนักร้องและออร์เคสตราซึ่งทำให้เป็นเสียงที่ออกมาอย่างที่วากเนอร์ต้องการ แต่การจัดระบบเสียงเช่นนี้ทำความลำบากให้แก่ผู้กำกับดนตรืเป็นอันมากแม้ว่าจะเป็นผู้กำกับที่มีชื่อเสียงก็ตาม นอกจากผู้ชมที่ถูกซ่อนอยู่ในความมืดแล้ว เสียงสะท้อนกังวานทำให้การประสานเสียงระหว่างวงออร์เคสตรากับนักร้องเป็นไปได้ยาก ฉะนั้นผู้กำกับดนตรืจึงจำต้องไม่สนใจสัญญาณจากนักร้อง นอกจากนั้นผู้กำกับดนตรืยังพบว่าการกำกับดนตรีที่ไบรอยท์เป็นงานที่ท้าทายความสามารถมากที่สุดในอาชีพของตนเองงานหนึ่งลักษณะที่เด่นทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งคือการใช้เพดานโค้งซ้อน (proscenium) ซึ่งทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าโรงละครลึกกว่าความเป็นจริง เพดานโค้งซ้อนและหลุมสำหรับวงออร์เคสตราเกือบใต้เวทีทำให้เกิดบรรยากาศที่วากเนอร์เรียกว่า “เหวแห่งความลึกลับ” (mystic gulf) ระหว่างผู้ชมและเวที อันทำให้การแสดงที่ออกมาบนเวทีเหมือนฝันซึ่งเป็นการย้ำความลึกลับของเนื้อหาและบรรยากาศของอุปรากรที่วากเนอร์ต้องการ

ใกล้เคียง

โรงละครแห่งชาติ (ประเทศไทย) โรงละครบอลชอย โรงละครแกรมแมนส์ไชนิส โรงละครโกลบ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา โรงละครดอลบี โรงละครมาริอินสกี โรงละครเทศกาลไบรอยท์ โรงละครครูซิเบิล โรงละครอิมพีเรียล (ประเทศญี่ปุ่น)