พระเจ้าฟรีดริชที่_2_แห่งปรัสเซีย
พระเจ้าฟรีดริชที่_2_แห่งปรัสเซีย

พระเจ้าฟรีดริชที่_2_แห่งปรัสเซีย

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.) เป็นเจ้าเยอรมันซึ่งทรงปกครองราชอาณาจักรปรัสเซียระหว่างค.ศ. 1740 ถึง 1786 นับเป็นกษัตริย์ที่ทรงราชย์ยาวนานที่สุดในโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น ปรัสเซียในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุครุ่งโรจน์ พระองค์เป็นผู้ปฏิรูปกองทัพปรัสเซียใหม่และได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้ง นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นองค์อุปถัมภ์แห่งวงการศิลปะและยุคเรืองปัญญา พระองค์ร่วมมือกับบริเตนใหญ่และได้รับชัยชนะเหนือมหาอำนาจคู่แข่งในสงครามเจ็ดปี นำมาซึ่งการเปลี่ยนดุลอำนาจครั้งใหญ่ในยุโรป ต่อมาในปีค.ศ. 1772 พระองค์เลิกใช้พระยศ "กษัตริย์ในปรัสเซีย" (König in Preußen) และเปลี่ยนไปใช้พระยศ "กษัตริย์แห่งปรัสเซีย" (König von Preußen) ซึ่งเป็นผลจากการที่ปรัสเซียได้ผนวกดินแดนมากมาย ความสำเร็จด้านการทหารของพระองค์ทำให้ปรัสเซียผงาดบารมีขึ้นเป็นมหาอำนาจใหม่ในยุโรป และนั่นทำให้พระองค์ได้รับพระสมัญญานามว่า ฟรีดริชมหาราช (เยอรมัน: Friedrich der Große) ถือเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติเยอรมันตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เจ้าชายฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะและทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า "กษัตริย์การทหาร" เจ้าชายฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ดังนั้น เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย (อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่อาณาจักร ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของปรัสเซียเข้าด้วยกัน รวมถึงดินแดนที่ทรงยึดมาจากการแบ่งแยกโปแลนด์พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับนักปรัชญาวอลแตร์เป็นเวลากว่าห้าสิบปีและมีความสนิทสนมกันมาก แต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีในการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่พระราชวังซ็องซูซีที่เมืองพ็อทซ์ดัม ภายหลังการสวรรคต บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2 ผู้มีศักด์เป็นหลานลุง เนื่องจากพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส พระเจ้าฟรีดริชถือเป็นแบบอย่างของฮิตเลอร์[1] ฮิตเลอร์เทิดทูนพระองค์มากและมักนำตัวเองไปเปรียบกับพระเจ้าฟรีดริชอยู่เสมอ ฮิตเลอร์นำพระรูปเหมือนที่วาดโดยอันโทน กราฟ แขวนไว้ในห้องที่ฟือเรอร์บุงเคอร์[1] ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์เคยเหม่อมองพระรูปอย่างอาวรณ์ตามบันทึกของโรคุส มิสช์[2]

พระเจ้าฟรีดริชที่_2_แห่งปรัสเซีย

ราชวงศ์ โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น
ฝังพระศพ พระราชวังซ็องซูซี
ก่อนหน้า พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 1
ครองราชย์ 31 พฤษภาคม 1740 – 17 สิงหาคม 1786
ลายพระอภิไธย
พระราชมารดา โซฟี โดโรเทอา แห่งฮันโนเฟอร์
พระราชบิดา พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 1
สวรรคต 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 (74 ปี)
พ็อทซ์ดัม ราชอาณาจักรปรัสเซีย
ถัดไป พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2
ประสูติ 24 มกราคม ค.ศ. 1712(1712-01-24)
เบอร์ลิน, ปรัสเซีย
ศาสนา คาลวิน
คู่อภิเษก เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร