ประวัติ ของ โรงเรียนสมุทรปราการ

หน้าโรงเรียนสมุทรปราการในสมัยก่อน

...ครั้น ณ ๒ ๑๔ ฯ  ๘ พุทธศักราช ๒๔๒๖ พระบรมวงศ์เธอกรมพระดำรงราชานุภาพครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าดิศวรกุมารได้เสร็จลงมาตั้งโรงเรียนหนังสือไทยขึ้นที่วัดกลาง…[4][5]

โรงเรียนสมุทรปราการทำการสอนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2426 หลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสร็จลงมาตั้งโรงเรียนหนังสือไทยที่วัดกลางเมืองสมุทรปราการ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จัดตั้งโรงเรียนที่มีอยู่ตามพระอารามหลวง[6]ทำให้โรงเรียนหนังสือไทยที่วัดกลางได้รับการจัดตั้งเป็น โรงเรียนวัดกลาง เมื่อ พ.ศ. 2429[3]

ก่อตั้ง

การตั้งโรงเรียนที่วัดกลางสมุทรปราการนี้ พระครูสุนทรสมุทร์ (น้อย) ได้รับภาระเป็นผู้จัดการและอุปการะดูแลโรงเรียนและให้นายเชาว์เป็นครูใหญ่ได้เริ่มการสอนนักเรียนที่ศาลาทำบุญกลางอาวาส กระทั่งวันเสาร์แรม 9 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 2427 พระครูสุนทรสมุทร์ (น้อย) ได้จัดจ้างอาจารย์มาสอนพระปริยัติธรรมแก่ภิกษุ สามเณร เพิ่มเติมอีก[7][5]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาพระราชทานผ้าพระกฐิน 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่าง พ.ศ. 2424พ.ศ. 2427 และครั้งที่สองในวันเสาร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2428พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค[4] หลังจากพระราชทานผ้าพระกฐินแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณวัดและโรงเรียนหนังสือไทยแล้วทรงรับสั่งว่า "เด็กนั่งพื้นสกปรก นาฬิกาสำหรับดูเวลาก็ไม่มี" จึงทรงรับสั่งให้ขุนอไภย์ภาษี (หลวงจู้ม้า อัศวนนท์) มัคทายกของวัดกลางซึ่งมาเฝ้ารับเสด็จในขณะนั้นให้นำเรือไปรับนาฬิกาปารีสกับโต๊ะเรียนที่พระราชทาน[8][5] (ปัจจุบันนาฬิกาปารีสและโต๊ะเรียนตั้งอยู่ที่อาคาร 4 โรงเรียนสมุทรปราการ)

หลังจากที่พระครูสุนทรสมุทร์ (น้อย) มรณภาพใน พ.ศ. 2428 ทำให้ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการว่าง พระธรรมถาวรเจ้าคณะฝ่ายใต้วัดพระเชตุพนและพระยาวุฒิการบดี จางวางกรมสังฆการี กระทรวงธรรมการ ได้มีหนังสือมอบให้พระปลัด (จ้อย) รักษาการคณะสงฆ์และปกครองอาวาสแทนต่อไปจนกว่าจะมีเจ้าคณะมาปกครอง และทางด้านโรงเรียนหนังสือไทยนั้นสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงมอบให้พระปลัด (จ้อย) เป็นผู้อุปการะดูแลจัดการต่อไป[7][5]

วันเสาร์ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีระกา สัปตศก 1247 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพขอพระราชทานทำรายงานโรงเรียนขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงทราบ ซึ่งเป็นรายงานฉบับที่ 2 ความตอนหนึ่งว่า “…ในรายงานฉบับก่อนมีโรงเรียน 23 แห่ง, อาจารย์ 54 คน, นักเรียน 1,363 คน ล่วงมาจนถึงเวลานี้มีโรงเรียนทั้งสิ้น 28 แห่ง, อาจารย์ 73 คน, นักเรียน 1,955 คน มากกว่าในรายงานครั้งก่อน คือ โรงเรียน 5 แห่ง , อาจารย์ 19 คน , นักเรียน 590 คน ซึ่งในจำนวน 5 แห่งนี้ มีแขวงเมืองสมุทรปราการรวมอยู่ด้วยแห่งหนึ่ง มีจำนวนนักเรียน 60 คน ดังตัวอย่างของแผนกการศึกษาถึงจำนวน ครู นักเรียน ในเดือน 2-3-4[9][5]

พัฒนา

นาฬิกาและโต๊ะเรียนพระราชทาน

พ.ศ. 2428 ความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศแก่พระบรมวงศานุวงศ์และทวยราษฎร์ทั้งหลายทราบว่า พระองค์มีพระราชดำริเห็นว่าวิชาการและหนังสือเป็นต้นเค้าของวิชาความรู้สมควรที่จะทำนุบำรุงให้เจริญยิ่งขึ้นเพราะคนในสยามของเราไม่รู้หนังสือไทยยังมีอีกมากที่พอรู้อ่านออกเขียนได้แต่ไม่ถูกถ้วนนั้นก็มีมากเพราะโรงเรียนที่สอนวิชาตามแบบหลวงยังมีน้อยอีกทั้งมีพระประสงค์จะให้พระบรมวงศานุวงศ์และทวยราษฎร์ทั้งปวงได้เล่าเรียนหนังสือไทยโดยละเอียดตามแบบที่ถูกต้องจึงสละราชทรัพย์ออกตั้งโรงเรียนและจ้างครูสอนทำนุบำรุงการเล่าเรียนสิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมากและยังมีพระราชดำริจะให้ตั้งโรงเรียนตามพระอารามหลวงทุก ๆ พระอารามทำให้ประชาชนตื่นเล่าลือกันว่าที่ให้ตั้งโรงเรียนนั้นเพราพระราชประสงค์จะเก็บเด็กนักเรียนเป็นทหาร[9][10][5]

ความทราบใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท จึงประกาศ ณ วันศุกร์ เดือน 6 แรม 3 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2428 ว่า

...อย่าให้ผู้ใดพลอยตื่นเต้นเชื่อฟังคำเล่าลือเป็นอันขาด คนที่ชักชวนเป็นทหารก็มีอยู่พวกหนึ่งต่างหาก ไม่ต้องตั้งโรงเรียนเกลี้ยกล่อมเด็กมาเป็นทหารเลย อนึ่ง เด็กทั้งปวงนี้ก็ล้วนเป็นบุตรหลานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินสิ้นด้วยกัน ถ้าจะเก็บเอามาเป็นทหารเสียตรง ๆ นั้นจะไม่ได้หรือจะต้องตั้งโรงเรียนเกลี้ยกล่อมให้ลำบากและเปลืองพระราชทรัพย์ด้วยเหตุใดถ้อยคำของคนหล่านั้นใคร ๆ ไม่ควรเชื่อ ใครมีบุตรหลานอยากให้ได้เล่าเรียนมีวิชาก็ส่งเข้าเรียนได้ อย่าได้คิด หวาดหวั่น[5]

และด้วยความพยายามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะตั้งโรงเรียนให้แก่ประชาชนได้เล่าเรียนกันใน พ.ศ. 2429 จึงตั้งโรงเรียนที่มีอยู่เดิมสำเร็จ 30 แห่งคือในพระนคร 17 โรง, กรุงเก่า 5 โรง, อ่างทอง 2 โรง, ลพบุรี 1 โรง, อุทัยธานี 1 โรง, นครปฐม 1 โรง, ราชบุรี 1 โรง, เพชรบุรี 1 โรงและสมุทรปราการ 1 โรง [5][9]

พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้นในกระทรวงธรรมการ ก็เพราะมีพระราชประสงค์จะจัดการศึกษาเล่าเรียนให้แพร่หลายออกไปอีกทั้งจำนวนนักเรียนโดยประมาณชั้นสูงเพียง 201 คน โรงเรียนภาษาอังกฤษ 206 คน โรงเรียนสามัญซึ่งตั้งในพระอารามต่าง ๆ ทั่วในพระนครและหัวเมืองรวม 51 ตำบล มีนักเรียน 2,360 คน โรงเรียนเชลยศักดิ์ 46 โรง นักเรียน 827 คน ยังเป็นการน้อยนักไม่สมดังพระประสงค์ ประกอบกับศิษย์วัดมักจะไม่ได้มาเรียนถึงแม้จะให้มาเรียนก็ให้มาแต่น้อยจะมีก็แต่เด็กชาวบ้านที่บิดา มารดา ยอมสมัครให้มาเรียนเสียโดยมากแต่เด็กเหล่านี้บ้างก็มาบ้างก็ไม่มา บางทีก็เลิกเรียนเสียทีเดียว ทำให้ไม่เป็นการแน่นอนจึงเป็นเหตุให้จำนวนนักเรียนน้อยไป เป็นการสมควรที่จะจัดการแก้ไขให้การศึกษาหนังสือไทยแพร่หลายออกไป เพื่อให้ประชาราษฎร์ได้รับประโยชน์การเล่าเรียนเต็มบริบูรณ์ทั่วหน้ากัน[9]

พ.ศ. 2435 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานกระทรวงธรรมการ จัดการศึกษาให้เป็นแบบแผน โดยแบ่งการเล่าเรียนเป็นลำดับชั้น บรรดาการเล่าเรียนในชั้นแรกเรียกว่า มูลศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ[10][11]

  • โรงเรียนมูลสามัญชั้นต่ำ ให้สอนเพียง เขียน อ่าน คิดเลข 4 แม่ (บวก ลบ คูณ หาร)
  • โรงเรียนมูลสามัญชั้นสูง ให้สอน เขียน อ่าน แต่งข้อความ ไวยากรณ์ คิดเลข พระราชพงศาวดาร ภูมิศาสตร์ วิทยาการตามแบบเรียน

ในความว่าด้วยโรงเรียนมูลศึกษาวัดกลางเมืองสมุทรปราการได้เปิดทำการสอนมาหลายปีแต่ผู้อุปการะและครูได้ลาจากการในโรงเรียน ต่อมาภายหลังท่านพระครูสุนทรสมุทร์เจ้าคณะใหญ่ได้ชักชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ตั้งพิธีเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ 3 กันยายน ร.ศ. 114 เวลาบ่าย 3 โมงเศษ พระสงฆ์ถานานุกรม 95 รูป เจริญพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นวันที่ 4 ทายกถวายอาหารบิณฑบาตรแล้ว พระครูสุนทรสมุทร์ได้จัดให้ นายบุตร นักเรียนประโยค 1 เป็นครู เริ่มลงมือสอนตั้งแต่ 3 โมงเช้าเป็นต้นไป [12][13][11]

มีนักเรียนในคราวแรกนี้ 54 คน มีบรรดาทายกผู้ลงชื่อรับบำรุงทุกเดือน 19 คนได้เงินเดือนละ 26 บาท 3 สลึงถ้วน ต่อมานายบุตร อาจารย์โรงเรียนวัดกลางเมืองสมุทรปราการได้ยื่นรายงานถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์อธิบดีกรมศึกษาธิการว่าพระครูสุนทรสมุทร์ ผู้อุปการะได้มอบหนังสือแบบเรียนเร็วเล่ม 1 จำนวน 5 เล่ม, กระดานชนวนศิลา 48 แผ่น, พระปลัดจ้อยให้โต๊ะกลม 1 โต๊ะ, เก้าอี้ 1 ตัว, ท่านพระยาสมุทรบุรารักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรปราการ ให้เงิน 16 บาท , นายบุตร อาจารย์ให้หนังสือแบบเรียนเร็วเล่ม 1 จำนวน 5 เล่ม, เลขวิธีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม, เลขวิธีที่ 2 จำนวน 5 เล่ม, กระดานชนวนศิลา 9 แผ่น, กระดาษฝรั่งมีไม้บรรทัด 15 โหล, หมึกดำ 6 ขวด, ปากกา 1 หีบ, ด้ามปากกา 6 ด้าม ระหว่างเวลาที่ล่วงเลยมา การศึกษาหนังสือไทยก็ได้เล่าเรียนยู่ที่ศาลากลางอาวาสเจริญเป็นลำดับมา[11]

ต่อมา พ.ศ. 2445 พระปลัดจ้อย ได้จัดตั้งการศึกษาสำหรับสตรีขึ้น อาศัยโรงมหรสพเรียนเป็นการชั่วคราว โดยมีนายอยู่เป็นครูคนแรก ต่อมาพระปลัดจ้อยได้รับพระราชทานสัญญาบัตร สมณศักดิ์ เป็นพระครูสุนทรสมุทร์ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางก็ได้จัดการบำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมและฝ่ายหนังสือไทยเจริญแพร่หลายเป็นลำดับ

พ.ศ. 2460 กระทรวงธรรมการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัดกลางเป็น “โรงเรียนมัธยมวัดกลาง” และในปีนี้เองที่ได้ขยายโรงเรียนมัธยมวัดกลางขึ้นอีกแห่งหนึ่ง โดยย้าย ม.1 – 2 จากวัดกลางมาเรียนที่อาคารเรือนแสงเฮี๊ยะ ซึ่งอาศัยที่ดินของวัดพิชัยสงคราม (วัดนอก) เป็นที่ก่อสร้าง

พ.ศ. 2465 ขุนอภิรักษ์จรรยา (เปรื่อง ก้องสมุทร) เป็นครูใหญ่และเฉพาะที่วัดกลางก็เริ่มชั้นมัธยมปีที่ 6 เป็นปีแรก ใน พ.ศ. 2476 ทางจังหวัดได้พิจารณาว่า สถานที่เดิมของวัดกลางเต็มขยายไม่ได้ทำให้เด็กต้องแยกไปเรียนหลายแห่ง ไม่สะดวกในการควบคุมจึงรายงานต่อกระทรวงศึกษาธิการขอยุบชั้นประถม และใน พ.ศ. 2477 มีปัญหานักเรียนสตรีที่เรียนจบชั้นมัธยมตอนต้นไม่มีที่เรียนต่อ จึงขออนุญาตกระทรวง ศึกษาธิการเข้าเรียนรวมกันกับนักเรียนชายแบบสหศึกษา

พ.ศ. 2478 การศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาวัดกลางเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วปัญหาเรื่องที่เรียนไม่พอ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเงิน 1,000 บาทมาสมทบกับคณะกรรมการดำเนินงานหาทุนสร้างอาคารเรียนเอกเทศได้เงินทั้งสิ้น 13,000 บาท และสร้างแล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2479 ต่อมาทางจังหวัดได้ทำรายงานเสนอกระทรวงศึกษาธิการขอเงินการกุศลมาสร้างอาคารเรียนเอกเทศหลังที่ 2 ในที่สุสานของวัดแต่มีเงินจำกัด การก่อสร้างไม่เต็มรูปแบบที่ขอไป ทางโรงเรียนจึงหาเงินมาสมทบสร้างจนแล้วเสร็จ [11]

พ.ศ. 2496 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนรัฐบาลทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีชื่อจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียนต่อท้ายโรงเรียนมัธยมวัดกลางจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น“โรงเรียนสมุทรปราการ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[14]

ธงโรงเรียนและธงชาติ

แม้กระทรวงศึกษาอนุมัติเงินงบประมาณให้จัดสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมเพียงไรก็ตามก็ยังไม่พอกับจำนวนเด็ก ประกอบกับที่วัดไม่สามรถขยายได้อีก จึงอนุมัติเงินการกุศลจำนวน 400,000 บาท สำหรับซื้อที่ดินบริเวณริมถนนสุขุมวิทขนาด 17 ไร่ เมื่อ พ.ศ. 2498 ต่อ 10 ปีเศษหลังจากซื้อที่ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดเงินเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนจำนวนเงิน 2,000,000 บาท เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ขนาด 18 ห้องเรียน และสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2511 พร้อมทั้งได้สร้างสาธารณูปโภคอื่น ๆ อีก และในเดือนกันยายน ปีเดียวกันนี้เองก็ได้ย้ายนักเรียนจากวัดกลางมาเรียนยังสถานที่ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นใหม่ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน[15]

ช่วง พ.ศ. 2511 - 2515 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงินงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียน 3 ครั้งคือใน พ.ศ. 2511 ได้อนุมัติสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น ขนาด 5.9 x 40.5 ตารางเมตร 8 ห้องเรียน เป็นเงิน 800,000 บาทแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ใน ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2513 อนุมัติสร้างอาคารเรียน 3 ชั้นขนาด 9.5 x 72 ตารางเมตร จำนวน 18 ห้องเรียน เป็นเงิน 200,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสุดท้าย พ.ศ. 2515 อนุมัติค่าก่อสร้างอาคารเกษตรขนาด 10 x 24.50ตารางเมตร 2 หน่วย เป็นเงิน 200,000 บาท[15]

พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณจากโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมส่วนภูมิภาค เป็นค่าก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์ ขนาด 10 x 85 ตารางเมตร จำนวน 12 ห้องเรียน และอาคารอุตสาหกรรมศิลป์ ขนาด 10 x 50 ตารางเมตร จำนวน 6 หน่วย รวมเป็นเงิน 9,671,600 บาท สร้างเสร็จเมื่อ 1 ตุลาคม 2519 ปีต่อมาชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสมุทรปราการ ได้สร้างอาคารชั่วคราวให้โรงเรียนเพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนพลานามัยให้ 1 หลัง เป็นเงิน 5,500 บาท ทำให้กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 4 ชั้น 15 ห้องเรียน ชั้นล่างเป็นห้องประชุมโรงอาหาร 1 หลัง เป็นเงิน 7,856,000 บาท ใน พ.ศ. 2525 [15]

พ.ศ. 2528 ได้รับเงินบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาและจากการจัดกิจกรรมเดินการกุศลเป็นเงิน 120,000 บาท สร้างอาคารเพิ่มเติมอีก 1 หลังให้เพียงพอแก่จำนวนนักเรียน ให้มีที่นั่งรับประทานอาหารขนาดกว้าง 17 เมตร และยาว 40 เมตร ขนานกับโรงอาหารเดิม

พ.ศ. 2530 ประชาชน สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสมุทรปราการ ชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสมุทรปราการ บริจาคเงินให้โรงเรียนรวมเป็นเงิน 335,000 บาท และ บริษัทกระเบื้องโอฬารมอบกระเบื้องมุงหลังคาให้และสมทบเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนอีก 315,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 650,000 บาท เพื่อการก่อสร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นเรือนพยาบาล ชั้นบนเป็นห้องจริยธรรม ลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 เมื่อสร้างเสร็จแล้วเรียบร้อยแล้วใช้ชื่อว่า “อาคารอนุสรณ์ 100 ปี” เมื่อ พ.ศ. 2529[16] ปีต่อมาสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสมุทรปราการบริจาคเงินให้ทางโรงเรียนเป็นจำนวน 80,000 บาท และสมทบด้วยเงินบำรุงการศึกษาจำนวน 52,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 162,400 บาท เพื่อทำการก่อสร้างเรือน ประชาสัมพันธ์โรงเรียนสมุทรปราการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นชั้นรับประทานอาหาร ชั้นที่สองเป็นห้องฝึกงานเกษตรและโสตทัศนศึกษา ชั้นที่ 3 เป็นห้องประชุมและพลศึกษา เป็นจำนวน 9,975,000 บาท[16]

ปีการศึกษา 2536 วัลลภ ยังตรง จัดสรรงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดให้ 400,000 บาท เพื่อปรับปรุงถนนในโรงเรียนขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 200 เมตร หนา 0.12 เมตรและประเสริฐ สุขวัฒน์ จัดสรรงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดให้ 105,450 บาท เพื่อปรับปรุงระบบเสียงภายในโรงเรียน ปีต่อมา นายแพทย์วัลลภ ยังตรง ได้จัดสรรงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดเพิ่มให้อีก 450,000 บาท เพื่อปรับปรุงถนนภายในโรงเรียนเพิ่มเติม ขนาด 5 เมตร ยาว 220 เมตร หนา 0.12 เมตร และทางจังหวัดอนุมัติงบพัฒนา จัดซื้อถังน้ำสแตนเลส ขนาด 1,100 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 10 ชุด มูลค่า 81,000 บาท เพื่อปรับปรุงน้ำดื่มน้ำใช้ภายในโรงเรียน

ปีการศึกษา 2539 ส.ส.สนิท กุลเจริญ จัดสรรงบประมาณพัฒนาจังหวัด ปรับปรุงประตูทางเข้าโรงเรียน 2 ประตู มูลค่า 135,000 บาท ส่วนนายแพทย์วัลลภ ยังตรง จัดสรรงบประมาณพัฒนาจังหวัดจัดซื้อโต๊ะเพื่อใช้ในห้องประชุมใหญ่มูลค่า 428,000 บาท ต่อมา ส.ส.พรรคชาติไทยได้จัดสรรงบประมาณพัฒนาจังหวัด ฯ ปรับปรุงสนามอเนกประสงค์ มูลค่า 949,500 บาท และต่อมาในปีงบประมาณ 2540 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนอเนกประสงค์ 6 ชั้น งบประมาณ ผูกพันปี 2541 และ 2542 มูลค่า 35,990,000 บาท [16]

พ.ศ. 2560 มีการทอดผ้าป่าการศึกษาและรับบริจาคต่าง ๆ เพื่อสร้างหลังคาอเนกประสงค์ โดยสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 [17]

โรงเรียนสมุทรปราการถ่ายจากอัฒจรรย์นอกสุด

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนราชินี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนสมุทรปราการ http://prakan.50webs.com/profile_school/index.htm http://prakan.50webs.com/profile_school/index_file... http://prakan.50webs.com/profile_school/index_file... http://prakan.50webs.com/profile_school/index_file... http://prakan.50webs.com/profile_school/index_file... http://maps.google.com/maps?ll=13.585889,100.60673... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.5858... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://plan.bopp-obec.info/tmp/upload/2016-09-21-1... http://plan.bopp-obec.info/tmp/upload/2017-11-08-0...