สัญลักษณ์ ของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย_เพชรบูรณ์

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • ตราประจำโรงเรียน พ.ศ. 2425 - 2452
  • ตราประจำโรงเรียน พ.ศ. 2452 - 2459
  • ตราประจำโรงเรียน พ.ศ. 2459 - 2475
  • ตราประจำโรงเรียน พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน
ตราเสมา ชมพู - ฟ้า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในเครือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยธงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในเครือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยบันทึกต้นฉบับ เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • ตราประจำโรงเรียน ตราประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ เป็นตราประจำโรงเรียนที่ใช้ร่วมกันในกลุ่มสถาบันสวนกุหลาบ ทั้ง 11 สวน โดยที่ตราประจำโรงเรียน เป็นตราของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบซึ่งได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตรานี้ เมื่อ พ.ศ. 2475 มีลักษณะของตราเป็นรูปหนังสือ ที่บริเวณหน้าปกได้ประดิษฐานพระปรมาภิไทยย่อ จ.ป.ร. และมีพระเกี้ยวยอดอยู่ด้านบน ในหนังสือมีขนนก ดินสอ ไม้บรรทัด ด้านขวามีช่อ กุหลาบ 4 ดอก อันหมายถึง หัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ริ หรือ ฟัง พูด อ่าน เขียน การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมเกิดจาก การฟัง คิด สอบถาม และจดบันทึก จึงจะเรียนได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ด้านล่างซ้ายของ หนังสือมีริบบิ้นผูกอยู่ที่ก้านกุหลาบมีข้อความอยู่ที่ริบบิ้น เขียนว่า “โรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ” ด้านบน ปรากฏมีปรัชญาและคติพจน์ “สุวิชาโน ภว โหติ” ด้านล่างมีคำแปลว่า “ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ” ตรานี้จึงประมวลความดีทั้งหลายรวบรวมไว้ในตราโรงเรียน จึงถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวสวนกุหลาบวิทยาลัยควรภาคภูมิใจ[3]
ผู้รู้ดี คือ ผู้รู้และเข้าใจในสิ่งต่างๆได้ดี คือรู้อ่าน รู้คิด รู้เท่าทัน รู้ความและรู้คุณ
ผู้เจริญ คือผู้ที่เจริญด้วย ความประพฤติดี ดีพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม สร้างสรรค์คำนึงถึงผลประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว[3]
  • อักษรย่อ ส.ก.พ. เป็นอักษรย่อของโรงเรียนใช้ปักบนเครื่องแบบนักเรียนทุกชั้นปี โดยจะไม่ปักชื่อ-นามสกุล แต่ปักเพียงอักษรย่อ ส.ก.พ. สีกรมท่าหรือน้ำเงินเข้ม ประดับบริเวณอกข้างขวา
  • สัญลักษณ์เสมาชมพู-ฟ้า เป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนลำดับที่ 3 เดิมเป็นเข็มประดับชุดนักเรียน ต่อมาได้พัฒนาเรื่อยมา และเปลี่ยนมาเป็นการปักด้วยด้ายรูปทรงใบเสมาสีชมพู-ฟ้าอย่างละครึ่ง ประดับเหนืออักษรย่อ ส.ก.พ. บนชุดนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายบริเวณอกข้างขวา
  • สีประจำโรงเรียน ชมพู - ฟ้า
    • ███ สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันอังคาร ความหมายของสีชมพู คือ ความสุภาพอ่อนหวาน อ่อนโยน นอบน้อมเป็นสีแห่งความรัก ความเอื้อเฟื้อที่มีต่อบุลคลทั่วไป เป็นสีแห่งความเมตตา
    • ███ สีฟ้า เป็นสีประจำนพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ ความหมายของสีฟ้า คือ ความเข้มแข็งอดทน ความกล้าหาญ ความเสียสละเป็นสีของท้องฟ้าที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสีแห่งจักรวาล
    • ██████ สีชมพู-ฟ้า จึงมีความหมายถึง องค์ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และพระบรมราชินีนาถ ทั้งยังหมายถึง เป็นแหล่งที่มีความรัก ความสามัคคี ของผู้ที่มีความดีงาม มีความนึกคิดที่สูงส่ง[3]
  • อัตลักษณ์โรงเรียน ลูกชาวสวนเพชร หมายถึง นักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ได้รับการปลูกฝังให้มีคุณลักษณะในด้านการเป็นผู้นำ ดูแลเอาใจใส่บุคคลรอบข้างตามบทบาทหน้าที่ อันควรมีตัวชี้วัดแห่งความสำเร็จ ดังต่อไปนี้
    • เป็นผู้นำ หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงการเป็นผู้กล้าแสดงออกในการพูด การกระทำที่ถูกต้องจนเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น
    • รักเพื่อน หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความมีน้ำใจต่อเพื่อน มีความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่ทอดทิ้งกันในยามยาก รู้จักทะนุถนอมน้ำใจ ให้อภัยซึ่งกันและกัน
    • นับถือพี่ หมายถึง ลักษณะที่แสดงออกถึงการมีสัมมาคารวะรุ่นพี่ผู้อาวุโสกว่า รับฟังคำแนะนำอย่างมีเหตุผล ยึดคุณลักษณะที่ถูกต้องของรุ่นพี่เป็นแบบอย่าง
    • เคารพครู หมายถึง ลักษณะที่แสดงออกถึงการตระหนัก ในคุณค่าของการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้กตัญญูรู้คุณ อ่อนน้อมถ่อมตนต่อครูบาอาจารย์ เชื่อฟังคำสั่งสอนอย่างนอบน้อม
    • กตัญญูพ่อแม่ หมายถึง ลักษณะที่แสดงออกถึง ความสำนึกในพระคุณบุพการี และตอบแทนด้วยความซาบซึ้งใจ ปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดีสม่ำเสมอ
    • ดูแลน้อง หมายถึง ลักษณะที่แสดงออกถึงความโอบอ้อมอารีต่อรุ่นน้อง ให้คำแนะนำในยามที่น้องเกิดปัญหา ดูแลด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน
    • สนองคุณแผ่นดิน หมายถึง การปฏิบัติตน เพื่อเป็นประโยชน์ของส่วนรวม อันได้แก่ ทำงานเพื่อชุมชน เพื่อแผ่นดิน และเพื่อประเทศชาติ

“ลูกชาวสวนเพชร” เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง สนองคุณแผ่นดิน เป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน “ลูกชาวสวนเพชร” หมายถึง นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ได้รับการปลูกฝังให้เป็นเป็นเลิศด้านคุณธรรม เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ มีวินัย ใส่ใจในระบอบประชาธิปไตย ยึดมั่นในสถาบันแห่งชาติ ไม่ละเลยในประโยชน์ส่วนรวม เอื้ออาทรต่อกันด้วยความรักความสามัคคี ประจักษ์ในพระคุณครู ร่วมเชิดชูเกียรติภูมิแห่งสวนกุหลาบ “เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง” เป็นคำโปรย ช่วยให้จดจำได้ง่าย ต้องใส่ความเป็นสวนกุหลาบด้วยความภาคภูมิใจในเรื่องราวต่างๆ ของ “สวนกุหลาบฯ” เมื่อสิ่งต่างๆ สะสมอยู่ในตัวจึงจะเป็น “ลูกชาวสวนเพชร” ที่สมบูรณ์

  • ดอกกุหลาบพันธุ์จุฬาลงกรณ์ เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน กุหลาบจุฬาลงกรณ์ คือ ดอกกุหลาบพันธุ์หนึ่ง ไม่มีหนามที่ลำต้น มีขนาดดอกที่ใหญ่มาก สีชมพู และมีกลิ่นหอมจัด เกิดการการเพาะพันธุ์ของชาวยุโรปผู้หนึ่ง และชาวยุโรปผู้นั้นได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อกุหลาบงามพันธุ์ที่เขาผสมขึ้นใหม่ว่า “King of Siam” ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่โปรดของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และทรงถวายนามกุหลาบนั้นว่า "กุหลาบจุฬาลงกรณ์"[3]
  • เพลงประจำโรงเรียน เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (บรรดาเรา) ประพันธ์ขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำร้องโดย หม่อมราชวงศ์เลื่อน สิงหรา ผู้เรียบเรียงคือ สุวัฒน์ เทียมหงษ์ ทำนองจากเพลงแขกต่อยหม้อ อัตราจังหวะสองชั้น เป็นเพลงไทยเดิมที่ใช้ประกอบการแสดง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีจังหวะการเอื้อนทำนองโดยเฉพาะ โดยจะร้องในโอกาสสำคัญของโรงเรียนเท่านั้นโดยจะมีการการทำความเคราพเพลงประจำโรงเรียนก่อนเริ่มร้องเพลง นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงสวนกุหลาบอื่นๆอีกมากมาย [4][5]

สิ่งเคารพสักการะ

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราช โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์
  • หลวงพ่อสวนกุหลาบ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง พระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระมหากรุณาธิคุณให้ตั้งชื่อเป็นครั้งที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2424 เข้าใจว่าเมื่อโรงเรียนย้ายออกมาตั้งภายนอก พระบรมมหาราชวัง หลวงพ่อสวนกุหลาบคงได้เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนต่อมา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ ในฐานะโรงเรียนน้องได้ถือให้ความเคารพบูชาหลวงพ่อสวนกุหลาบ เช่นเดียวกับโรงเรียนพี่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราช

ดำเนินการจัดสร้าง ตามแบบกรมศิลปากร เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์หล่อด้วยสำริด ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง มีลักษณะพระราชอิริยาบถประทับยืนเต็มพระองค์ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ฉลองพระองค์จอมพลทหารบกภูษาโยง พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระแสงกระบี่และถุงพระหัตถ์ ความสูง 285 เซนติเมตร น้ำหนัก 800 กิโลกรัม โดยถูกจัดสร้างมีรูปแบบเดียวกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

ทรงพระราชสมภพ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 เสด็จสวรรคต วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม กอปรด้วยพระเมตตาธรรม และพระคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ สร้างความเจริญแก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ ทางด้านการปกครอง การเลิกทาส การเศรษฐกิจ การคมนาคม การสาธารณสุข การศาสนา ทรงส่งเสริมการศึกษา และวางรากฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อพสกนิกรได้มีโอกาสศึกษาอย่างเสมอภาค ดังพระราชปณิธาน‘เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้น จึงพอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้ จะเป็นข้อสำคัญข้อที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้’ ข้าราชการ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และนักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อสักการะ เฉลิมพระเกียรติ ประกาศเกียรติคุณ ให้แผ่ไพศาล ตราบกาลนาน

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเซนต์ดอมินิก โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย_เพชรบูรณ์ http://www.thaigoodview.com/node/17197 http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_st... http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_te... http://www.sk.ac.th/ http://www.sk.ac.th/index.php?option=com_content&t... http://www.skpb.ac.th http://www.skpbn.ac.th https://www.facebook.com/fanskpb/ https://www.youtube.com/watch?v=8pcGs1xpJNc https://www.youtube.com/watch?v=Z_XGSGovS5Q&t=16s