ผู้ก่อตั้งโรงเรียน ของ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

ไฟล์:Bro.John.jpgเจษฎาธิการ ภราดายอห์น แมรี่ เยซู ซาลาส เอสควิโรส

เจษฎาธิการ ภราดายอห์น แมรี่ เยซู ซาลาส เอสควิโรส (Reverend Brother John Mary Jesus Salas Esquiroz) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2457[7] ที่เมือง ทาฟารา นาวารา (Tafalla Navarra) ประเทศสเปน สมัครเข้าศึกษาในยุวลัยคณะภราดาเซนต์คาเบรียล และได้ถวายตัวครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2474 จากนั้น ได้อาสามาปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทย ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 และได้ถวายตัวตลอดชีวิต ที่วัดน้อย โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2491 – 2494 เป็นอธิการโรงเรียนเซนต์หลุยส์ พ.ศ. 2496 - 2498 เป็นอธิการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล พ.ศ. 2503 – 2505 เป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญ พ.ศ. 2498 – 2507

เป็นเจ้าคณะแขวงคณะภราดาเซนต์คาเบรียลไทย พ.ศ. 2508 – 2514 [8]เป็นผู้ช่วยอัคราธิการคณะเซนต์คาเบรียลที่กรุงโรม พ.ศ.. 2515 – 2516 เป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา พ.ศ. 2517 – 2540 ประจำอยู่วิริยานุชนสถาน ขอนแก่น พ.ศ..2540 – 2546 เกษียณที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี พ.ศ. 2546 พักเกษียณที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จนถึงวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ท่านได้มรณภาพอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลคามิลเลี่ยน รวมอายุได้ 88 ปี 7 เดือน 28 วัน จากนั้น ได้นำร่างฝังที่สุสานคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ภายในยุวลัย นักบุญหลุยส์ มารี โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานดินฝังศพ เป็นกรณีพิเศษเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ จากราชอาณาจักรสเปน มีดังนี้

  • 1.เครื่องหมายเชิดชูเกียรติที่ได้เป็นมิสชั่นนารีดีเด่น จากกระทรวงการต่างประเทศสเปน เมื่อ พ.ศ. 2505
  • 2.เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Great Cross of Isabel La Catolica ชั้นที่ 2 โดย Mr.Castielle รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2507
  • 3.เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Great Cross of Isabel La Catolica ชั้นที่ 1 จากสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ

ระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งอธิการเจ้าคณะแขวง ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี โรงพยาบาลที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา (ยุวลัยนักบุญหลุยส์มารี ในปัจจุบัน) และก่อสร้างศูนย์กลางแขวงไทยที่ซองทองหล่อ หลังจากเกษียณอายุแล้ว ท่านได้ใช้เวลาในการเขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติของคณะภราดาในประเทศไทย พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย หนังสืออื่นๆ เช่น 30 ปีกับคนโรคเรื้อน, มรดกของเรา (ประวัติภราดา 10 ท่านที่ทำชื่อเสียงในประเทศไทย) บทความเกี่ยวกับโรงเรียนต่างๆ และข่าวในวารสาร NOK ซึ่งเป็นวารสารในคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแขวงประเทศไทย

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนราชินี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี http://www.act23.com/index.php?lay=show&ac=article... http://www.actalumnifc.com/ http://actblogclub.blogspot.com/ http://www.civiltechdesign.com/project_education_h... http://writer.dek-d.com/Writer/story/view.php?id=2... http://maps.google.com/maps?ll=13.732788,100.36969... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7327... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.weekendhobby.com/act50th/webboard/Quest... http://www.actalumni.org/