การจำกัดความ ของ โลกที่หนึ่ง

หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ โลกได้แบ่งออกเป็นสองขั้วทางภูมิรัฐศาสตร์ ได้แก่ โลกคอมมิวนิสต์และทุนนิยม อันนำไปสู่สงครามเย็น ระหว่างสงครามเย็น พบว่ามีการใช้คำ "โลกที่หนึ่ง" เนื่องจากประเด็นของการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าว คำว่า "โลกที่หนึ่ง" ปรากฏใช้ครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 โดยองค์การสหประชาชาติ[1]

ในปัจจุบัน คำว่า "โลกที่หนึ่ง" ค่อนข้างเป็นคำที่ล้าสมัยและไม่มีคำจำกัดความอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่คิดกันว่าหมายถึงประเทศทุนนิยม อุตสาหกรรม หรือประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเข้ากับสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การจำกัดความดังกล่าวรวมไปถึงประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย [2] ในสังคมปัจจุบัน "โลกที่หนึ่ง" ถูกมองว่าเป็นประเทศซึ่งมีเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้ามากที่สุด มีอิทธิพลมากที่สุด มีมาตรฐานความเป็นอยู่สูงที่สุด และมีเทคโนโลยีที่ดีที่สุด[2]

ประเทศสมาชิกนาโต ประเทศซึ่งเข้ากับสหรัฐอเมริกา และประเทศเป็นกลางที่พัฒนาแล้ว

หลังสงครามเย็น ประเทศโลกที่หนึ่งดังกล่าว รวมไปถึงรัฐสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) ประเทศซึ่งเข้ากับสหรัฐอเมริกา ประเทศที่เป็นกลางซึ่งพัฒนาแล้วและเป็นประเทศอุตสาหกรรม และอดีตอาณานิคมอังกฤษ นอกจากนี้ การจัดประเทศเป็น "โลกที่หนึ่ง" ยังขึ้นอยู่กับอารยธรรมของแต่ละประเทศ

ตามข้อมูลของ เนชั่นส์ ออนไลน์ ประเทศสมาชิกของนาโตหลังสงครามเย็น รวมไปถึง:[2]

ประเทศซึ่งเข้ากับสหรัฐอเมริกา (ดู พันธมิตรนอกนาโต) รวมไปถึง:

ประเทศที่เป็นกลาง รวมไปถึง:

และอดีตอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งรวมอยู่ในโลกที่หนึ่ง อันประกอบด้วย:

ดัชนีการพัฒนามนุษย์

ดูบทความหลักที่: ดัชนีการพัฒนามนุษย์
แผนที่โลกแสดงดัชนีการพัฒนามนุษย์ ในปี พ.ศ. 2557
  สูงมาก
  ต่ำ
  สูง
  ไม่มีข้อมูล
  ปานกลาง

ดัชนีการพัฒนามนุษย์เป็นองค์กรทั่วโลกซึ่งใช้ตัวชี้วัดที่แตกต่างกันในการระบุประเทศขั้นอยู่กับสถานภาพการพัฒนาของประเทศนั้น ๆ ข้อมูลสถิติ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) อัตราการรู้หนังสือ และการศึกษา จะถูกใช้ประกอบกันเพื่อร่างรายชื่อประเทศเรียงตั้งแต่ประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมากไปจนถึงประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ต่ำ[3] ประเทศที่มีระดับการพัฒนามนุษย์สูงมากมักเป็นประเทศพัฒนาแล้วและประเทศอุตสาหกรรมของโลกเป็นส่วนใหญ่

หากการจัดประเทศหนึ่งประเทศใดเป็น "โลกที่หนึ่ง" ตามคำจำกัดความด้านบนแล้ว ดัชนีการพัฒนามนุษย์เป็นตัวชี้วัดที่ดีในการระบุประเทศโลกที่หนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ มีการจัดอันดับ 38 ประเทศให้อยู่ในระดับประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ประเทศส่วนใหญ่ในรายชื่อดังกล่าวรวมไปถึงข้อมูลประเทศซึ่งพบใน เนชั่นส์ ออนไลน์ ประเทศที่ปรากฏในดัชนีการพัฒนามนุษย์ แต่ไม่ปรากฏในรายชื่อนาโตด้านบน ประกอบด้วย:[3]

การจำกัดความที่หลากหลาย

นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติ คำจำกัดความดั้งเดิมของโลกที่หนึ่งไม่สามารถปรับใช้อย่างจำเป็นได้อีกต่อไป ส่งผลให้มีการจำกัดความที่หลากหลายของ "โลกที่หนึ่ง" อย่างไรก็ตาม แนวคิดใหม่ในปัจจุบันก็เป็นไปตามแนวคิดในอดีต จอห์น ดี. แดเนียลส์ อดีตประธานสำนักธุรกิจระหว่างประเทศ ให้คำจำกัดความของ "โลกที่หนึ่ง" ว่าประกอบด้วย "ประเทศอุตสาหกรรมซึ่งมีรายได้สูง"[4] นักวิชาการและศาสตราจารย์ จอร์จ เจ. ไบรจัค ให้คำจำกัดความโลกที่หนึ่งว่าเป็น "ประเทศสมัยนิยม อุตสาหกรรม ทุนนิยม ในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป"[5] แอล. โรเบิร์ต โคลห์ส อดีตกรรมการการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานข้อมูลสหรัฐอเมริกาและศูนย์เมอริเดียนระหว่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ใช้ "โลกที่หนึ่ง" และ "ประเทศพัฒนาเต็มที่" เป็นคำที่มีความหมายคล้ายกัน[6]

ตัวชี้วัดอื่น

ความหลากหลายของการจำกัดความ "โลกที่หนึ่ง" และความไม่แน่นอนของคำดังกล่าวในโลกปัจจุบัน นำไปสู่ตัวชี้วัดที่แตกต่างกันของสถานะโลกที่หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2488 สหประชาชาติใช้คำว่า โลกที่หนึ่ง โลกที่สอง โลกที่สาม และโลกที่สี่ เพื่อใช้เทียบเคียงความมั่งคั่งของชาติ (ถึงแม้ว่าการใช้คำว่า "โลกที่สี่" จะยังไม่ใช้เป็นที่นิยมจนกระทั่งในภายหลัง)[7][8] การจำกัดความดังกล่าวรวมไปถึงการเปรีบเทียบผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับตัวแปรด้านสังคมและการเมืองอื่น ๆ[7] โลกที่หนึ่งยังประกอบด้วยชาติประชาธิปไตยและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่[7] โลกที่สองรวมไปถึงชาติสมัยใหม่ ซึ่งมีความมั่งคั่งและเป็นชาติอุตสาหกรรม แต่อยู่ในการควบคุมของคอมมิวนิสต์[7] ส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่นั้นเห็นว่าเป็นส่วนของโลกที่สาม ในขณะที่โลกที่สี่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นประเทศซึ่งประชากรอยู่อาศัยโดยมีรายได้น้อยกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[7]

หากเราให้คำจำกัดความของโลกที่หนึ่ง หมายถึง เศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่มีรายได้สูง ดังนั้น ก็สามารถใช้การจัดอันดับประเทศของธนาคารโลกโดยใช้อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัว (GNI) ธนาคารโลกได้แบ่งประเทศทั่วโลกออกเป็นสี่หมวด: ประเทศที่มีรายได้สูง, รายได้ปานกลางค่อนข้างสูง, รายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ, และรายได้ต่ำ โลกที่หนึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็นประเทศซึ่งมีรายได้สูง เศรษฐกิจรายได้สูงเทียบได้กับประเทศอุตสาหกรรมซึ่งพัฒนาแล้ว ตามข้อมูลของธนาคารโลก ประเทศซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติสูงที่สุด ประกอบด้วย:[9]

ใกล้เคียง

โลกที่หนึ่ง โลกที่สาม โลกที่ไม่มีเธอ โลกที่พูดภาษาอังกฤษ โลกที่ห้า (เทพปกรณัมกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน) โลกที่สอง โลกที่สี่ โลกนี้ โลกหน้า ข้าก็เป็นพระเจ้า โลกทั้งใบให้นายคนเดียว โลกสีรุ้งจอมปีศาจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: โลกที่หนึ่ง http://www.environmentalquestions.com/collaboratio... http://books.google.com/books?id=4P-RPDXaKzMC&pg=R... http://books.google.com/books?id=IG3PcfCGfQsC&pg=P... http://books.google.com/books?id=PCbVkCkmCoIC&prin... http://www.historyplace.com/speeches/ironcurtain.h... http://knowledge.wharton.upenn.edu/article.cfm?art... http://www.uwec.edu/geography/Ivogeler/w111/3world... http://www.cfo.doe.gov/me70/manhattan/cold_war.htm http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs094/en... http://obama.3cdn.net/c66c9bcf20c49ee2ce_h6ynmvjq8...