การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ ของ โอลิมปิกฤดูร้อน_2016

แผนที่ของสนามกีฬาในนครรีโอเดจาเนโร เพื่อจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016

วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 มีรายงานจากเว็บไซต์ AroundTheRings.com ว่านายโรเดร์เลย์ เฌเนราลี ประธานฝ่ายปฏิบัติการของคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก รีโอเดจาเนโร 2016 ได้ลาออกเพียงหนึ่งปีหลังจากเริ่มต้นการทำงาน ต่อจากนั้นได้แต่งตั้งนายฟลาวีอู เปสตานา มาทำหน้าที่แทน แต่อีกห้าเดือนถัดมาเขาก็ได้ลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลส่วนตัว[3]ในระหว่างการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 โดยปัจจุบันนายเรนาตู ซีอูชิง ได้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก รีโอเดจาเนโร 2016[4]

สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน

สนามกีฬามารากานัง สถานที่จัดพิธีเปิด และพิธีปิด รวมถึงการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ

ในนครรีโอเดจาเนโร เขตบาร์ราดาชีฌูกา เป็นเขตที่มีจำนวนสถ​​านที่จัดการแข่งขันของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิเกมส์ในปี 2016 มากที่สุด โดยส่วนที่เหลือของสถานที่จัดการแข่งขันจะตั้งอยู่ในสามเขตหลัก ๆ คือ ชายหาดกอปากาบานา, เขตมารากานัง และเขตเดโอดอรู นอกจากนั้นเขตบาร์ราดาชีฌูกาจะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านนักกีฬาในโอลิมปิกครั้งนี้

ซึ่งในตัวเมืองที่เป็นย่านประวัติศาสตร์ในนครรีโอเดจาเนโรได้มีการฟื้นฟูพื้นที่ริมน้ำ โดยได้ตั้งโครงการฟื้นฟูพื้นที่ริมน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า โปร์ตูมาราวิลยา[5] โดยโครงการนี้ฟื้นฟูได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5 ตารางกิโลเมตร 2 (1.9 ตารางไมล์) โครงก​​ารนี้มีเป้าหมายที่จะพัฒนาบริเวณท่าเรือ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของนครรีโอเดจาเนโรในเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้มีการปรับปรุงฟื้นฟูในบริเวณนครรีโอเดจาเนโรอีกมากมาย อาทิ การปรับปรุงเครือข่ายสาธารณะต่างๆ ทั้งระบบประปา, ระบบสุขาภิบาล, ระบบระบายน้ำ, ระบบไฟฟ้า, ระบบพลังงาน และระบบโทรคมนาคม ในระยะ 700 กิโลเมตร (430 ไมล์) รวมถึงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต่างๆทั้ง การปรับปรุงอุโมงค์, ถนน, ทางเท้า เส้นทางจักรยาน จนกระทั่งการเพาะปลูก ฟื้นฟูต้นไม้ในบริเวณนครรีโอเดจาเนโร ในจำนวนทั้งหมด 4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์), 70 กม. (43 ไมล์), 650 ตารางกิโลเมตร 2 (250 ตารางไมล์) 17 กม. (11 ไมล์) และ 15,000 ต้น ตามลำดับ และการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้ง การสร้างระบบรถรางแห่งใหม่ โดยเส้นทางของรถรางนั้นได้เริ่มจากสนามบินซังตุส ดูมงต์ ไปยังสถานีขนส่งภายในนครรีโอเดจาเนโร ซึ่งกำหนดที่จะเปิดให้ใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559[6] นอกจากนั้นยังมีการสร้างรั้วเหล็ก เพื่อรักษาความปลอดภัย โดยมีระยะทางทั้งหมด 200 กิโลเมตร และได้สร้างคลังสินค้าทั้ง 2 แห่ง ในเขตบาร์รา และเขตดูกีจีกาเชียส เพื่อเก็บอุปกรณ์ในหมู่บ้านนักกีฬา และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการแข่งขันตามลำดับ[7]

ในขณะที่นครรีโอเดจาเนโรอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อจัดการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ แต่ก็ยังมีความกังวลว่าบางส่วนของโครงการจะไม่เป็นรูปธรรม[8]

หมู่บ้านนักกีฬา

หมู่บ้านนักกีฬาในโอลิมปิกครั้งนี้ถือว่าจเป็นหมู่บ้านนักกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โอลิมปิก ซึ่งมีอุปกรณ์ต่างๆมากมาย อาทิ เก้าอี้จำนวน 80,000 ตัว, โต๊ะจำนวน 70,000 ตัว, ที่นอนจำนวน 29,000 ที่, ไม้แขวนเสื้อ 60,000 อัน, โทรทัศน์ 6,000 เครื่อง และสมาร์ทโฟน 10,000 เครื่อง[7]

กีฬาฟุตบอล

นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่จะจัดแข่งขันภายใน 5 สนามจาก 5 เมือง นอกนครรีโอเดจาเนโร คือ นครเซาเปาลู, นครเบโลโอรีซอนชี, นครซัลวาดอร์, กรุงบราซีเลีย และนครมาเนาส์

เทคโนโลยี

สวนสาธารณะในนครรีโอเดจาเนโรสนามกีฬาในร่มมารากานังซิญญู สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลทะเลสาบโรดรีกูจีเฟรย์ตัส สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาเรือพาย และกีฬาเรือแคนู

กีฬาโอลิมปิกครั้งนี้จะมีเทคโนโลยีหุ่นยนต์แบบใหม่ที่สร้างขึ้นโดยมาร์กรอเบิร์ตโมชันคันโทรล ที่จะช่วยช่างภาพให้ได้ภาพที่ทั่วถึงในสถานที่ต่าง ๆ[9]

ความปลอดภัย

นับตั้งแต่ที่นครรีโอเดจาเนโรได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 เทศบาลนครรีโอเดจาเนโรได้เอาใจใส่เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมมากขึ้น ในขณะนั้นนายกเทศมนตรีของนครรีโอเดจาเนโรได้ยอมรับว่า "ปัญหาใหญ่" ของการแข่งขันครั้งนี้คือความปลอดภัยที่ปราศจากความรุนแรง อย่างไรก็ตามเขายังกล่าวเกี่ยวกับความกังวล และปัญหาที่จะเผชิญ ขณะเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกแก่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล[10] ผู้ว่าราชการของนครรีโอเดจาเนโรยังเน้นความจริงที่ว่ากรุงลอนดอนต้องเผชิญกับปัญหาด้านความปลอดภัย เนื่องจากมีการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นหลังจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้เลือกกรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 เพียงไม่กี่ชั่วโมง

คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้แสดงความคิดเห็นในแง่ดีเกี่ยวกับความสามารถของเมืองเจ้าภาพ และประเทศของบราซิลที่มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยบอกว่า เจ็ดปีเป็นเวลามากพอสำหรับนครรีโอเดจาเนโรในการกวาดล้างปัญหาอาชญากรรม[11] นายมาร์ก แอดัมส์ โฆษกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บอกแก่สื่อว่า "เรามีความเชื่อมั่นในความสามารถของพวกเขาที่จะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกที่ปลอดภัยในรอบเจ็ดปี การรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกไม่ว่ามันอยู่ที่ไหนในโลก โดยปัญหานี้เป็นวาระดับชาติ ภูมิภาค รวมถึงเมืองเจ้าภาพ และเจ้าหน้าที่"[12] [13][14] นายลูลา ดา ซิลวา อดีตประธานาธิบดีบราซิลตั้งข้อสังเกตว่าการที่ได้เป็นเมืองเจ้าภาพนั้น เจ้าภาพจะต้องเห็นความสำคัญในรายระเอียดต่าง ๆ เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นอย่างการแข่งขันกีฬาแพนอเมริกันเกมส์ 2007[15]

หน่วยงานในนครรีโอเดจาเนโรกำลังวางแผนที่จะทำให้ นครรีโอเดจาเนโรและละแวกใกล้เคียงหรือชุมชนแออัดให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งมีหน่วยตำรวจชุมชน (UPPs) ที่จะสร้างความไว้วางใจในแต่ละชุมชน โดยการลาดตระเวนตามท้องถนนและการทำงานของเทศบาล[16] นอกจากนี้สถาบันความปลอดภัยภายในท้องถิ่นรายงานว่าอัตราการฆาตกรรมในนครรีโอเดจาเนโรภายใน 5 เดือนแรกของ พ.ศ. 2555 อยู่ในช่วงต่ำที่สุดในรอบ 21 ปี โดยมีคดีฆาตกรรม 10.9 คดีต่อประชากรทั้งหมด 100,000 คน[17][18] อย่างไรก็ตามแม้จะมีการลดลงในคดีฆาตกรรม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่กลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนยังมีการสังเกตการณ์การวิสามัญฆาตกรรมในประเทศบราซิล[19]

ความกังวลหลังการแข่งขัน

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หนังสือพิมพ์ ลอนดอนอีฟนิงสแตนดาร์ด รายงานว่านายจอห์น โคตส์ รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้กล่าวเกี่ยวกับการเตรียมการของบราซิลว่า "เป็นที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่ฉันเคยประสบมา" และได้กล่าวกับการก่อสร้างและโครงการโครงสร้างพื้นฐานของโอลิมปิกครั้งนี้มีความล่าช้ากว่ากำหนดการว่า "คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้จัดตั้งทีมงานพิเศษโดยตั้งเป้าหมายที่จะทำให้การเตรียมการครั้งนี้รวดเร็วกว่าเดิม ในสถานการณ์ที่วิกฤต"[20][21][22]

แม้จะมีความกังวลเหล่านี้ แต่คณะกรรมการโอลิมปิกรีโอได้รายงานเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ว่าสถานที่จัดการแข่งขันส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์ยกเว้นสนามรีโอโอลิมปิกเวโลโดรม (เสร็จเพียงร้อยละ 76) และสนามกีฬาเยาวชนเดโอดอรู (เสร็จเพียงร้อยละ 75)

งบประมาณ

แผนที่ระบบขนส่งสาธารณะในนครรีโอเดจาเนโร ในเขตโอลิมปิกบาร์รารถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ในสนามบินนานาชาติรีโอเดจาเนโร โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังพื้นที่การแข่งขันโอลิมปิกได้รีโอเดจาเนโรเมโทร

ระยะที่ 1 – เมืองผู้สมัครเจ้าภาพโอลิมปิก

แหล่งเงินทุนรัฐบาลกลางรัฐบาลท้องถิ่นรวม
กองทุนภาครัฐ3,022,097.88 เรอัลบราซิล3,279,984.98 เรอัลบราซิล6,302,082.86 เรอัลบราซิล
กองทุนภาคเอกชน2,804,822.16 เรอัลบราซิล
รวมทั้งหมด9,106,905.02 เรอัลบราซิล

ระยะที่ 2 – เมืองคัดเลือกเจ้าภาพสุดท้าย

งบประมาณภาครัฐ

แหล่งเงินทุนกองทุนภาครัฐ
รัฐบาลกลาง47,402,531.75 เรอัลบราซิล
รัฐบาลท้องถิ่น (รัฐ)3,617,556.00 เรอัลบราซิล
รัฐบาลท้องถิ่น (เมือง)4,995,620.93 เรอัลบราซิล
รวมทั้งหมด56,015,708.68 เรอัลบราซิล

งบประมาณภาคเอกชน

แหล่งเงินทุนกองทุนภาคเอกชน
อีบีเอ็กซ์13,000,000.00 เรอัลบราซิล
นายอีเก ปาติสตา10,000,000.00 เรอัลบราซิล
บราเดสโก3,500,000.00 เรอัลบราซิล
โอเดอเบรชท์3,300,000.00 เรอัลบราซิล
เอ็มบราเทล3,000,000.00 เรอัลบราซิล
สายการบินทีเอเอ็ม¹1,233,726.00 เรอัลบราซิล
รวมทั้งหมด34,033,726.00 เรอัลบราซิล

¹ สายการบินทีเอเอ็ม ลงทุนทั้งหมด 1,233,726.00 เรอัลบราซิล ด้วยการลดตั๋วเครื่องบิน

หมายเหตุ: โดยเงินทุนที่เหลือจะนำมาใช้ในคณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิกรีโอ 2016 ในช่วงหนึ่งเดือนแรก[23]

การลงทุน

โอลิมปิก/เมืองการลงทุนภาครัฐภาคเอกชน
โอลิมปิกพาร์ก5.6 แสนล้านเรอัลบราซิล1.46 แสนล้านเรอัลบราซิล4.18 แสนล้านเรอัลบราซิล
ระบบขนส่งสาธารณะ24 แสนล้านเรอัลบราซิล13.7 แสนล้านเรอัลบราซิล10.3 แสนล้านเรอัลบราซิล
รวมทั้งหมด29.6 แสนล้านเรอัลบราซิล15.16 แสนล้านเรอัลบราซิล14.48 แสนล้านเรอัลบราซิล

หมายเหตุ: จำนวนเงินทั้งหมดในการลงทุนโอลิมปิกพาร์กและระบบขนส่งสาธารณะ ในนครรีโอเดจาเนโรในการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 [24]

การวิ่งคบเพลิง

การวิ่งคบเพลิงที่วิหารแห่งบราซิเลีย ในกรุงบราซิเลีย และวังเดร์เลย์ โกร์เดย์รู จี ลีมา นักวิ่งมาราธอน

เพลิงโอลิมปิกได้ถูกจุดที่วิหารฮีรา ในเมืองโอลิมเปีย เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นสถานที่จุดเพลิง ตามประเพณีโอลิมปิก หลังจากนั้นวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 เพลิงโอลิมปิกได้ถูกส่งมอบให้กับประเทศบราซิลที่สนามกีฬาแพแนทิเนอิกในกรุงเอเธนส์ แล้วนำเพลิงโอลิมปิกไปยังสำนักงานใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และพิพิธภัณฑ์โอลิมปิกในเมืองโลซาน และสำนักงานสหประชาชาติที่นครเจนีวา[25]

การวิ่งคบเพลิงในประเทศบราซิลได้เริ่มต้นที่กรุงบราซิเลีย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบราซิลในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 การวิ่งคบเพลิงในครั้งนี้ได้ผ่านเมืองทั้งหมดมากกว่า 300 เมืองในประเทศบราซิล (ประกอบไปด้วย 26 รัฐ และเขตการปกครองพิเศษ)[26] สุดท้ายของการวิ่งคบเพลิงในครั้งนี้จะถูกจุดที่สนามกีฬามารากานัง ขณะพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ในนครรีโอเดจาเนโร

การจองตั๋ว

ใกล้เคียง

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 โอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 โอลิมปิกฤดูหนาว 2010 โอลิมปิกฤดูร้อน 1964 โอลิมปิกฤดูร้อน 1988 โอลิมปิกฤดูร้อน 1996

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอลิมปิกฤดูร้อน_2016 http://www.dm.com.br/cidades/goias/2015/04/goias-s... http://portomaravilha.com.br/ http://www.revistafator.com.br/ver_noticia.php?not... http://www.rio2016.org.br/en/Default.aspx http://www.adweek.com/adfreak/hated-london-2012-lo... http://www.aroundtherings.com/articles/view.aspx?i... http://www.aroundtherings.com/articles/view.aspx?i... http://www.boston.com/sports/other_sports/olympics... http://sportsillustrated.cnn.com/2008/more/06/04/i... http://www.gamesbids.com/eng/past.html