ความกังวลและข้อถกเถียง ของ โอลิมปิกฤดูร้อน_2020

การติดสินบนกับสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 จากรายงานฉบับที่สองของคณะกรรมาธิการองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก หรือ วาด้า ได้กล่าวถึงรายละเอียดการสนทนาระหว่างนายคาลิล ดิแอค บุตรชายนายลามีน ดิแอค อดีตประธานสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ หรือ ไอเอเอเอฟ กับเจ้าหน้าที่ในการเสนอตัวโอลิมปิก 2020 ของกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี[74] หลักฐานของการสนทนานั้นยังได้อ้างถึงในการโอนบัญชีประมาณ 4-5 ล้านดอลลาร์สหรัฐของเจ้าหน้าที่ในการเสนอตัวโอลิมปิก 2020 ของกรุงโตเกียวเพื่อสนับสนุนให้แก่ สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติอีกด้วย[74] ซึ่งทางกรุงอิสตันบูลไม่ได้ทำเช่นนั้น เป็นสาเหตุให้กรุงอิสตันบูลสูญเสียในการสนับสนุนของนายลามีน ดิแอค ในการชิงเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก 2020[74]

ในเดือนกรกฎาคม และตุลาคม พ.ศ. 2556 (ช่วงเวลาก่อน และหลังการประกาศเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก 2020) กรุงโตเกียวได้โอนบัญชีผ่าน 2 ธนาคาร เป็นเงินจำนวน 2.8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์แก่บริษัท "แบล็ค ไทดิงส์" โดยเป็นบริษัทที่ปรึกษาในสิงคโปร์ของนายปาปา มาสซาตา ดิแอค บุตรชายของนายลามีน ดิแอค อดีตประธานสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ หรือ ไอเอเอเอฟ ซึ่งกำลังถูกดำเนินคดีโดยอัยการฝรั่งเศสในข้อหาคอร์รัปชั่นภายในไอเอเอเอฟ ที่ส่งผลให้ดิแอคผู้เป็นพ่อต้องพ้นจากตำแหน่งประธานไอเอเอเอฟเมื่อปีที่แล้ว[75] บริษัทแบล็ค ไทดิงส์นั้น ถูกบริหารโดยนายเอียน ตัน ตง ฮัน ที่ปรึกษาด้านการบริหาร และบริการของไอเอเอเอฟ ซึ่งจัดการสิทธิในเชิงพาณิชย์ และมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทเดนท์สุในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้บริษัทแบล็ค ไทดิงส์ยังเกี่ยวข้องกับการใช้สารกระตุ้นของทีมนักกรีฑารัสเซีย[75][76][77]

นายสึเนะคะสึ ทะเคะดะ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกญี่ปุ่น และผู้บริหารกีฬาโอลิมปิก 2020 ได้แถลงข่าวว่าการโอนบัญชีให้นั้น เป็นการโอนค่าที่ปรึกษา ค่าร่วมปฏิบัติงานในขั้นเตรียมการ และเสนอแผนงาน อันเป็นวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ แต่ปฏิเสธที่จะหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกต่อไป เพราะมันเป็นความลับของหน่วยงาน หลังจากนั้นนายโทะชิอะกิ เอนโดะยังได้เรียกร้องให้นายทะเคะดะเปิดเผยเรื่องนี้ต่อสาธารณชน ส่วนนายมาสซาตาได้ปฏิเสธว่าเขาได้รับเงินจากการคณะกรรมการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2020 ของญี่ปุ่น[75][77] รวมถึงคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้จัดตั้งทีมงานเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดร่วมกับการติดตามการสืบสวนของทางการฝรั่งเศสอีกด้วย[78]

การคัดลอกสัญลักษณ์

การออกแบบสัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ครั้งแรกได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งสัญลักษณ์นั้นมีรูปร่างคล้ายตัว "T" โดยมีวงกลมสีแดงอยู่ที่มุมขวาบน โดยวงกลมสีแดงนี้ แสดงถึง “จิตวิญญาณแห่งชัยชนะ” ซึ่งปรากฏอยู่ในธงชาติของประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการที่คนทั้งโลกทุกคนยอมรับซึ่งกันและกันอีกด้วย และมีแถวสีดำอยู่กึ่งกลางของสัญลักษณ์ แสดงถึงความหลากหลาย[79]

หลังจากที่มีการเปิดตัวสัญลักษณ์ไม่นาน นายโอลิวิเยร์ เดบี นักออกแบบกราฟิกเบลเยียมได้กล่าวหาคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้คัดลอกผลงานของเขา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโรงละคร "เธียเตอร์ เดอ ลีแอจ" ในประเทศเบลเยี่ยม โดยนอกเหนือจากวงกลมนั้น จะมีการประกอบเป็นรูปร่างที่แทบจะเหมือนกัน หลังจากนั้นคณะกรรมการจัดงานของกรุงโตเกียวกล่าวปฏิเสธในการคัดลอกสัญลักษณ์ เนื่องจากทางคณะกรรมการได้ตรวจสอบเครื่องหมายการค้าทั่วโลก ก่อนนำมาใช้งาน[80][81] ส่งผลให้นายเดบีได้ยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี เพื่อที่ไม่ให้สัญลักษณ์ของเขาถูกละเมิด[41]

นายเคนจิโระ ซาโนะ ผู้ออกแบบสัญลักษณ์ได้ปกป้องการออกแบบของเขาที่ระบุว่า เขาไม่เคยเห็นสัญลักษณ์โรงละครชเธียเตอร์ เดอ ลีแอจเลย ขณะคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ให้เกียรติเขาในการออกแบบสัญลักษณ์ โดยเขาได้ออกแบบที่เน้นความเก๋ของตัวที "T" และไม่ได้มีลักษณะคล้ายกับสัญลักษณ์โรงละครชเธียเตอร์ เดอ ลีแอจเลย[41] อย่างไรก็ตามพบว่านายซาโนะมีประวัติของการคัดลอกผลงานของคนอื่น ๆ อาทิเช่น การออกแบบผลงานแรกของเขา ซึ่งได้คัดลอกผลงานของนายฮาน ทิช โฮ รวมถึงผลงานอื่นๆอีกด้วย เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 ได้มีการประชุมฉุกเฉินของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน โดยนายโยอิชิ มาซูโซเอะ ผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวได้ประกาศที่จะปลดสัญลักษณ์นี้ในกีฬาโอลิมปิก 2020 หลากจากนั้นได้มีการประชุมอีกครั้งเพื่อหารือในการออกแบบสัญลักษณ์ใหม่ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558[41]

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 คณะกรรมการการประกวดสัญลักษณ์ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อจัดการประกวด โดยเปิดให้ประชาชนทีมีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถประกวดออกแบบสัญลักษณ์ได้โดยจะต้องส่งภายในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งผู้ชนะจะได้รับ 1 ล้านเยน และตั๋วพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 อีกด้วย[38][82][83] เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการการประกวดสัญลักษณ์ได้ประกาศตัวเลือก 4 สัญลักษณ์สุดท้าย โดยสามารถให้ประชาชนลงความคิดเห็น เพื่อเลือกสัญลักษณ์ได้ โดยจะมีการเปิดตัวสัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 อีกครั้งเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559 [82]


สัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ถูกยกเลิก
สัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ถูกยกเลิก 
สัญลักษณ์ของกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ถูกยกเลิก
สัญลักษณ์ของกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ถูกยกเลิก 
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 
ไฟล์:New 2020 Summer Paralympics Emblem.svgสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 

ใกล้เคียง

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 โอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 โอลิมปิกฤดูหนาว 2010 โอลิมปิกฤดูร้อน 1964 โอลิมปิกฤดูร้อน 1988 โอลิมปิกฤดูร้อน 1996

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอลิมปิกฤดูร้อน_2020 http://www.news.com.au/national/seven-network-recl... http://www.insidethegames.biz/articles/1030762/tok... http://www.insidethegames.biz/articles/1037288/dis... http://www.insidethegames.biz/articles/1041127/dis... http://www.insidethegames.biz/index.php/articles/1... http://www.sportscastermagazine.ca/on-air/cbc-join... http://www.aroundtherings.com/articles/view.aspx?i... http://ajw.asahi.com/article/sports/topics/AJ20121... http://www.bbc.com/news/world-europe-36278252 http://www.bbc.com/sport/athletics/35249955