การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ ของ โอลิมปิกฤดูร้อน_2020

นายโยะชิโร โมะริ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันโตเกียว 2020

มหานครโตเกียวได้ตั้งกองทุนสำรองจำนวน 400 พันล้านเยน (มากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาความจุของท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว และท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ เพื่อที่จะขยายให้รองรับการแข่งขันครั้งนี้ รวมถึงโครการสร้างรางรถไฟสายใหม่ ซึ่งมีการวางแผนที่จะเชื่อมโยงสนามบินทั้งสองจะสิ้นสุดที่สถานีรถไฟโตเกียว เพื่อลดระยะเวลาการเดินทางจากสถานีรถไฟโตเกียวไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวจาก 30 นาที เหลือ 18 นาที และจากสถานีรถไฟโตเกียวไปยังท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะจาก 55 นาที เหลือ 36 นาที โดยโครงการนี้ต้องใช้งบประมาณ 400 พันล้านเยน[3] นอกจากภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนยังสนับสนุนการลงทุนอีกด้วย แต่บริษัทรถไฟอีสต์ เจอาร์ ก็ยังมีการวางแผนเส้นทางรถไฟใหม่จากสถานีรถไฟทามาชิไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวด้วยเช่นกัน กองทุนนี้ยังมีการวางแผนที่จะเร่งโครงการทางพิเศษชุโตะ ทางพิเศษโตเกียวไงคัน ทางพิเศษเคนโอะ และปรับปรุงทางด่วนอื่นๆในพื้นที่[4] นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายระบบคมนาคมไร้คนขับ (สายยุริกะโมะเมะ) จากสถานีที่มีอยู่คือ สถานีโทะโยะซุ ไปยังอาคารใหม่ของสถานีคาจิโดกิ ซึ่งผ่านหมู่บ้านนักกีฬา แม้ว่ายุริกะโมะเมะยังไม่สามารถที่จะให้บริการ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้บริการเป็นจำนวนมากในเขตโอะไดบะ ที่เป็นหนึ่งในพื้นที่บริการของยุริกะโมะเมะ[5]

ซึ่งโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้ดูแลโดย อดีตนายกรัฐมนตรีโยะชิโร โมะริ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันโตเกียว 2020[6] และรัฐมนตรีโทะชิอะกิ เอ็นโด เป็นผู้กำกับดูแลการเตรียมการในนามของรัฐบาลญี่ปุ่น[7]

สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน

ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติโตเกียว (โตเกียวบิกไซท์) เป็นสถานที่ตั้งของศูนย์สื่อมวลชนทัศนียภาพของสะพานสายรุ้ง ซึ่งถ่ายจากบริเวณสวนน้ำโอไดบะวะกะซุโอลิมปิกมารีนา สถานที่จัดกีฬาเรือใบ

จากการที่ได้รับการยืนยันในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ว่า กรีฑาสถานแห่งชาติในกรุงโตเกียว จะได้รับงบประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงเพิ่มเติม และฟื้นฟูบูรณะอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก 2019 รวมถึงกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[8] ซึ่งได้มีการประกวดออกแบบสนามใหม่ โดยสภากีฬาญี่ปุ่นได้ประกาศผู้ชนะเลิศการประกวด เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งสถาปนิกซาฮา ฮาดิด เป็นผู้ชนะการประกวด จากผู้เข้าประกวดทั้งหมด 46 คน รวมถึงการรื้อถอนสนามกีฬาเดิม เพื่อขยายความจุที่นั่งจาก 50,000 ที่นั่ง ไปยัง 80,000 ที่นั่ง[9] ซึ่งเป็นความจุที่นิยมของการจัดโอลิมปิกในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะ ได้ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ว่าแผนที่จะสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติใหม่ได้ถูกยกเลิก แล้วได้มีการจัดการประกวดอีกครั้ง ในท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนในช่วงการก่อสร้างสนามกีฬา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2558 การออกแบบใหม่โดยนายเคนโกะ คุมะ ได้รับการอนุมัติเป็นผู้ชนะในการประกวดออกแบบสนามกีฬาแห่งใหม่ที่ลดลงความจุระหว่าง 60,000-80,000 ที่นั่ง [10]

สถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 28 กีฬาจาก 33 กีฬา จะจัดการแข่งขันในกรุงโตเกียว ซึ่งอยู่ภายใน 8 กิโลเมตร (5 ไมล์) ของหมู่บ้านนักกีฬา โดยมีการสร้างสนามใหม่มากถึง 11 สนาม[11]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 มีรายงานว่าค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก อาจจะมากกว่าการคาดการณ์งบประมาณเดิมถึงสี่เท่า และดังนั้นมีการเสนอให้มีการปรับปรุงแผนงาน เพื่อลดงบประมาณต่างๆ รวมถึงการย้ายสถานที่จัดการแข่งขันออกนอกกรุงโตเกียว[12]

เขตประวัติศาสตร์

เขตประวัติศาสตร์มีสถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 7 สถานที่ โดยเขตประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางของกรุงโตเกียว ซึ่งเขตนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านนักกีฬา สถานที่บางส่วนเคยจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964

สถานที่กีฬาความจุประเภท
กรีฑาสถานแห่งชาติ พิธีการ
กีฬากรีฑา
กีฬาฟุตบอล (รอบชิงชนะเลิศ)
60,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
สนามกีฬาแห่งชาติโยโยงิ กีฬาแฮนด์บอล12,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬานิปปงบุโดกัง กีฬายูโด12,000 ที่นั่งสถานที่ถูกบูรณะ
สนามกีฬาในร่มมหานครโตเกียว กีฬาเทเบิลเทนนิส10,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงะกุ กีฬามวยสากลสมัครเล่น10,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว กีฬายกน้ำหนัก
กีฬาปีนหน้าผา
5,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
นวอุทยานพระราชวังหลวงโตเกียว กีฬาจักรยาน (ถนน)5,000 ที่นั่งสถานที่ชั่วคราว

เขตอ่าวโตเกียว

เขตอ่าวโตเกียวร์มีสถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 20 สถานที่ โดยเขตเขตอ่าวโตเกียวตั้งอยู่ในพื้นที่ของอ่าวโตเกียว ซึ่งเขตนี้อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านนักกีฬา

สถานที่กีฬาความจุประเภท
สวนป่าริมอ่าวโตเกียว กีฬาขี่ม้า (อีเวนติ้ง และครอสคันทรี)20,000 ที่นั่งสถานที่ชั่วคราว
สวนป่าริมอ่าวโตเกียว (บริเวณกำแพงกั้นคลื่น) กีฬาเรือแคนู (สปรินท์)
กีฬาเรือพาย
20,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
ศูนย์กีฬาทางน้ำโอลิมปิก กีฬาว่ายน้ำ
กีฬากระโดดน้ำ
กีฬาระบำใต้น้ำ
18,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
สนามกีฬาอะริอะเกะ กีฬาวอลเลย์บอล12,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
ศูนย์ยิมนาสติกโอลิมปิก กีฬายิมนาสติก12,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
สวนชิโอะกะเซะ กีฬาวอลเลย์บอล (ชายหาด)12,000 ที่นั่งสถานที่ชั่วคราว
สนามกีฬาอะริอะเกะคอลิเซียม กีฬาเทนนิส10,000 ที่นั่งสถานที่ถูกบูรณะ
สนามกีฬาฮอกกี้โอะอิ กีฬาฮอกกี้10,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
อุทยานคะไซริงกะอิ กีฬาเรือแคนู (สลาลม)8,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
สนามกีฬาโอลิมปิกบีเอ็มเอ็กซ์ กีฬาจักรยาน (บีเอ็มเอ็กซ์)6,000 ที่นั่งสถานที่ชั่วคราว
เกาะยุเมะโนะชิมะ กีฬายิงธนู
กีฬาสเกตบอร์ด
6,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
สวนน้ำโอะไดบะ กีฬาไตรกีฬา
กีฬาว่ายน้ำ (มาราธอน)
5,000 ที่นั่งสถานที่ชั่วคราว
ศูนย์กีฬาว่ายน้ำนานาชาติทะสึมิ [13] กีฬาโปโลน้ำ3,500 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว

เขตนอกหมู่บ้านกีฬา (ระยะเกิน 8 กิโลเมตร)

สถานที่กีฬาความจุประเภท
สนามกีฬาโตเกียว[14] กีฬาฟุตบอล
กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ว่ายน้ำ, ขี่ม้า, วิ่ง และยิงปืน)
กีฬารักบี้ 7 คน
60,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาโยะโกะฮะมะ[15] กีฬาซอฟต์บอล
กีฬาเบสบอล
30,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกอล์ฟคะซุมิกะเซะกิ กีฬากอล์ฟ30,000 ที่นั่งสนามที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาไซตะมะซูเปอร์อารีนา[16] กีฬาบาสเกตบอล22,000 ที่นั่งสนามที่มีอยู่แล้ว
เกาะเอะโนะชิมะ[17] กีฬาเรือใบ
กีฬาโต้คลื่น
10,000 ที่นั่งสนามที่มีอยู่แล้ว
มะกุฮะริเม็สเซะ[18] กีฬาฟันดาบ
กีฬาเทควันโด
กีฬามวยปล้ำ
กีฬาคาราเต้
6,000 ที่นั่ง
8,000 ที่นั่ง
สนามที่มีอยู่แล้ว
ศูนย์กีฬามุซะชิโนะ[19] กีฬาแบดมินตัน
กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ฟันดาบ)
6,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
อิซุเวโลโดรม[20] กีฬาจักรยาน (ลู่)5,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
สนามยิงปืนอะซะกะ กีฬายิงปืนสถานที่ชั่วคราว
ศูนย์กีฬาจักรยาน[21] กีฬาจักรยาน (เสือภูเขา)สถานที่แห่งใหม่
บาจิ โคเอ็น[22] กีฬาขี่ม้า
(ศิลปะการบังคับม้า, อีเวนติ้ง
และกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง)
สถานที่ชั่วคราว

สนามแข่งขันกีฬาฟุตบอล

สนามกีฬาซัปโปะโระโดม ในเมืองซัปโปะโระ
สถานที่กีฬาความจุประเภท
สนามกีฬานานาชาติโยะโกะฮะมะ กีฬาฟุตบอล70,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาไซตะมะ 2002 กีฬาฟุตบอล62,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติ พิธีการ
กีฬากรีฑา
กีฬาฟุตบอล (รอบชิงชนะเลิศ)
60,000 ที่นั่งสถานที่แห่งใหม่
สนามกีฬาโตเกียว กีฬาฟุตบอล
กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ว่ายน้ำ, ขี่ม้า, วิ่ง และยิงปืน)
กีฬารักบี้ 7 คน
50,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬามิยะงิ กีฬาฟุตบอล48,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาซัปโปะโระโดม กีฬาฟุตบอล40,000 ที่นั่งสถานที่มีอยู่แล้ว

สถานที่อื่นๆ

สถานที่กิจกรรมประเภท
โรงแรมอิมพีเรียลโตเกียว สถานที่พักของเจ้าหน้าที่
สถานที่จัดการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
สถานที่มีอยู่แล้ว
หมู่บ้านนักกีฬา (ย่านฮะรุมิ ฟุโตะ) สถานที่พักของนักกีฬาสถานที่แห่งใหม่
ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติโตเกียว (โตเกียวบิกไซท์) ศูนย์สื่อมวลชนสถานที่มีอยู่แล้ว

ใกล้เคียง

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 โอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 โอลิมปิกฤดูหนาว 2010 โอลิมปิกฤดูร้อน 1964 โอลิมปิกฤดูร้อน 1988 โอลิมปิกฤดูร้อน 1996

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอลิมปิกฤดูร้อน_2020 http://www.news.com.au/national/seven-network-recl... http://www.insidethegames.biz/articles/1030762/tok... http://www.insidethegames.biz/articles/1037288/dis... http://www.insidethegames.biz/articles/1041127/dis... http://www.insidethegames.biz/index.php/articles/1... http://www.sportscastermagazine.ca/on-air/cbc-join... http://www.aroundtherings.com/articles/view.aspx?i... http://ajw.asahi.com/article/sports/topics/AJ20121... http://www.bbc.com/news/world-europe-36278252 http://www.bbc.com/sport/athletics/35249955