ประสบการณ์ทำงาน ของ ไกรศักดิ์_ชุณหะวัณ

  • พ.ศ. 2520 ถึง 2536 เป็นอาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิชา การเมืองการปกครองของสหภาพโซเวียต, รัฐศาสตร์เบื้องต้น, ประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์การเมืองในประเทศเอเชียอาคเนย์ , การเมืองการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน, การเมืองการปกครองของประเทศเอเชียอาคเนย์ และการเมืองการปกครองของไทย นอกจากนี้ ยังเป็นอาจารย์พิเศษปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2532 ถึง 2534 ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ด้านนโยบายการต่างประเทศ เป็นผู้ผลักดันนโยบายด้านต่างประเทศที่สำคัญ ๆ ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย เช่น การเจรจาสันติภาพในประเทศกัมพูชา , นโยบาย “แปรสนามรบ ให้เป็นสนามการค้า” ,ผลักดันให้มีการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทั้งสองแห่ง เจรจาแก้ไขมาตรการกีดกันทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา (มาตรา301) ร่วมเจรจาและผลักดันให้มีการก่อตั้งเอเปก (APEC)
  • พ.ศ. 2539 ถึง 2542 ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยนายพิจิตต รัตตกุล ด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2543 ถึง 2549 ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครราชสีมา และ ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา
  • พ.ศ. 2547 ถึง 2549 รองประธานกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า Asean Inter-Parliamentary Myanmar Caucus หรือ AIPMC
  • พ.ศ. 2552 ถึง 2553 ประธานกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า Asean Inter-Parliamentary Myanmar Caucus หรือ AIPMC
  • พ.ศ. 2550 กรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) , ที่ปรึกษาคณะกรรมการหอศิลป์ กทม., กรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษาและวิเคราะห์การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียงและทรัพย์สินของประชาชน (คตน.)
  • พ.ศ. 2551 ถึง 2554 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วน และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, ประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร
  • ปัจจุบัน ประธานมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ, ประธานมูลนิธิเพื่อนป่า (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิฟรีแลนด์) , ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ใกล้เคียง