โครงสร้างของระบบรับความรู้สึกของร่างกาย ของ ไขสันหลัง

โครงสร้างของระบบรับความรู้สึกของร่างกายแบ่งออกเป็น

ทั้งสองเส้นทางต้องใช้เซลล์ประสาท 3 ตัวในการรับข้อมูลจากตัวรับความรู้สึก (sensory receptors) และส่งสัญญาณไปสู่สมองในส่วนซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ (cerebral cortex) เซลล์ประสาทเหล่านี้เราให้ชื่อมันตามลำดับการนำกระแสประสาท คือเซลล์ประสาทรับความรู้สึกปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ (primary, secondary and tertiary sensory neurons) ตามลำดับ ตัวเซลล์ประสาทหรือ soma หรือ cell body ของเซลล์ประสาทปฐมภูมินั้น เราจะพบได้ในปมประสาทที่รากด้านหลังของไขสันหลัง (dorsal root ganglia) และส่งแขนงประสาทที่เรียกว่า แอกซอน (axons) เข้าไปสู่ไขสันหลัง

ในลำเส้นใยประสาทดอร์ซัล คอลัมน์-มีเดียล เลมนิสคัสนั้น แอกซอนของเซลล์ประสาทปฐมภูมิจะเข้าไปในไขสันหลังและตรงไปสู่ ดอร์ซัล คอลัมน์ (dorsal column) ถ้าแอกซอนเข้าไปใต้ระดับไขสันหลังที่ T6 แอกซอนจะเข้าไปอยู่ใน ฟาสซิคูลัส กราซิลิส (fasciculus gracilis) ซึ่งเป็นมัดของเนื้อเยื่อประสาทในบริเวณขนาบเส้นผ่าตามแนวยาวกลางด้านท้องของไขสันหลัง แต่ถ้าแอกซอนเข้าไขสันหลังในระดับเหนือ T6 มันจะเข้าไปเดินทางต่อใน ฟาสซิคูลัส คิวนีเอตัส (fasciculus cuneatus) ซึ่งเป็นมัดที่อยู่ขนาบข้างฟาสซิคูลัส กราซิลิสอีกทีหนึ่ง แอกซอนของทั้งสองวิถีประสาทจะเดินทางขึ้นไปสู่เมดัลลาส่วนล่าง ซึ่งแอกซอนจะออกจากมัดฟาสซิคูลัส และไซแนปส์กับเซลล์ประสาททุติยภูมิใน ดอร์ซัล คอลัมน์ นิวเคลียส (dorsal column nuclei) อันได้แก่ นิวเคลียส กราซิลิส (nucleus gracilis) หรือ นิวเคลียส คิวนีเอตัส (nucleus cuneatus) ซึ่งขึ้นกับว่าเป็นแอกซอนของวิถีใด ณ จุดนี้ แอกซอนทุติยภูมิจะออกจากนิวเคลียสที่ไซแนปส์นั้นและเดินทางต่อไปทางด้านหน้าและเข้าสู่แนวกลางของสมอง (anteriorly and medially) กลุ่มของแอกซอนทุติยภูมินี้จะปรากฏในสมองเป็นแนวของเส้นใยประสาท ที่เรียกว่า อินเทอร์นัล อาร์คูเอท ไฟเบอร์ (internal arcuate fibers) เส้นใยเหล่านี้จะไขว้ทแยงกันและเดินทางต่อในมีเดียล เลมนิสคัส (medial lemniscus) ด้านตรงข้าม แอกซอนทุติยภูมิจากมีเดียล เลมนิสคัสจะสิ้นสุดที่ เวนทรัล โพสทีโรแลเทอรัล นิวเคลียส (ventral posterolateral nucleus; VPL) ในสมองส่วนทาลามัสและไซแนปส์กับเซลล์ประสาทตติยภูมิ ซึ่งจะส่งแอกซอนไปทางขาหลัง (posterior limb) ของอินเทอร์นัล แคปซูล (internal capsule) และสิ้นสุดในสมองส่วน ไพรมารี เซนซอรี คอร์เท็กซ์ (primary sensory cortex) ซึ่งอยู่บริเวณซีรีบรัมหลังร่องสมองร่องใหญ่ที่ชื่อ ร่องกลางของโรลันโด (central sulcus of Rolando)

แต่ระบบแอนทีโรแลเทอรัลมีการเดินทางที่ต่างจากลำเส้นใยประสาทดอร์ซัล คอลัมน์-มีเดียล เลมนิสคัส โดยเซลล์ประสาทปฐมภูมิของระบบนี้จะเข้าสู่ไขสันหลังและเดินทางขึ้นไปหนึ่งถึงสองระดับไขสันหลังแล้วค่อยไซแนปส์กับเซลล์ประสาทในไขสันหลังส่วน ซับสแตนเชีย เจลาติโนซา (substantia gelatinosa) ลำเส้นใยประสาทที่เดินทางขึ้นหนึ่งถึงสองระดับแล้วค่อยไซแนปส์นี้ เราเรียกว่า ลำเส้นใยประสาทลิสเซาเออร์ (Lissauer's tract) หลังจากไซแนปส์กับเซลล์ประสาททุติยภูมิแล้ว แอกซอนทุติยภูมิจะไขว้ทแยงและมุ่งขึ้นสู่สมองโดยเดินทางไปตาม ลำเส้นใยประสาทสไปโนทาลามิก (spinothalamic tract) ซึ่งอยู่ส่วนหน้าด้านข้างของไขสันหลัง ลำเส้นใยประสาทสไปโนทาลามิกจะขึ้นไปสู่ VPL และไซแนปส์กับเซลล์ประสาทตติยภูมิและให้ แอกซอนตติยภูมิเดินทางไปสู่ ไพรมารี เซนซอรี คอร์เท็กซ์ผ่านทางขาหลังของอินเทอร์นัล แคปซูล

ควรสังเกตว่า "ใยประสาทรับความเจ็บปวด" ใน ALS ส่วนหนึ่งนั้น จะไม่เดินตามทางปกติไปสู่ VPL แต่จะเดินทางไปสู่ เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชัน (reticular formation) ในสมองส่วนกลาง (midbrain) แล้วส่งเส้นใยไปสู่สมองในหลายๆส่วน เช่น ฮิปโปแคมปัส (เพื่อสร้างความทรงจำเกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บปวด) หรือไปสู่ เซนโทรมีเดียน นิวเคลียส (centromedian nucleus; เพื่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดแบบแผ่ซ่านและรู้สึกเจ็บไม่จำเพาะบริเวณ) แอกซอนของระบบ ALS บางส่วนไปสู่เนื้อสมองส่วน[[เพอริอควีดักทัล เกรย์ (periaqueductal gray) ในก้านสมองส่วนพอนส์และแอกซอนที่เป็นส่วนของเพอริอควีดักทัล เกรย์นั้นจะเดินทางไปสู่ นิวเคลียส ราฟี แมกนัส (nucleus raphe magnus) และเดินทางไปสู่บริเวณที่เป็นต้นตอของความเจ็บปวดเพื่อยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวดนั้น ทำให้รู้สึกเจ็บพอเหมาะอย่างที่ควรจะเป็น

  • ทั้งนี้คำว่านิวเคลียส (อังกฤษ: nucleus; พหูพจน์: nuclei) ในระบบประสาทนี้ หมายถึงกลุ่มของตัวเซลล์ประสาทที่รวมกันอยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง และมักทำหน้าที่เดียวกัน